ที่ผมจะวิพากษ์ต่อไปนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว โดยใช้การสังเกต และไม่ได้อ้างอิงตำราเล่มใด
หากผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยนะครับ
เป็นที่ยอมรับกันว่า "คำตาย" สามารถนำมาใช้เป็นคำท้ายของกลอนในวรรค ๓ และ ๔ ได้
แม้ว่า เสียงกลอนที่ได้จะไม่ไพเราะสักเท่าใดก็ตาม
จากการสังเกตของผมพบว่า เครื่องไม้เครื่องมือในภาษาไทย ที่ทำให้เสียงสั้นมีดังนี้
๑. ไม้ไต่คู้
เปน ใส่ไม้ไต่คู้ >> เป็น
๒. วรรณยุกต์เอก
เปิน ใส่วรรณยุกต์เอก >> เปิ่น (ลองอ่านดูนะครับ จะเห็นว่าเสียงสั้นลงอย่างชัดเจน)
๓. คำตาย
คำที่เวลาทำนองเสนาะ เอื้อนได้ลำบาก ซึ่งก็จะเป็นคำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด
และก็พวกสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด
๔. คำลหุ
คำที่มีเสียงสั้น ซึ่งผสมจากสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด ( ดูเหมือนจะเป็นสับเซต ของคำตายนะ)
ทีนี้ ในโคลง มีการยอมรับให้เอาคำตายและคำลหุ มาแทน คำเอก ได้
ซึ่งในทัศนะของผมเห็นว่า น่าจะเป็นเพราะลักษณะเสียงที่สั้น คล้าย ๆ กันนั่นเอง
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะเอาคำที่ให้ "เสียงเอก" มาเป็นคำท้ายของกลอนในวรรค ๓ หรือ ๔ ได้
โดยเฉพาะหากเราเลือกคำที่เป็นพยางค์ปิด (คำที่มีตัวสะกด) และ ใช้สระที่เสียงสั้นซักหน่อย เช่น ส่ง ก่น จุ่ง ข่ม
ซึ่งเวลาเราออกเสียง ลมส่วนใหญ่ ก็จะถูกกักไว้ที่ปาก คล้าย ๆ กับคำตายบางคำ เช่น (กำ)หนด, ลด
ผมเลยลองทดสอบตรรกะนี้ โดยหาคำที่ให้ "เสียงเอก" ที่มีเสียงกระชับซักหน่อยมาวางที่ท้ายวรรค ๓
ลองพิจารณากันดูนะครับ
ผมเจอะสาวไฉไล...ใกล้นางฟ้า
ทรวดสง่า...ทรงสะอาง...เปรียบนางหงส์
รีบกระทำตาขยิบ...วิบวิบส่ง
หมายอนงค์เจ้าเอี้ยว...มาเหลียวแล
(ต้องขออนุญาตนำกลอนของท่านสุนทรภู่ ที่ลงท้ายด้วยคำตายมาใช้เป็นกรณีศึกษานะครับ)
๑. อ่านแบบกลอนธรรมดา
๒. อ่านแบบเสภา
ศรีเปรื่อง
๑๙ พ.ย. ๒๕๕๖
ปล.
อ่านไม่เพราะ ได้แค่ ฟิลลิ่ง ยังไงก็ทนฟังกันสักนิดนะครับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
04 ธันวาคม 2024, 12:02:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด (อ่าน 25773 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: