Re: ขอความกรุณาท่านผู้แตกฉานพุทธศาสน์อักษรศาสตร์และกวีนิพนธ์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 07:36:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความกรุณาท่านผู้แตกฉานพุทธศาสน์อักษรศาสตร์และกวีนิพนธ์  (อ่าน 7765 ครั้ง)
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,388



« เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2014, 12:54:PM »

... ... ... ก่อนอื่นเจ้าของกระทู้ต้องขอสารภาพก่อนว่า ไม่ใช่ผู้แตกฉานในศาสน์และศาสตร์ทั้งสามประการตามที่ร้องขอมาเลย  เป็นแต่เพียงผู้ผ่านเวลาห้าสิบฤดูฝนเข้ามาได้สองขวบปีอย่างกระโหลกกะลาเท่านั้น   ความรู้ต่างๆที่มีก็ฉาบฉวย โน่นนิดนี่หน่อย ในลักษณะรู้อย่างเป็ด แม้แต่ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องที่เป็นต้นตอของโคลงบาทกุญชรในกระทู้ถาม ผู้ตั้งกระทู้ก็ยังไม่เคยรู้จักมาก่อน เพิ่งจะมาสนใจหาอ่านจากกูเกิ้ลในระยะสั้นๆที่ผ่านมานี่เอง  เมื่อทราบที่มาแล้วก็นึกสมน้ำหน้าตัวเองว่า เราทะลึ่งรนหาเรื่องที่มาขบคิดใคร่รู้ในผลงานเพชรน้ำหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อในทำเนียบความยากจะเข้าใจของสุดยอดนักปราชญ์โบราณเอง

 
ที่ผ่านมาเจ้าของกระทู้ก็ได้พยายามแกะความหมายของโคลงบทนี้อย่างงูๆปลาๆแล้วด้วยตนเอง  เมื่อแกะเสร็จก็เกิดปัญหาตามมาว่า ถูกหรือเปล่าหนอ?  การจะแน่ใจในความถูกต้องได้ ก็คงต้องอาศัยปัญญาท่านผู้รู้มาช่วยยืนยันนั่นเอง ครั้นคิดวนไปมากับปัญหาที่ว่า จะไปถามใครได้ ก็เกิดตอบตัวเองขึ้นได้ว่า ต้องอาศัยความรู้และปัญญาจากท่านผู้รู้ที่สัญจรใน Thaipoet.net นี่แหละ เพราะเป็นเวบของสมาคมนักกลอนของประเทศซึ่งรวมสุดยอดนักปราชญ์และผู้สนใจใฝ่รู้ในสรรพศาสตร์แขนงนี้อยู่เป็นปกติแล้ว จึงได้ลองมาตั้งกระทู้ขอความกระจ่างดู
 
คอยอยู่หลายวัน ก็คอยหาย ถึงกระนั้นเจ้าของกระทู้ก็ไม่มีอกุศลจิตที่จะคิดไปในทางที่ว่า ไม่มีใครรู้ แต่กลับมั่นใจในทางว่า ท่านผู้รู้นั่นมี! แต่คงคร้านที่จะพิมพ์ตอบอะไรที่ยืดยาว เพราะต่างก็มีภาระหน้าที่การงานที่จะต้องปฏิบัติด้วยกันทั้งนั้นกระมัง
 
จึงมาใคร่ครวญว่า วิธีไหนหนอ จะไขปัญหาข้องใจได้แบบทุ่นแรงและเวลาของท่าน  ก็ได้คำตอบกับตัวเองว่า  ลองเสนอที่เจ้าของกระทู้ได้ลองแปลอย่างเดาๆมาดู ถ้ามีที่ผิด ท่านผู้รู้ที่แท้ก็คงอดรนทนไม่ได้ที่จะปล่อยให้มีข้อความผิดๆตั้งอยู่ในเวบระดับประเทศนี้ เมื่อนั้นท่านก็คงปรากฏลายสือออกมาไขข้อผิดกันเอง
 
(^_^)
 
... ... ... เจ้าของกระทู้ขอเปลี่ยนและเพิ่มอักขระบางตัวและเครื่องหมายบางอย่างลงในโคลง ให้เป็นในแบบที่คุ้นตากันในปัจจุบัน
 
... ... ..เบญจาวุุทธาษฎร์บั้น... ... ... เบญจางค์
... เบญจมารเบญญา . ... ... ... ... ... ผ่าแผ้ว
... เบญจาภิชานาง- ... ... ... ... ... ... คฌาเณศ
... เบญจนิวรณ์แร้วร้าง... ... ... ... ... ห่างเห็นฯ.
 
