มีผู้กล่าวไว้
อนุรักษ์ หมายถึงนำมาใช้ นำมาปฏิบ้ติ
เหมือน ภาษา วัฒนธรรม ย่อมเสื่อมสลาย สูญหาย หากไม่ใช้หรือไม่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ชนชาติมอญพ่ายพม่า อพยพเข้าไทย เฉลิมฉลองวันชาติตน ฟื้นฟูวัฒนธรรม ภาษา แม้อยู่ในแผ่นดินไทย สิ้นแผ่นดินของตนเองยังไม่สิ้นชาติ วันใดสิ้นว้ฒนธรรม ภาษานั่นคือสิ้นชาติ
วรรณศิลป์ไทย ตามหลักการ อนุรักษ์นี้พูดได้ว่าเสื่อมถอยไปมาก ที่ยังแต่งกันอยู่บ้างก็ กาพย์ กลอน นอกนั้นน้อยลงถึงขั้นแทบไม่มี โดยเฉพาะน่าเสียดายคำประพันธ์ที่ไพเราะที่สุดในโลก คือโคลง ฉันท์ไทย
ฉันท์ไทยทุกครั้งที่ค้นคว้าศึกษา ก็มีหรืออ้างแต่ สามัคคีเภทคำฉันท์ของนายชิต บุรทัต
ศิลปินแห่งชาติยังไม่ หรือไม่ค่อยจะแต่ง นอกจากอวดฝีมือในวันสำคัญ ไม่ถึงขั้นงานวรรณกรรม
ภุชงคประยาตฉันท์ 12 ผมว่าเหมาะสำหรับ มือใหม่เริ่มหัดแต่งฉันท์ ฉันทลักษณ์ที่ไพเราะในตัวเองโดยอัตโนมัติ เพียงเพิ่มสัมผัสใน ลงตำแหน่งที่สามกับห้า ตามกฏการวางสัมผัสอย่างกลอนสุภาพเท่านี้ก็หวานสะบัด ไม่ต้องถึงกับเล่นคำจน รกสัมผัสจนสะบัดสะบิ้งเกินงาม อ้นนั้นผมทดลอง เล่น
เห็นบ้านฯชวนแต่งโคลง แต่งฉันท์ ขอร่วมเชิญชวนด้วยคน
แต่งอวดให้ ศปช.รำคาญ
อนุรักษ์คือใช้งาน มิใช่วิจิตรแต่ ในหอ
ศิลป์แห่งตำหนักชั้น เช่นเชื้อองค์อินทร์
.....
ประเพณีวิถีราษฎร์ ประวัติศาตร์วิทัศน์ศิลป์
ประเจิดธรรมประจำถิ่น สถิตย์พาสถาพร
ประชาสรรประชันศิลป์ อุทิศจินตน์อุทาหรณ์
ประพนธ์ฉ้นท์ประพันธ์กลอน ประเดิมบรรพประดับบรรณ
วรรณศิลป์ถิ่นนี้ มีมนต์
กาลเก่ากานท์กลอนกล แก่กล้า
กวีสานสื่อดาลดล ดีเด่น ดูรา
ควรส่อคืบสืบคว้า ไขว่ค้นสนทนา
กลอนกาพย์โคลงโยงกานท์สำราญจิต
ฉันท์ภาษิตแบบบทกฏสิกขา
กลอนกาพย์คล่องต้องลักษณ์อ้กษรา
ฉ้นท์ภาษานาย"ชิต"ศิษย์ยกครู