-๕-
ปฐมบท
(๑)
เรื่องพระสุธน มโนราห์ เค้าความเดิมเป็นนิทานโบราณของ
อินเดีย แพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกที่เมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อไปถึงเมืองเชียงใหม่มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้แต่ง“ปัญญาสชาดก” ขึ้น
“พระสุธนชาดก” เป็นนิทานชาดกหนึ่งใน ๔๘ เรื่อง ของ
“ปัญญาสชาดก” นั้น ต้นฉบับเดิมขึ้นต้นเป็นภาษาบาลี แล้วขยายความ
ด้วยร้อยแก้วแต่ละบทไป การนำเสนอมีเพียงเนื้อหาหลักเท่านั้น มิได้มี
บทการแสดง การเจรจา อารมณ์และข้อปลีกย่อยในการดำเนินเรื่องของ
ตัวละคร
ทั้งมี “พระสุธนกลอนสวด” หลายฉบับ ซึ่งแต่งเป็นกาพย์ชนิด
ต่างๆ โดยจะมี กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
คละกันไปเป็นส่วนใหญ่ และมี “พระสุธนคำฉันท์” อันเป็นผลงานการ
ประพันธ์ของ พระยาอิสรานุภพ (อ้น) ในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ส่วนที่แพร่หลายที่สุดเป็นนิทานมุขปาฐะ ที่เล่าปากต่อปาก
สืบต่อกันมา แต่มักจะแปลกพิสดารแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องที่
และโวหารของผู้เล่า
นอกจากนี้ยังมีบทละครอีกส่วนหนึ่ง ทว่าเป็นการนำเอามาเพียง
เค้าเรื่อง แต่งบทบาทการแสดงให้มีความสนุกสนานเป็นสำคัญ พบแต่
เพียงบางตอนที่รู้จักกันแพร่หลาย เช่นตอน “พรานบุญจับนางมโนราห์”
อนึ่งพระสุธน มโนราห์ ที่แต่งเป็นคำกลอนมีข้อเขียนว่าเคยมีคน
แต่งไว้ก่อน พ.ศ. ๒๔๕๙ แต่จะสมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่องหรือไม่นั้น ไม่มี
หลักฐานยืนยัน >>>>>>>
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 12:13:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: มหาภรตะนิทาน เรื่องพระนลคำกลอน (อ่าน 85005 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: