Re: ไม่ได้บอกว่าต้องจูงควายไปไถนา
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
25 พฤศจิกายน 2024, 04:08:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม่ได้บอกว่าต้องจูงควายไปไถนา  (อ่าน 27614 ครั้ง)
@free
Special Class LV2
นักกลอนผู้ก้าวสู่โลกอักษร

**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 100
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 581



« เมื่อ: 30 มกราคม 2020, 07:38:PM »

 


   ครูลมุล ยมะคุปต์ ผู้ประดิฐย์ ท่ารำแม่บทใหญ่

 ผลงานครู มากมายจริงๆ แค่อ่านผมยังอ่านไม่จบ!&?***
ผมว่าท่านน่าได้เป็นนายกฯหญิงคนแรก กว่า คุณหญิง คุณยิ่ง ใดๆทั้งนั้นแระ

[youtube=4 emo_8625,350]WGsTu_QS3og[/youtube]

อ.เวนิกา บุนนาคก็ใช่ธรรมดา ซะ ที่ไหน



เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ คุณครูได้เข้าศึกษาวิชาสามัญที่โรงเรียนสตรีวิทยาเป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นบิดาได้พาคุณครูเข้าไปถวายตัวสนองพระเดชพระคุณเป็นละครในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ณ วังสวนกุหลาบ โดยอยู่ในความปกครองของคุณท้าวนารีวรคณารักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์)  การฝึกหัดละครที่วังสวนกุหลาบนั้น มีการฝึกหัดกันอย่างเข้มงวดกวดขัน …...
การเป็นละครในวังสวนกุหลาบนั้น จะต้องมีความอดทนและตั้งใจจริงอย่างยิ่ง จึงจะสามารถปฏิบัติออกมาได้ดี อีกทั้งต้องมีความสามารถพิเศษกอปรเข้าอีกด้วย คุณครูลมุลเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวทุกประการ จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวพระและแสดงในบทบาทตัวเอกแต่แรกเริ่ม  คุณครูผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทยแบบราชสำนักให้คุณครูลมุลมีดังนี้ หม่อมครูแย้ม หม่อมครูอึ่ง หม่อมครูนุ่ม คุณท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ ๔ ) เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ ๔ เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ ๕ เจ้าจอมละม้าย สุวรรณทัต ในรัชกาลที่ ๕ พระยานัฏกานุรักษ์ คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ ท่านครูหงิม นอกจากจะได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากคุณครูที่กล่าวมาแล้ว คุณครูลมุลยังมีท่ารำอีกมากมายที่ได้รับมาจากการจดจำจากสิ่งที่เคยพบเคยเห็น หรือที่เรียกกันว่า “ครูพักลักจำ” เช่นกระบวนท่ารำของพม่า มอญ ฯลฯ เป็นต้น

ชีวิตในวังสวนกุหลาบของคุณครูดำเนินไปได้ด้วยดี โดยคุณครูได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวเอกตลอดมา จากนั้นคุณครูได้กราบบังคมทูลลาจากวังสวนกุหลาบ ไปถวายตัวสนองพระเดชพระคุณเป็นละครในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ณ วังเพชรบูรณ์……….

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ คุณครูกลับลงมาอยู่กรุงเทพตามเดิม  และได้มาช่วยวางหลักสูตรเพื่อเปิดโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ คุณครูลมุลจึงได้บรรจุเป็นข้าราชครู ตำแหน่งครูวิสามัญ ขณะนั้นคุณครูอายุได้ ๒๙ ปี ๘ เดือน ๖ วัน  ขณะที่ดำรงตำแหน่งครูจนกระทั้งดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์นั้น คุณครูได้สร้างผลงานด้านนาฏศิลป์ร่วมกับคุณครูท่านอื่น ๆ ไว้อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวง รำวรเชษฐ์ ระบำเทพบันเทิง ระบำฉิ่ง ระบำพม่า - มอญ ระบำยกยูง ระบำกรับ ระบำสวัสดิรักษา ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนแพน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์  ระบำชุมนุมเผ่าไทย ฯลฯ อีกมากมาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่คุณครูได้รับพระราชทานได้แก่ ตริตราภรณ์มงกุฎไทย โดยได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๐

บั้นปลายชีวิตคุณครูสุขภาพแข็งแรง และทำการสอนและฝึกซ้อมให้กับวิทยาลัยนาฏศิลปอย่างต่อเนื่อง

๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๖ คุณครูได้จากไปด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี ๗ เดือน ๒๘ วัน
…..
ธำมรงค์ บุญราช : #เรียบเรียงเนื่องในวันคล้ายวันเสียชีวิตคุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูผู้มีคุณูปการต่อวงการนาฏศิลป์ไทย  ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓
……

[/size]

 

  "ยมะคุปต์"คือชื่อเชื้อ   สายสกุล
นาม"แม่ครูลมุล"   แห่งหล้า
ศิลปินเด่นเพราะบุญ   คุณแม่
ศิลป์แห่งชาติแถวหน้า   เช่นผู้ครูศิลป์


 

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย, ระนาดเอก, สมนึก นพ

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มกราคม 2020, 11:23:PM โดย @free » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s