ปฏิปทา 4 (แนวปฏิบัติ, ทางดำเนิน, การปฏิบัติแบบที่เป็นทางดำเนินให้ถึงจุดหมายคือความหลุดพ้นหรือความสิ้นอาสวะ — Paṭipadā: modes of practice; modes of progress to deliverance)
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า เช่นผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น อีกทั้งอินทรีย์ก็อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า พระจักขุบาลอาจเป็นตัวอย่างในข้อนี้ได้ — Dukkhā paṭipadā dandhābhiññā: painful progress with slow insight)
ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะแรงกล้า ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นอยู่เนืองๆ หรือเจริญกรรมฐานที่มีอารมณ์ไม่น่าชื่นใจ เช่น อสุภะ เป็นต้น แต่มีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระมหาโมคคัลลานะเป็นตัวอย่าง — Dukkhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with slow insight)
สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้า เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต แต่มีอินทรีย์อ่อน จึงบรรลุโลกุตตรมรรคล่าช้า — Sukhā paṭipadā dandhābhiññā: pleasant progress with slow insight)
สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา (ปฏิบัติสบาย ทั้งรู้ได้ไว เช่น ผู้ปฏิบัติที่มีราคะ โทสะ โมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสเนื่องจากราคะ โทสะ โมหะนั้นเนืองนิตย์ หรือเจริญสมาธิได้ฌาน 4 อันเป็นสุขประณีต อีกทั้งมีอินทรีย์แก่กล้า จึงบรรลุโลกุตตรมรรคเร็วไว บาลียกพระสารีบุตรเป็นตัวอย่าง — Sukhā paṭipadā khippābhiññā: pleasant progress with quick insight)
….
ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม — พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
คำทีผสมด้วยสระ ำ บางกรณีอาจเป็นได้ ทั้งคำ ครุ และคำ ลหุ
แต่ผมบังเอิญได้อ่านพบว่าฉันทลักษณ์ คำลหุแบบเคร่งครัดที่ใช้ในการตัดสินประกวดแต่งร้อยกรอง ไม่รับ สระ ำ เป็นคำลหุ
ส่วนคำ"ก็" เป็นคำลหุ ผมก็บังเอิญอ่านพบเช่นกันว่า บางคนเลี่ยงไป ว่า ก็เป็นคำ ครุ ได้ โดยอ้างตามหลักการอ่านออกเสียงเป็นสระเสียงหนัก (ผมนี่ไงก็ด้วยคิดจะอ่านออกเสียง"ก็"เป็นสระเสียงยาวอ่านว่า ก้อ)
ภายหลังผมจำได้ว่าคุณ สุวัฒน์ ไวจรรยา บอกว่า ก็ เป็นสระเสียงสั้น คือ เก้าะ
ฉะนั้นจากนี้ผมจะวาง " ำ" ตรงตำแหน่ง ครุ และวาง "ก็" ตรงตำแหน่ง ลหุ เท่านั้น ในทุกกรณี
ชวนทุกวัยนับญาติชาติเดียวรา
…..
ทุกคำถาม ก็จะนำ ก็จำ ปฏิปทา
ไม่รู้ก็ศึกษา ก็ทำ
นำวิถีท่วงท้าย สายกลาง
เกาะมั่นก็มิหมาง หม่นไหม้
สุขทุกข์ถ่วงทิศทาง ถึงเท่าหลงนา
มีแต่มัชฌิมได้ เด่นด้วยพอพียง
เดินถูกทางห่างราคะละโมหา
ทุกข์สุขพายากง่ายคล้ายไม่เที่ยง
เดินถูกทนพ้นโทสาอย่าลำเอียง
ทุกข์สุขเพียงอคติสี่นี่มายา