แฮะ ๆ ไม่อยากแอบอ้างเอาดีชอบครับ
เป็นคำถามที่ผมไปพบที่ web สมาคมนักกลอน แต่ไม่มีผู้ออกความเห็น จึงเห็นควรนำมาเผยแพร่ (แผ่ = ขยาย, แพร่ = กระจาย)
จะได้เกิดการวัฒนายิ่ง ๆ
====
คุณ share มาถามต่อในเรือนไทยหรือคะ?
คนถามคงหงุดหงิดนิดหน่อยว่า ทำไมวรรคที่สองลงท้ายด้วยเสียงสามัญไม่ได้ วรรคที่สามกับสี่ลงด้วยเสียงจัตวาไม่ได้ ฯลฯ
อยากทราบว่าในกลอนแปดท้ายวรรคทุกวรรคจึงห้ามเสียงวรรณยุกต์ นั้นๆ
หรือให้ใช้วรรณยุกต์นั้นๆ
ทั้งสองอย่างค่ะ มันเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน
เมื่อห้ามวรรณยุกต์หนึ่งก็เท่ากับอนุญาตวรรณยุกต์ที่เหลือ เมื่อให้ใช้วรรณยุกต์ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว ก็เท่ากับไม่ให้ใช้ตัวที่เหลือ
ห้ามกันมาแต่เมื่อใด ครับ แล้ว ใครเป็นคนห้าม แล้วเคยมีการแก้ไขกันบ้างไหมครับ
ยังไม่เคยเจอกฎระเบียบที่ตราขึ้นมาเป็นทางการ แต่ถ้าดูวรรณคดีสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เคยอ่านกลอนบทละครที่ไม่ได้ตีพิมพ์ เก็บเป็นตัวเขียนอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ พบว่าเคร่งแต่สัมผัสนอก-ใน และสัมผัสระหว่างบท แต่เสียงวรรณยุกต์ปล่อยมากกว่ากลอนอย่างที่เราใช้กันปัจจุบันนี้ บาทสุดท้ายลงด้วยเสียงจัตวาก็มี แต่ขออภัยยกตัวอย่างไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือในมือ
ดิฉันเข้าใจว่ากลอนที่กำหนดเสียงวรรณยุกต์อย่างปัจจุบันนี้ เริ่มตั้งแต่กลอนเสภามาก่อน เช่นในขุนช้างขุนแผนตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แล้วแพร่หลายในสมัยสุนทรภู่ กลอนที่ท่านเขียนเดิมเรียกว่า"กลอนตลาด" ต่อมาเราเรียกเสียใหม่ว่า "กลอนสุภาพ" แบบฉบับที่สุนทรภู่นิยมใช้ก็คือใช้วรรณยุกต์แบบเดียวกับกลอนเสภา
กลอนในสมัยก่อน ใช้ขับ ใช้ประกอบเพลง ใช้อ่านดังๆ ไม่ได้อ่านในใจอย่างปัจจุบัน ดังนั้นเสียงวรรณยุกต์จึงมีผลในเชิงออกเสียงมาก ผู้ที่รู้การขับเพลงไทยเดิมและเสภาบอกว่า การลงคำท้ายมีผลต่อทำให้เพลงหรือเสภานั้นไพเราะหรือไม่ไพเราะ ออกเสียงง่ายหรือยาก
ดังนั้นก็เป็นได้ว่า การกำหนดวรรณยุกต์ เอื้อต่อการออกเสียงในทำนองต่างๆ จึงกลายเป็น"กรอบ" การเขียนต่อๆมา
ข้อห้ามนี้ แล้วการยอมรับข้อห้าม ทั้งประเทศเป็นแบบแผนเดียวกันมีมาแต่สมัยใด
และเคยมีการคัดค้านข้อห้ามกันบ้างไหม ก่อนที่จะได้เป็นฉันทลักษณ์อย่างนี้
ที่อ่านๆมาก็บอกต่อๆกันมาว่าห้ามนั้่นๆ แต่ยังไม่เคยเห็นการเผยเเพร่ตามที่ถามข้างบนนั้นครับ
ตอบข้างบนแล้วนะคะ
หมายเหตุ..ไม่ขอพาดพิงถึงกลอนเปล่าทุกประการครับ
กลอนเปล่าไม่มีสัมผัส ไม่กำหนดวรรณยุกต์อยู่แล้วค่ะเทาชมพู (ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม)
http://www.reurnthai.com/