โคลงสี่สุภาพ ของสุนทรภู่
ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสุนทรภู่สร้างนวัตกรรมในโคลงดังต่อไปนี
1. นวัตกรรมด้านรูปแบบโคลง สุนทรภู่สร้างรูปแบบโคลงสี่สุภาพของตนเองขึ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 รูปแบบโคลงสี่สุภาพทีไม่ใช่โคลงกลบท โคลงสีสุภาพของสุนทรภู่ทีไม่ใช่โคลงกลบทมีคุณลักษณะสําคัญต่อไปนี
1.1.1 โคลงที่มี 32 คําในหนึ่งบท จากการศึกษาจํานวนคําในโคลงสี่สุภาพแต่ละบทของสุนทรภู่ พบว่าสุนทรภู่นิยมใช้โคลงที มีจํานวนคํา 32 คําในหนึ่งบทมากที่สุด คือ เป็นโคลงที่มีคําสร้อยเฉพาะท้ายบาทสาม พบมากถึง 456 บทจาก 462 บท คิดเป็นร้อยละ 98.7 ดังตัวอย่าง
๏เทียวสนุกทุกสนัดแท้ แต่เรา
เร่ร่อนนอนป่าเขา เค่าไม้
หลงเลี้ยวเทียวเดินเดา ดึกดื่น สอื้นเอย
หาพระปรอทได้ เดือดร้อนอ่อนหู
นอกจากนี้มีโคลงสี่สุภาพที่มีจํานวนคํา 30 คําอยู่บ้าง คือ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่มีคําสร้อยเลย มีอยู่ 5 บท ได้แก่ โคลงบทที 22 88 90 142 และ 296 คิดเป็นร้อยละ 1.08
นอกเหนือจากนี้มีโคลงสี่สุภาพที่มีจํานวนคํา 34 คําด้วย คือ เป็นโคลงที่มีคําสร้อยทั้งท้ายบาทหนึ่งและท้ายบาทสาม แต่มีเพียง 1 บทเท่านั้น ได้แก่ บทที่ 73 คิดเป็นร้อยละ 0.22 เท่านั น การจําแนกประเภทโคลงของสุนทรภู่โดยใช้จํานวนคําในบทเป็นเกณฑ์ ทําให้พบว่าสุนทรภู่นิยมใช้โคลงที มีจํานวนคํา 32 คําในบทมากที่สุด โดยใช้คําสร้อยในบาทสาม ทําให้เห็นว่าเป็นโคลงทีแต่งอย่างเป็นระบบระเบียบมาก
1.1.2 โคลงที่เพิ่มข้อบังคับพิเศษให้มีสัมผัสใน 3 แห่งในโคลงบทเดียวกัน แม้ว่าประทีป วาทิกทินกร (เรื่องเดิม: 113)กล่าวว่า โคลงของสุนทรภู่มีสัมผัสสระ 4 แห่ง คือ ระหว่างคำที่2-3ของทุกบาท มีสัมผัสสระระหว่างคําสุดท้ายของบาทกับคําแรกของคําสร้อย มีสัมผัสสระระหว่างคําที 7-8 ในบาทสุดท้าย และมีสัมผัสสระระหว่างวรรคหน้าและวรรคหลังในบาทที 1 แต่ผู้วิจัยพบว่าในโคลงสุนทรภู่มิได้มีสัมผัสระหว่างวรรคในบาทที 1 อย่างสมํ าเสมอในโคลงทุกบท คือ มีในโคลงเพียง 231 บท คิดเป็นร้อยละ 50 เท่านั น จึงไม่สามารถใช้โคลงจํานวนนี้เป็นตัวแทนโคลงของสุนทรภู่ได้
สุภาพร มากแจ้ง (2535: 270) กล่าวว่าโคลงของสุนทรภู่มีสัมผัสใน 3 แห่ง คือ สัมผัสสระระหว่างคําที 2-3 หรือ 3-4 ของทุกบาทเหมือนดังที พบในโคลงของพระศรีมโหสถ รวมทั้งในโคลงพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และระหว่างคําที 7-8 ของบาท
ทั้งยังมีสัมผัสพยัญชนะระหว่างคําที 5-6 ของแต่ละบาทด้วย แต่จากการ ศึกษาของผู้วิจัย พบว่าสัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคไม่ได้มีในทุกบาทของโคลงสุนทรภู่ และที มีก็พบในโคลงเพียง 100 บทเท่านั น คิดเป็นร้อยละเพียง 21.64 จึงไม่สามารถนับเป็นตัวแทนของโคลงสุนทรภู่ได้เช่นเดียวกัน ผู้วิจัย (เรื องเดิม: 196) พบว่าแท้จริงแล้วสัมผัสในที เป็นข้อบังคับเพิ่มเติมในโคลงสี่สุภาพของสุนทรภู่มีเพียง 3 แห่ง เหมือนดังที รัตนา ศาลิกร (2545: 71-76) กล่าวไว้ ได้แก่ สัมผัสระหว่างคําที 2-3 ในวรรคหน้า ระหว่างคําที 7-8 ในวรรคสุดท้าย และระหว่างคําท้ายบาทกับคําสร้อย แต่รัตนา ศาลิกร มิได้แสดงผลการเก็บข้อมูลดังกล่าวที เห็นเป็นระบบอย่างชัดเจน ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดจากโคลงทุกบทของสุนทรภู่และได้ผลสรุป ดังนี .......
(ยังมีต่อ)
ถึงตรงนี ข้อบังคับสัมผัส บางฉันทลักษณ์บอกว่ามี บ้างบอกไม่มี ผมจึงขอสรุปเแบบแผนเพื่อใช้แต่งโคลงสี่สุภาพสำหรับส่วนตัวเองว่า ข้อบังคับที่บอกวา "ไม่มีคือ มีก็ได้ไม่ ก็ไดิ" ที่บอกว่า "มีคือต้องมี"
.....
ลองดู
มะลิซ้อน2ชั้น
เสมอนานาชาติ
เชิญไชโยโห่ก้อง กรองกลอน
สรรพสื่อนำคำสอน แซ่ซ้อง
ถวายร่ายพระพร พึงเพิ่ม เฉลิมรา
สนานร่ำสำนวนร้อง เร่งรู้ชูฉลอง
..........
ผองผินบินฟ่องฟ้า ถลาเเถลิง
แถต่ำทำเชือนเชิง แช่มช้อน
ภมรว่อนกระเจิง กระนจายจู่ สูเอย
โรยกลิ่นรินมะลิซ้อน ซ่านซ้ำรำไร
เทิดไทยชูสู่ฟ้า สากล
ชวนย่องเพลินเชิญยล เยี่ยมเหย้า
ไปมาอย่าหายหน เหินห่าง รางรา
เรือนหมู่เรียงเคียงเค้า คู่คล้ายสหายเสมอ