คิดอยู่นานว่าจะแจมด้วยหรือเปล่า
ถือว่าแชร์กันนะครับ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะครับ (ไม่รู้ว่าคุณอภัยเขาจะให้รึเปล่า 555)
ในหนังสือ ประชุมลำนำ ของหลวงธรรมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรกถึก) ซึ่งแต่งไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 แต่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่ในทันที
กระทั่งท่านเสียชีวิตไปแล้วหลายปี จึงได้นำมาจัดพิมพ์ในปี 2514
มีการกล่าวถึงเสียงท้ายของกลอนดังนี้ครับ
(หน้าที่ 55)
1. "...คำที่สุดของกลอนสดับ (คือกลอนต้น) จะใ้ช้อักษรใดก็ได้..."
2. "...คำที่สุดของกลอนรับนั้นอย่าให้ใ้ช้อักษรกลางหรืออักษรต่ำที่เปนสุภาพ บังคับให้ใช้แต่อักษรสูง..."
ถ้าตีความตามความเข้าใจผม ก็น่าจะแปลว่า เสียงท้ายวรรค 2 ห้ามเสียงสามัญ เพราะ อักษรสูงไม่มีเสียงสามัญ
3. "...คำที่สุดของกลอนรองนั้นอย่าให้ใช้อักษรสูงที่เปนสุภาพ ให้ใช้แต่อักษรกลางกับต่ำ..."
"...ในที่สุดของกลอนส่งนั้น อย่าให้ใช้อักษรสูงที่เปนสุภาพ ให้ใช้แต่อักษรต่ำกับอักษรกลาง"
ส่วนอันนี้ผมก็งง ๆ อยู่ จะว่าต้องการห้ามจัตวา ก็ดูแย้ง ๆ กัน เพราะ แม้อักษรต่ำจะผันจัตวาไม่ได้ แต่อักษรกลางผันได้
แต่ถ้าเทียบ ๆ เคียง ๆ กับข้อหนึ่ง ผมก็เดาเองว่า น่าจะห้ามจัตวานะ (แหะ ๆ แบบตรงกันข้ามกัน อันหนึ่งห้ามเสียงสูงที่สุด อันหนึ่งห้ามเสียงต่ำที่สุด)
(หน้าที่ 54)
3. "เอกหรือโทอยู่ในที่สุดกลอนส่ง เป็น ละลอกทับ"
"เอกหรือโทอยู่ในที่สุดกลอนรับหรือกลอนรองนั้นเป็น ละลอกฉลอง"
การกล่าวถึง "ละลอกทับ" และ "ละลอกฉลอง" ในหนังสือ ไม่ได้ระบุว่า เป็นข้อต้องห้ามหรือไม่ (พยายามค้นแล้ว แต่ไม่เจอ)
แสดงว่าอาจไม่ได้ห้าม วรรณยุกต์เอกหรือโท ที่วรรค 2, 3 และ 4
แต่ เสียงท้ายของกลอนในยุคปัจจุบัน (ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่าใครกำหนด และกำหนดเมื่อไหร่)
วรรค 1 ได้ทุกเสียง แต่ไม่นิยมสามัญ
วรรค 2 ห้ามเสียงสามัญ และตรี
วรรค 3 และ 4 ให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญ หรือ ตรี
สำหรับการห้ามเสียงตรีในวรรค 2 ผมก็เพิ่งทราบเหตุผลของการห้าม ก็คือ เขากลัวเสียงมันเพี้ยน แล้วทำให้คนฟังสับสนครับ
เช่น "ไว้" หากไปวางเป็นเสียงท้ายวรรค 2 อาจได้ยินเป็น "หวาย"
ดังนั้น ส่วนตัวของผมจึงเห็นว่า ตรี ในวรรค 2 น่าจะใช้ได้ แต่ต้องระมัดระวัง
แล้วทีนี้ ลองฟังการอ่านทำนองเสนาะนี่นะครับ
จะเห็นว่า
วรรค 1 จะอ่านแบบค่อย ๆ ไล่เสียงสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
วรรค 2 ก็จะอ่านแบบเดียวกับวรรค 1 (เสียงท้ายวรรคนี้จึงควรมีระดับเสียงที่สูง และถ้าใช้เสียงสามัญล่ะก็ เอื้อนไม่ได้เลยละครับ)
วรรค 3 จะหลบเสียงลงมา แล้วอ่านในระดับเสียงที่เท่า ๆ กันตลอดวรรค
วรรค 4 ก็จะอ่านในระดับเสียงที่เท่า ๆ กันตลอดวรรค เช่นเดียวกับวรรค 3 (เสียงท้ายวรรค 3 และ 4 จึงไม่ควรมีระดับเสียงที่สูง)
ศรีเปรื่อง
ปล.
แต่ผมก็อยากรู้นะครับว่า ข้อบังคับเสียงท้ายในแบบยุคปัจจุบัน กำหนดขึ้นเมื่อไหร่ และ โดยใครหรือหน่วยงานใด
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
21 พฤศจิกายน 2024, 05:36:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: คำถามในฉันทลักษณ์กลอนแปด (อ่าน 25662 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: