(วสันตวงศ์ฉันท์ ๑๕)
แยก, แผลง และกร่อนพจนเรียง "ลหุ" เหวี่ยงเฉวียงวลี
มาเคล้าคละกับ "ครุ" พจี กวิฉันท์ก็ก่อกระบวน
การแยกกถาเสนาะสนอง ฤ จะต้องตริตรองประมวล
อักษร ณ ท้ายพจะมิควร ภวะคล้องกะแม่สะกด
ส่วนแผลงนิยมมละสภาพ "สระ" คราบอดีตกำหนด
ให้ได้สำเนียงวจนะหด "ลหุ" ตามนิยามประสงค์
คำซ้ำและซ้อน ฤ ก็สมรรถ- (ถ)ะจะกัดประภาษ(ะ)ลง
แต่เสียงพยัญชนะเจาะจง เฉพาะหน้าและหลังเสมือน
คำเชื่อม ฤ แก้ "ลหุ" มิพอ ผิว์ระย่อสมองเลอะเลือน
ของดีนะอย่านัยนเบือน พิเคราะห์ใช้ ณ คราจำเป็น (๗๖๓)
ศรีเปรื่อง
๒๘ ก.พ. ๒๕๕๗
ปล.
แยก >> การแยกเสียง ตามหลักคำที่แยกได้ต้องเป็นคำบาลี-สันสกฤต มักจะเป็นคำที่ตัวสะกดไม่ตรงกับชื่อแม่ เช่น เลิศ ภาษ
แผลง >> การแผลงคำ ที่นิยมกันก็มักจะเป็นการแผลงสระ ส่วนใหญ่เป็นไม้ตายในการสร้างคำลหุ เช่น โบราณ เป็น บุราณ, กวี เป็น กวิ
กร่อน >> การกร่อนเสียง โดยลดเสียงคำเดิมให้เหลือแค่ อะ ในฉันท์มักจะเห็นในกรณีที่เป็นคำซ้ำหรือคำซ้อนที่มีเสียงพยัชนะเดียวกัน
เช่น วับวับ เป็น วะวับ, โฮกโฮก เป็น ฮะโฮก
คำเชื่อม >> เอาไว้แก้ปัญหา ลหุ ไม่พอได้ เช่น จะ, สิ, ก็, ณ, และ, เพราะ, ละม้าย, ประหนึ่ง, กวะ (ราวกับว่า) ฯลฯ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 02:46:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: เชิญบ้าง.......เชิญแต่งฉันท์พันบท......โดยใช้เวลาสักสิบปีน่าจะพอ (อ่าน 209220 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: