วันนี้ผมขอถกในเรื่องการใช้คำศัพท์ในกลอนแปดครับ เนื่องจากมีมิตรและอาจารย์หลายท่านแนะนำผมว่า หลายต่อหลายครั้งกลอนของผมมักจะมีคำภาษาบาลีและภาษาโบราณอยู่บ่อยครั้ง แม้ท่านจะว่านี่เป็นสไตล์ของผมและเป็นความถนัดของผม แต่บางครั้งถ้าเราแต่งอะไรที่มันเข้าใจยากและลืมใช้ภาษาง่ายๆมันก็จะขาดอรรถรสในบทกลอนได้ เพราะกลอนแปดหรือกลอนสุภาพนั้นมีชื่อเรียกเล่นๆว่า กลอนตลาด หากเราจะยึดท่านสุนทรภู่เป็นแบบอย่าง ก็น่าจะลองฝึกไว้ด้วย
โดยส่วนตัวผม ผมวิเคราะห์ว่าที่ผมแต่งแบบนี้ก็เนื่องจาก ผมชอบโคลงมาก ผมเริ่มต้นฝึกโคลง และผมคิดโคลง มันง่ายกว่าคิดกลอน จึงมีบ่อยครั้งที่ภาษาโคลงผมมาปะปนอยู่กับบทกลอนจำนวนมาก ยิ่งพอช่วงหนึ่งปีหลังมานี้ ผมเริ่มต้นฝึกฉันท์ บางครั้งนั่งคิดแต่คำบาลี-สันสกฤตอยู่ตลอด จึงมีบ่อยครั้งที่คำเหล่านี้จะมาปรากฎในกลอนแปดของผม
ที่ผมเขียนกระทู้นี้ไม่ได้มาบอกว่าผมผิดนะครับ ผมคิดว่าจริงๆมันก็คือสไตล์ของผม แต่เมื่อเราจะฝึกหัดกลอนทั้งทีก็ควรหัดมันทุกๆรูปแบบ ทุกๆช่องทาง ทุกๆสไตล์ และเมื่อนี่คือข้อด้อยที่ท่านอาจารย์ภาษาไทยหลายๆท่านที่มีประสบการณ์และหลักภาษาไทยแน่นกว่าผมมากแนะนำผมมาผมจึงขอน้อมรับและพยายามจะฝึกตามคำแนะนำครับ เพราะทุกๆคำแนะนำของมิตรและอาจารย์หลายท่านที่commentมามีคุณค่าสำหรับการพัