"ปกติใหม่" ไม่ใช่ แนวคิดใหม่ เพิ่งเกิดหลังวิกฤ(ต)ติการณ์โควิด
ปกติใหม่ถูกแปล-แปร ออกไปเป็น2แนวคิด
1 เมื่อไม่นานมานี้ ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ "New Normal" เพิ่มเข้ามา โดย รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ คณะกรรมการบัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ได้อธิบายคำนี้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Malee Boonsiripunth เอาไว้ว่า New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผนและแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย
รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธีปฏิบัติและการจัดการ การใช้ชีวิตแบบใหม่เกิดขึ้นหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าจะธำรงรักษาวิถีดั้งเดิมหรือหวนหาถึงอดีต
2 New Normal เริ่มมีครั้งแรกเมื่อไร?
มีข้อมูลจากนิตยสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนพฤษภาคม 2015 (โดย เขมรัฐ ทรงอยู่) ระบุว่า "New Normal" หรือ "ความปกติในรูปแบบใหม่" เป็นคำศัพท์ที่ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008 โดย Bill Gross นักลงทุนในตราสารหนี้ชื่อดัง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Pacific Investment Management (PIMCO) โดยให้นิยาม "New Normal" ในบริบทเศรษฐกิจโลกเอาไว้ว่า เป็นสภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากในอดีต และเข้าสู่อัตราการเติบโตเฉลี่ยระดับใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม ควบคู่ไปกับอัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังเกิดวิกฤติทางการเงินในสหรัฐฯ
อีกทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจจะไม่ได้เป็นไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจเดิมแบบที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดการเติบโตทางเศรษฐกิจมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปหรือส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในลักษณะที่แตกต่างจากในอดีต
แนวคิดเรื่อง "New Normal" ของ Bill Gross ในช่วงแรกไม่ได้รับความสนใจ และยังถูกปฏิเสธโดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า การชะลอตัวที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการถดถอย (recession) ตามวัฏจักรเศรษฐกิจเดิมเท่านั้น และในไม่ช้าเศรษฐกิจและการจ้างงานก็จะกลับมาเติบโตได้ที่ค่าเฉลี่ยดังเดิม แต่สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสิ่งที่ Bill Gross ได้พูดไว้ตั้งแต่ปี 2008 นั้นมีส่วนที่ถูกอยู่ไม่น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882508&ved=2ahUKEwi9oZuFofDpAhVW9nMBHcmwCVQQFjAAegQIBhAB&usg=AOvVaw2sVnwpOvyVcp3PKfkWNsmo
นั่นคือ 1 การคิดที่อธิบายถึง "ผล"
และ 2 การคิดที่อธิบายถึง "เหตุ"
…….
ที่ใช้คำว่า New Normal ก็เพราะเดิมวิกฤตเศรษฐกิจจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อเติบโตไปได้ระยะหนึ่งจะมีปัจจัยทำให้เกิดฟองสบู่ จากนั้นวิกฤตเศรษฐกิจจะตามมา
หลังวิกฤตผ่านพ้นไป เศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัวและกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ หรือ Normal
แต่หลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเศรษฐกิจโลกจะไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ดีแบบเดิมอีก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ อาทิ การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไปทั้งที่บางประเทศมีหนี้สาธารณะสูงมาก
จากนั้นมาคำว่า New Normal จึงถูกนำมาใช้เรียกการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ถดถอยลง และอาจไม่มีทางกลับไปเติบโตได้ในระดับเดิมอีกแล้ว
……
"ปกติใหม่" ที่ผมเอ่ยในกลอน หมายถึง แบบที่2
ในความคิดผม กลอนสุภาพ ยากที่สุด กฏเกณฑ์ มากที่สุด จนเมื่อวานนี้ก็ได้เห็นกฏใหม่ที่ผมไม่รู้มาก่อน ซึ่งยากกว่าที่เคยว่ายากแล้วเพิ่มขึันอีก ก็จึงได้รู้ว่า ที่เขียนกลอนมาถึงเมื่อวานนี้ ยังมีผิด ไม่น่าจะถูกฉันทลักษณ์ครบถ้วน หรือ อาจไม่ใช่เคร่งครัดต่อกฏกลอนสุภาพ
เมื่อวานเขียนกลอน เกี่ยวกับ "ปกติใหม่" วันนี้ต้องขออภัย กลอนไม่สุภาพ
อันเนื่องจาก ความอ่อนหัด และด้อยความรู้ความสามารถ เขียนกลอนไม่ได้ดังใจคิด เป็นได้แค่กลอนพาไป
นับจากพรุ่งนี้ นักเรียนน้อย จะพยายามมากชึ้นตามที่ได้
ความรับรู้เพิ่มเติม ครับ
นักเรียนน้อยด้อยความตามจริต
ต่างก็คิดตามครูรู้ผ่าเผย
นักเรีบนน้ันชั้นนี้ชี้เจ้าเอย
ต่างก็เคยรอวันฝันเป็นจริง