 
... บาทที่1 - แยกคำศัพท์ = เบญจ + อาวุทธ + อัษฏ(ร)า + บั้น + เบญจ + องค์
แปลโดยทื่อ เอ้ย! ซื่อ = ห้า + อาวุธ + แปด + ส่วน + ห้า + องค์
แปลลากเข้าความจากหลังมาหน้าแบบภาษามคธปนสยามคือ - ส่วนแห่งองค์ทั้งห้าคือห้าอาวุธแห่งแปด
(เดาว่าคงหมายถึงมรรคห้าข้อแรก? เห็นชอบ คิดชอบ  พูดชอบ กระทำชอบ อาชีพชอบ )

... บาทที่2 - แยกคำศัพท์ = เบญจ + มาร + เบญญา + ผ่า + แผ้ว
แปลโดยซื่อ = ห้า + มาร + ปัญญา + ผ่า + แผ้ว
แปลลากเข้าความจากหลังมาหน้าแบบภาษามคธปนสยามคือ  - เป็นปัญญาใช้ผ่าแผ้วห้ามาร

... บาทที่3 - แยกคำศัพท์ = เบญจ + อภิช(ฌ)า + อน + องค์ + ฌาณ(คงเขียน ณ เณรสะกดแบบสันสกฤต?) + อีศ
แปลโดยซื่อ = ห้า + ความโลภ , ความพอใจ + ไม่ + องค์ + ฌาน + เป็นใหญ่
แปลลากเข้าความจากหลังมาหน้าแบบภาษามคธคือ ความไม่ถึงความเป็นใหญ่ในองค์ฌาน(เอกัคตา - อุเบกขา ?) เพราะ(มารคือ)ห้าความพอใจ(เป็นเครื่องขัด) / หรือความพอใจทั้งห้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันกลายมาเป็นธัมมารมณ์ สุข,ทุกข์เวทนา สัญญา(ความจำ) สังขาร(ความปรุงไป) กั้นขวางอุเบกขาไป
 
สำหรับบาทที่3นี้ มีคำๆหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาคือ อภิชา ตก ฌ เฌอ ไป1ตัว(ไม่ใช่อภิชฌา) ผมจึงยกโคลงทั้งบทนี้ไปวางsearch ใน Google จนพบโคลงนี้ในwebsiteต่างๆ ซึ่งใช้ศัพท์ตรงนี้ว่า อพิชา อันไม่ทราบว่าถูกต้องตามต้นฉบัับท่านผู้แต่งหรือไม่ ถ้าถูก คำๆนี้ก็น่าจะมาจากศัพท์ว่า อวิชา เพราะ ว แผลงเป็น พ ได้
 
ซึ่งจะทำให้  "เบญจาพิชานางคฌาเณศ" แปลใหม่ได้ว่า ไม่ถึงความเป็นใหญ่ในองค์ฌาน เพราะอวิชชาทั้งห้า (ซึ่งเจ้าของกระทู้ขอเดาไปตามศัพท์ว่า เป็นความหลงของสัตว์ต่อวิญญาณที่มีการกระทบใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ  รูป เสียง กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ จนเกิดเป็นอนุสัยความเคยชินในนิวรณ์ทั้ง5คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทัธจกุกกุจจะ  วิจิกิจฉา (เพราะนิวรณ์5 คืออาหารของอวิชชา และความไม่สำรวมอินทรีย์คืออาหารของนิวรณ์5อีกที) ถึงอย่างนี้แล้วก็ยังพอเข้าเค้ากับคำแปลข้างต้น
 
... บาทที่4 - แยกคำศัพท์ = เบญจ + นิวรณ์ + แร้ว + ร้าง + ห่าง + เห็น
แปลโดยซื่อ = ห้า + เครื่องขวางกั้นการถึงธรรม + กับดัก + หาย + ห่าง + เห็น
แปลลากเข้าความจากหลังมาหน้าแบบภาษามคธปนสยาม = กับดักการถึงธรรมคือนิวรณ์ทั้งห้า(ถูกกำจัดให้)ห่างหายไปดังประการที่เห็นแล

... ... ... แปลโดยรวมทั้งชุดโคลงก็คือ "ส่วนแห่งองค์ทั้งห้าคือห้าอาวุธแห่ง(มรรค)แปด เป็นปัญญาใช้ผ่าแผ้วห้ามาร  อันคืออวิชชาห้าซึ่ง(ขวาง)ไม่ให้เข้าถึงความเป็นใหญ่ในองค์ฌาน (นาม)เบญญจนิวรณ์นั้นให้หายไปดังเห็นแล"
 

ฝากท่านพิจารณามาด้วยความเคารพ
 
.
ผู้แสดงความคิดเห็น จขกท วันที่ตอบ 2014-02-11 07:24:53

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รัตนาวดี, ดอกกระเจียว, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s