๏ เสียงไห้ทุกราษฎร์ไห้ ทุกเรือน
อกแผ่นดินดูเหมือน จักขว้ำ
บเห็นตะวันเดือน ดาวมืด มัวนา
แลแห่งใดเห็นน้ำ ย่อมน้ำตาคน ฯ
เสน่ห์โคลง ๔
การซ้ำคำในบาทที่ ๔
เป็นเสน่ห์แรกที่จะกล่าวถึงในหัวข้อนี้
ดูจากวรรณคดียุคต่าง ๆ มีหลายเรื่องหลายบทที่มีการซ้ำคำ
กวีนิยมให้คำท้ายวรรคหน้าซ้ำกับคำที่ ๒ ของวรรคหลังในบาทที่ ๔
ขอยกตัวอย่างจากวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ
เป็นลิลิตสุภาพเรื่องแรกของไทย และได้รับยกย่องว่า เป็นยอดของลิลิต
นับโคลงที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้ ๑๕ บท
แต่ขอยกมาเพียง ๗ บทนะคะ
๏ ลูกรักแก้วแม่เอ้ย ปรานี แม่รา
พระบาทบงกชศรี ใส่เกล้า
ฤๅบาปิ่นภูมี ทัดแม่ ใยพ่อ
ขอจูบบัวบาทเจ้า สั่งเจ้าจอมใจ ฯ
๏ เล็บมือนางนี้ดั่ง เล็บนาง เรียมนา
ชมม่านนางหวังต่าง ม่านน้อง
ชมพูสไบบาง นุชคลี่ ลางฤๅ
งามป่านี้ไม้ปล้อง แปลกปล้องคอศรี ฯ
๏ แขกเต้าเต้นเต้าแขก ขอรัก
เรียกพระผู้จอมจักร ปิ่นเกล้า
สัตวาส่งเสียงชัก เชิญราช แลพ่อ
คล้าคู่คลึงคล้าเคล้า ค่อยเคล้าคลอสมร ฯ
๏ นายแก้วทูลกล่าวแก้ ความฝัน
ฝันราชชูชมจันทร์ แจ่มฟ้า
แขสองส่องแสงพรรณ ทั้งคู่ งามนา
พระจะสมน้องหน้า หนุ่มหน้าบัวสมร ฯ
๏ สองนาฎพิศราชรื้อ วางตา
จอมราชพิศพักตรา อ่อนไท้
บวางเนตรเลยนา บานร่อ สองรา
สองนาฎไหว้แล้วไหว้ เล่าไหว้บทมาลย์ ฯ
๏ บเริ่มเขาสี่ไส้ ยังตาย
เผือเผ่ากษัตริย์ฤๅผาย จากไท้
รักตัวแต่กลัวอาย หฤโหด พระเอย
รักราชตายด้วยได้ อยู่ได้ฉันใด ฯ
ยังมีต่อค่ะ