วิชชุมมาลาฉันท์ 8
จากวิกิพีเดีย
วิชชุมมาลาฉันท์ มีความหมายว่า "ระเบียบแห่งสายฟ้า" ประกอบด้วยครุล้วน จึงใช้บรรยายความอย่างธรรมดา
หนึ่งบทมี 4 บาท บาทละ 8 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคละ 4 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกลอน
ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ ครุ-ครุ-ครุ-ครุ
ตัวอย่างคำประพันธ์
แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้
หนึ่งในนึกดู เห็นใครไป่มี
หลายวันถั่นล่วง เมืองหลวงธานี
นามเวสาลี ดุ่มเดาเข้าไป
ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง
กับหมู่ชาวเมือง ฉันอัชฌาสัย
เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ
จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน
— สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต
====
ขอย้ำครับ
๑ ฉันท์นี้ ๘ วรรค เป็น ๑ บท อาจเขียนเป็น ๔ บาท (๔ บรรทัด)
ดังนั้น ควรเขียน ๘ วรรค หรือ ๔ บรรทัดให้ติดกัน
๒ เป็น ครุ ทุกคำ
ดังนั้น ชบา มะลิ จะใช้ไม่ได้
๓ แม้ "สัมผัสแบบกลอน" แต่ไม่เน้นว่า "เสียงท้ายวรรคสอง นิยมเสียงจัตวา"
กลอน ๔ แบบ ๑
* เหวยเหวยอีจันทรา........ขึ้นหน้าเถียงผัว.........
อุบาทว์ชาติชั่ว...............ไสหัวมรึงไป
* นางจันทาเถียงเล่า........พระองค์เจ้าหลงไหล.......
ไล่ตีเมียไย...................พระไม่ปรานี
บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง
(ใส่ * หรือ ใช้เว้นบรรทัด เพื่อให้ทราบว่า "ขึ้นบทใหม่" ครับ)
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
* แรมทางกลางเถื่อน........ห่างเพื่อนหาผู้........
หนึ่งใดนึกดู....................เห็นใครไป่มี..........
หลายวันถั่นล่วง...............เมืองหลวงธานี........
นามเวสาลี.....................ดุ่มเดาเข้าไป
สามัคคีเภทคำฉันท์, ชิต บุรทัต
สังเกต :- กลอน ๔ ......................................................... ฉันท์วิชชุมฯ
๑ กลอน๔ มี ๒ บท (๑ บท มี ๔ วรรค) ............................. มี ๑ บท (๑ บท มี ๘ วรรค)
๒ มี ลหุ ได้ (คำที่ใช้สระ เสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด : พระ) .......... ต้องไม่มี ลหุ เลย (คือเป็น ครุ ทั้งหมด)
๓ มีส่ง-รับสัมผัส ระหว่างวรรค ....................................... ไม่บังคับ ส่ง-รับสัมผัส วรรค ๓-๔ และ วรรค ๗-๘ (มีก็ได้)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
21 พฤศจิกายน 2024, 11:32:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: พี่ค่ะ ช่วยหนูแต่ง วิชุมมาลา ฉันท์ 8 เรื่องดอกไม้ ให้หน่อยน่ะค่ะ ขอร้อง >< (อ่าน 36902 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: