คำนำ
พระนลเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในคัมภีร์มหาภารตะ ซึ่งกล่าวกันว่า
พระมุนีผู้หนึ่งได้เล่าประทานแก่กษัตริย์ปาณฑพนาถ ผู้สูญเสียราชสมบัติ
ต้องซัดเซ พเนจร อยู่กลางป่า เพื่อเป็นกำลังใจ ให้มั่นในความดีงาม ต่อสู้ชีวิต
ด้วยความอดทน เช่นพระนลและทมยันตี เดิมเป็นโศลกภาษาในภาษาสันสกฤต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก
โดยใช้ฉันทลักษณ์ไทยหลากหลาย เช่น
ประเภทร่าย ร่ายสุภาพ, ร่ายยาว, ร่ายโบราณ, กลอนร่าย (อย่างเทศน์มหาชาติ),
ประเภทโคลง โคลง ๒, โคลง ๓, โคล ๓ ดั้น, โคลง ๔ สุภาพ, โคลงวิชชุมาลี,
โคลงสินธุมาลี, โคลงจิตรดา, โคลงมหาจิตรลดา, โคลงนันทะทายี,
โคลงมหาทันทะทายี, และโคลงกลบท,
ประเภทฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์, วสัตตติลกฉันท์, ภุชงคประยาตฉันท์
ประเภทกาพย์ กาพย์ยานี, กาพย์สุรางคนางค์, กาพย์ห่อโคลง,
กาพย์ดึกดำบรรพ์ (ฉบงง)
ประเภทกลอน กลอนเพลงยาว, กลอนบทละคร,กลอนเสภา,
การแต่งนิทานพระนลคำกลอนนี้ มิใช่การแปลงฉันทลักษณ์ต่าง ๆ
ในพระนลคำหลวงมาเป็นกลอนสุภาพแต่อย่างใด หากแต่เป็นการศึกษา
เรื่องราวทั้งหลาย แล้วนำมาเล่านิทานเป็นคำกลอน ส่วนคำพรรณนาความซ้ำ ๆ
เพื่อย้ำให้เกิดอารมณ์ลึกซึ้ง อย่างการเทศน์มหาชาตินั้นได้ตัดออกไปบ้าง
มีการเสริมเติมแต่งในทัศนะของผู้เล่านิทานเองบ้าง ทั้งนี้หมายให้เกิดเป็นสิ่งที่ดี
ด้วยความเทิดทูนบูชา “พระนลคำหลวง” และบูรพกวี ซึ่งพระองค์ทรงใช้พระนาม
ตามปกหนังสือว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ
พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้า เจ้ากรุงสยาม ไว้เป็นอย่างสูงยิ่ง
ธนุ เสนสิงห์