ทรงพระเจริญ
ถวายพระพรอ่อนน้อม จอมจักรินทร์
จอมแมทัพธรนินทร์ หนึ่งนี้
ฉลองเริ่มเฉลิมศิลป์ เสริมส่ง องค๋เอย
เทพช่วยอวยชัยชี้ ชื่นช้อยพลอยเกษม
เฉลิมพระชนม์ล้นเกล้าเราฉลอง
พระเกียรติก้องสูงส่งดั่งหงส์เหม
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทั่วปริ่มเปรม
ด้วยใจเอมอวยองค์...ทรงพระเจริญ
quote author=@free link=topic=30468.msg224267#msg224267 date=1587856936]
คราวนี้ไม่ใช่กาพย์ห่อโคลง
คือกาพย์ ดอกแคร่วง พ่วงโคลงสี่สุภาพ แห็ม
ยังไม่จบโคลงสี่สุภาพ เพราะยังแต่งได้ไม่ครบถ้วน
ทีนี้งานเยอะ
โคลงสี่สุภาพไม่ใช่แค่แต่งเรียบง่ายตามฉันทลักษณ์เท่านั้น
ขณะแต่งไปเปิดตำราไป ข้าพเจัาก็เพิ่งรู้
โคลงสึ่สุภาพแต่งกันหลายลีลา เยอะเลย
ก็เลยต้องแต่งตามไป ค่อยสอดแทรกแถมไปบ้าง
ด้วยฝีมือระดับข้าพเจ้าใช้เวลาไม่น้าน
แค่หมดเท่าที่มีทั้งชีวิต ไม่เกินนี่
เทพยิ่งสดับรับรู้ ร่วมร้องเริงรำ
.....
เล่นเพลงเคร่งคำ
ครูแจงแบ่งนำ จุนเจือ
สองแขนแน่นเนื้อ
ก้าวตรงลงเรือ พายไป
เห่ฉ่าฮ้าไฮ้
ร่วมลำ นำไทย ช่วยกัน
คละทุกข์สุขสันต์
มีสิบสี่วัน ทุเลา
ใครเขารือเท่าพ้อง สนองนาน
ชนอื่นฝืนพบพาน แพร่เชื้อ
กักสิบสึ่วันวาร วอนอยู่ ดูรา
เราช่วยอวยเองเอื้อ เพื่อฟื้นคืนเมือง
โพสนี้ว่าจะเขียน กาพย์ดอกแคร่วง จึงไปค้นข้อมูลในกูเกิล เจอกระทู้นี้ของตัวเอง หน้าที่1 โพสทึ่8, 9,และ10
อ้าง
ดูก็แต่งไว้ดีแล้ว เพราะแต่งใหม่อีกก็คงไม่ดีกว่า
และได้เห็นว่าติดค้างเรื่องจะฝึกหัดโตลงสึ่สุภาพอันหลากหลายฉ้นทลักษณ์ ลีลา ลึกลับซับซ้อน ถึงขนาดต้องชะงักติดในในค้างอยู่นาน
วันนี้สมควรจะเริ่มเสียที ซึ่งหากจะแต่งแต่โคลงสี่สุภาพอย่างเดียวก็ไม่ีู้จะจลเมื่อไร คนอ่านจะเบื่อ ฉะนั้นจะแต่งสลับกับคำประพันธ์ชนิดอื่น
โคลงสี่สภาพ
บทความ "นวัตกรรมในโคลงของสุนทรภู่" ของ (ศาสตราจารย์ ดร.) ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต เป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง
“นิราศสุพรรณ: ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของสุนทรภู่ในการแต่งโคลงสี่สุภาพ”
ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปลายปี 2554 จนถึงต้นปี 2555
และผู้วิจัยได้ปรับจากการนําเสนอเรื่องนี้ ในที่ประชุมของสํานักศิลปกรรมแห่งราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2555.
สุนทรภู่สร้างนวัตกรรมด้านรูปแบบโคลงสี่สุภาพและนวัตกรรมด้านเนื้อหาของโคลงนิราศในนิราศสุพรรณ ในด้านรูปแบบ สุนทรภู่สร้างโคลงที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้น ได้แก่ เพิ่มข้อบังคับพิเศษซึ่งเป็นสัมผัสใน 3แห่งและสัมผัสเสริมซึ่งเป็นสัมผัสข้ามวรรคในโคลงแต่ละบท ทำให้พบโคลง 30 แบบของสุนทรภู่ และโคลง 2 แบบที่สุนทรภู่ชอบแต่ง คือ โคลง “สพพพ” และ “พพพพ” นอกจากนี้ ยังพบว่าสุนทรภู่ได้แต่งโคลงกลบทเป็นจำนวนมากในนิราศเรื่องนี้ มีทั้งโคลงกลบทเดี่ยวและโคลงกลบทผสม 2 ชนิดในโคลงบทเดียวกัน
เริ่มแรกลองแต่ง 1บท ตามแบบแผน ผสมผสานฉันทลักษณ์เท่าที่เห็น รวมลงใน 1บท
เชิญไชโยโห่ก้อง กรองกลอน
สรรพสื่อนำคำสอน แซ่ซ้อง
ถวายร่ายพระพ่ร พึงเพิ่ม เฉลิมรา
สนานร่ำสำนวนร้อง เร่งรู้ชูฉลอง