เมื่อวาน แต่ง"จิตรปทา" บอกไม่ได้ว่า ผิดสัมผัสระหว่างบท หรือไม่ เพราะ มีสองฉันทลักษณ์ ต่างกัน ไม่รู้ใครผิดใครถูก
"จิตจปทา"ว่านี่ มีแตกต่าง
สองแหล่งอ้างผิดกันฉันท์แบบแผน
บาทต่อบทกฏสำคัญอันเป็นแกน
ต่างแบบแผนสี่หรือสองต้องงงัน
๑ จิตรปทา” แปลว่า “คาถาที่มีครุต่างจากกุมารลลิตา”เป็นฉันท์ที่มี ๔ บาท รวม ๓๒ คำมีสูตรว่า “จิตฺรปทา ยทิ ภา คา” แปลว่า “คาถาที่มี ภ คณะ ภ คณะ และ ครุลอย ๒ คำ ชื่อว่า “จิตรปทา”
ในการบัญญัติฉันท์ไทยนั้น ท่านนำเอาสูตรดังกล่าวมาเป็นสูตร โดยกำหนดนำมาทั้ง ๔ บาท แล้วปรับปรุงให้บทหนึ่งมี ๔ บาท ๆ ละ ๒ วรรค เพราะบาทหนึ่งมี ๘ คำ จึงเรียกว่า “ฉันท์ ๘”
หรือ
๒ จิตระปทาฉันท์ ๑ บท ประกอบด้วยคณะและพยางค์ ดังนี้
มี ๒ บาท วรรคหน้ามีจำนวน ๔ คำ/พยางค์ และวรรคหลังมีจำนวน ๔ คำ/พยางค์ เช่นเดียวกัน
จิตระปทาฉันท์ ๑ บทมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖ คำ/พยางค์
แต่ง"จิตรปทา" บอกไม่ได้ว่า ผิดสัมผัสระหว่างบท