Re: ชินลง!ยอดทักษะตระก้อพม่าโบราณ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 02:20:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ชินลง!ยอดทักษะตระก้อพม่าโบราณ  (อ่าน 2955 ครั้ง)
อริญชย์
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 1154
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,568


ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นถึงตัว


« เมื่อ: 07 ธันวาคม 2013, 11:14:AM »


ขอขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ชินลง…ศิลปะตะกร้อโบราณเมียนม่าร์

ชินลงคือศิลปะแห่งตะกร้อ
ลีลาล้อลมลิ่วพราวพลิ้วไหว
ลูกศอกส้นเข่าบ่วงทะลวงไป
ฝึกฝนให้คุ้นชินยอดมินดา

สู้กับใจของตนทำจนคล่อง
ความช่ำชองโดดเด่นคนเห็นค่า
ได้ชื่นชมอัศจรรย์เป็นขวัญตา
มองเห็นท่าลูกไม้หลากหลายแนว

พักเรื่องราวโบราณทางการรบ
มาบรรจบกีฬาเกมกล้่าแกล้่ว
สานสัมพันธไมตรีธรรมมีแวว
จบเกมแล้วชินลงยืนยงเอย!ฯ

                     อริญชย์
                 ๗/๑๒/๒๕๕๖


 อายจัง

<a href="http://www.youtube.com/v/jYVJGfqQJnA&amp;rel=0&amp;fs=1" target="_blank">http://www.youtube.com/v/jYVJGfqQJnA&amp;rel=0&amp;fs=1</a>
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.destinythai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539241125&Ntype=19

chinlone ออกเสียงว่า “ชินลง” หรือ “ชินโลน” เป็นศิลปะแบบดั่งเดิมหรือกีฬาโบราณ ที่มีมานานกว่า 1,500 ปี ของประเทศพม่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างกีฬากับการเต้นรำ เล่นกันเป็นทีม ไม่มีคู่ต่อสู้ แต่ละท่าในการเล่นต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักเพราะเป็นลีลาที่ยากมาก แฝงด้วยทักษะ ความสมดุล มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเล่นเป็นทีมจะมีผู้เล่น 6 คน โดยมีหนึ่งคนอยู่ตรง กลางคอยคอลโทรลเกม หากลูกตกพื้นจะเป็นลูกตาย ต้องเริ่มต้นเล่นกันใหม่ นิยมเล่นกันทั้งเพศชาย แหละ หญิง ในปัจจุบันมีการนำออกแสดงโชว์เป็นอาชีพหนึ่งอย่างแพร่หลาย ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย"
               ไปเป็นเจ้าชาย...ในแคว้นศัตรู เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด รางวัลยอดเยี่ยม ประเภท "สารคดี" ประจำปี 2553 เขียนโดยคามิน คมนีย์ ถีอได้ว่าเป็นผู้นำความรู้เรื่องกีฬาประจำชาติพม่ามาเปิดเผยให้แก่สังคมได้อย่างลึกซึ้งที่สุด
                เพียงเพราะอยากพิสูจน์ว่า เกร็ก แฮมิลตัน ยกย่อง "ชินลงหรือตะกร้อพม่า" เหนือ "ตะกร้อไทย" จริง หรือไม่จริง ผู้เขียนถึงกับต้องเดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เพือชมการเล่นตะกร้อพม่า หรือ ชินลง ในเทศกาลวาโซชินลงกันเลยทีเดียว ก็ใครจะยอมให้ชนชาติที่ถือว่าเป็นศัตรูคู่แค้นกันมาหลายยุคหลายสมัย อยู่ "เหนือกว่า" ได้ ไม่ว่าเรื่องเล็กๆ อย่างกีฬาประจำชาติเช่นนี้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนพบเห็น ไม่เพียงแต่วัฒนธรรม วิถีชีวิต และธรรมชาติของบ้านเมือง เขายังได้สัมผัสถึง "น้ำใจ" ของผู้คนชาวพม่า ที่ออกจะภาคภูมิใจในกีฬาประจำชาติของตน
และเต็มอกเต็มใจ สอนและฝึกหัด ให้แก่นักตะกร้อจากเมืองไทยคนนี้ ถึงขนาดพยายามปั้นให้คนไทยคนนึงที่เล่นตะกร้อเป็นกลายเป็น "มินดา" เจ้าชายกลางวงชิงลงให้ได้

ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย" และลีลาลูกศอก ลูกส้น ลูกเข่า บ่วงมือ ของนักตะกร้อไทยก็สร้างความแปลกตาและฮือฮาแก่ชาวพม่าเช่นกัน บรรดาชาวพม่าที่ได้เห็นลีลาของเขาแล้ว ก็ให้กำลังใจกันว่า ฝีมืออย่างนี้เป็นมินดาได้ แต่ว่า ต้องฝึกหัดท่าแม่ไม้ต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และสวยงามด้วย แล้วเขาก็ได้ร่วมแสดงฝีมือในเทศกาลสำคัญครั้งนั้นด้วย หลังจากกลับจากพม่าในปีแรก คามินก็เริ่มฝึกหัดเล่นท่าแบบพม่า ตามภาพหรือวีดีโอที่ได้เห็น
รวมทั้งติดต่อกับเกร็กผู้ทำให้เขาได้รู้จักชินลงผ่านอีเมล์โต้ตอบกันไปมา
เขากลับไปพม่าในปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 เพื่อเรียนรู้ ฝึกหัด และเป็น "มินดา" จนได้ เขาเดินทางไปถึงประเทศเมียร์มาร์ ได้เห็น ได้เรียนรู้ ได้ฝึกหัด และหลงรัก "ชินลง" กระทั่งหมายมั่นปั่นมือว่าจะเป็น "มินดา หรือ เจ้าชาย" เล่นกลางวงชินลงในเทศกาลประจำปีให้ได้ 

และนี่คือที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ "ไปเป็นเจ้าชาย" ก็คือ เป็นผู้เล่นตำแหน่ง "มินดา" ตัวเอกในวงชินลง "ในแค้วนศัตรู" ก็คือ ในประเทศเมียนมาร์ ที่มีประวัติศาสตร์ด้านการรบกับไทยมายาวนานนั่นเอง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

คอนพูธน, รพีกาญจน์, ปู่ริน, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, จารุทัส

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ธันวาคม 2013, 01:15:PM โดย อริญชย์ » บันทึกการเข้า

เกื้อกูลต่อมวลมิตร ลิขิตเพื่อสังคม
เพาะบ่มเพื่อพงไพร ก้าวไปเคียงผองชน

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s