toshare
|
|
« เมื่อ: 25 กันยายน 2013, 09:25:AM » |
|
แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
....ปัญญาธรรมตระหนักไว้.........เที่ยงตรง พุทธะ-"ตื่นรู้"จง.....................ประจักษ์แจ้ง กาลามสูตรพึงคง....................ยึดมั่น ขจัดอวิชชาย้อนแย้ง................สลัดสิ้น"ติดตน"
....คนผิดหลงอ่อนด้อย............แน่นอน ผู้ปราชญ์ย้ำพร่ำสอน...............ตระหนักแล้ ใช่ใครเก่งเปี่ยมพร..................ก็เปล่า "ธรรมปฏิบัติ"! มรรคแท้...........เลิศพ้นคำไข
....ไยพะวงไขว่คว้า...............หาพยาน ธรรมปฏิบัติหลักฐาน..............ประจักษ์แจ้ง เมตตารักแท้ธาร...................ดับเหตุ...ทุกข์นา ชะล้างจิตจืดมืดแล้ง..............กิเลสร้ายตัณหา
....ปรีชาชาญซึ้งซึ่ง...............กฎกรรม ดีชั่วทุกกระทำ......................แน่! ย้อน รักผู้อื่นโน้มนำ......................รักตอบ รักสิ่งสรรพดับร้อน.................เลื่อนหล้าสู่สวรรค์
...."รัก"นั้นธรรม์เที่ยงแท้..........แน่นอน ทุกศาสน์ปราชญ์พร่ำสอน..........ไป่เว้น จวบกาลล่วงลับจร..................หล้าล่ม "รัก"สถิต บ หลบเร้น..............จรัสแจ้งใจไสว
ปัญญา น. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด ตระหนัก [ตฺระหฺนัก] ก. รู้ประจักษ์ชัด, รู้ชัดแจ้ง. พุทธ, พุทธ, พุทธะ [พุด, พุดทะ] น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว อวิชชา [อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.). ย้อน ก. หวนกลับ, ทวนกลับ, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) แย้ง ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน พะวง ก. กังวล, ห่วงใย. ประจักษ-, ประจักษ์ ว. ปรากฏชัด อาจเป็นทางตาหรือใจก็ได้ เช่น ประจักษ์แก่ตา ประจักษ์แก่ใจ. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข). ปรีชา [ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. ชาญ ว. ชํานาญ. ซึ้ง ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึกเอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง สถิต [สะถิด] ก. อยู่, ยืนอยู่, ตั้งอยู่, (ใช้เป็นคํายกย่องแก่สิ่งหรือบุคคลที่อยู่ในฐานะสูง) เช่น พระเจ้าสถิตบนสวรรค์ จรัส [จะหฺรัด] (แบบ) ว. แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง.
|