Re: คีต_กานท์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 05:11:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: คีต_กานท์  (อ่าน 6304 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2020, 09:47:AM »

 

     
     

ประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว ก่อนที่พวกมอญ จะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เขตลุ่มน้ำปิง บรรพบุรุษของละว้า ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ละว้าหรือที่คนไทยภาคเหนือเรียกว่า “ลัวะ” นั้น เป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียนและเรียกตัวเองว่า “ละเวียะ” ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นที่เชื่อกันว่าอพยพมาจากทางตอนใต้ของไทย มลายา หรือ เขมร เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว บางคนเชื่อว่า พวกลัวะ เป็นเชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของเมียนมาร์และตอนใต้ของมณฑลยูนนานในประเทศจีน เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษา ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย

พวกลัวะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณ 900 ปีมาแล้ว พวกมอญจากลพบุรีซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองลำพูนและลำปาง ได้รุกรานพวกลัวะจนต้องหนีไปอยู่บนภูเขากลายเป็นชาวเขาไป ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18 ชนชาติไทยได้อพยพเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ และตีพวกมอญแตกพ่ายไปและมีสัมพันธไมตรีกับพวกลัวะ

พวกลัวะเองก็เชื่อว่า บรรพบุรุษของเขาเคยอาศัยอยู่ในเชียงใหม่ และเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ดินแดนแถบนี้ ลัวะมีกษัตริย์ของตนเอง และองค์สุดท้ายคือขุนหลวงวิลังก๊ะ ซึ่งถูกพระนางจามเทวี กษัตริย์มอญแห่งนครหริกุญชัย (ลำพูน) ตีแตกพ่ายไปอยู่บนป่าเขา

มีลัวะบางส่วนที่อาศัยอยู่พื้นราบ แต่พวกนี้รับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จากคนไทยจนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเองไปเกือบหมดแล้ว

http://www.hugchiangkham.com/ชนชาติพันธุ์ลั๊วะ/
…..
ละเวือะไม่ใช่ละว้า

คนภายนอกมักเรียก “ชาวเลอเวือะ” ที่บ้านป่าแป๋ว่า “ลัวะ” (เช่น จันทรบูรณ์ สุทธิ และคณะ, 2532) แต่ก็มีนักวิชาการบางคนเรียกเลอเวือะบ้านป่าแป๋ว่า “ละว้า” (Lawa) เช่น ในบทความเรื่อง Living With Thailand’s Gentle Lua ของปีเตอร์ กุนสตัดเตอร์ (Peter Kunstadter) ตีพิมพ์ใน National Geographic เมื่อปี ค.ศ.1966 ซึ่งเข้าใจว่า ปีเตอร์ กุนสตัดเตอร์ จะเรียกคนกลุ่มนี้ตามที่ชาวอังกฤษใช้เรียกละว้าในประเทศพม่า แต่จากบทความนี้เองทำให้เลอเวือะที่บ้านป่าแป๋และที่อื่นๆ ในประเทศไทยถูกเรียกชื่อว่า "ละว้า" ในวงกว้าง
          สำหรับทางการไทยเรียกเลอเวือะบ้านป่าแป๋และหมู่บ้านอื่นๆ ว่า “ลัวะ” คำนี้เริ่มต้นใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.2507 เมื่อมีการตั้งศูนย์วิจัยชาวเขาขึ้น (ซึ่งต่อมาศูนย์นี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันวิจัยชาวเขา) ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ในการจัดกลุ่มชาวเขาให้ถูกต้อง (พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, 2551) ดังนั้น ทำให้ตั้งแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา เลอเวือะบ้านป่าแป๋ และที่อื่นๆ จึงถูกทางการไทยเรียกรวมกันทั้งหมดว่าเป็น “ลัวะ”
          จากการสอบถามเลอเวือะบ้านป่าแป๋หลายคน อธิบายว่า พวกตนเรียกชื่อตนเองว่า "เลอเวือะ" มานานแล้ว ส่วนชื่อเรียกว่า "ลัวะ" เป็นชื่อที่คนเมืองและทางราชการใช้เรียกกัน พวกตนก็ยอมรับคำนี้เพราะเป็นคำที่คนทั่วไปเข้าใจกัน ไม่ได้มีความหมายในเชิงดูถูก ส่วนคำว่า "ละว้า" หรือ "ละวะ" ถือเป็นคำที่นักวิชาการใช้เรียกกัน แต่ก็ไม่ถูกต้อง และมีความหมายคล้ายกับละว้ากินคนในพม่า (สัมภาษณ์ นายคำรอง ผู้อภิบาล, 2555; นายบือ ขจรศักดิ์ศรี, 2556)  เมื่อ 6-7 ปีที่ผ่านมา เลอเวือะบ้านป่าแป๋ได้เริ่มต้นทำงานวิจัยท้องถิ่นของตนเอง จึงเริ่มมีการใช้คำว่า “ละเวือะ”

     


   

     คนที่มาว่ามิอยากจากไปไหน
จะร่วมไม้ร่วมมือยื้อจะอยู่
คนที่มองปองร้ายกลายเอ็นดู
จะร่วมหมู่อภัยโทษไม่โกรธกัน

ยิ่งใหญ่จังยังจมล่มสลาย
หวังที่หมายวัฒนธรรมกรรมแปรผัน
ยิ่งใหญ่เจ้าเผาไล่ไฟลงทัณฑ์
หวังที่มั่นเหลือทีอยู่รู้กันซะ

คิดรุกล้างต่างเจ้าเผากันถ้วน
แพ้ชนวนนักเลงเบ่งเกกะ
คิดรุกรานผลาญพล่าอ้างอารยะ
แพ้ชนะ แค่เจ๊าเราพันธ์ุเดียว


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

โซ...เซอะเซอ, เนิน จำราย, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s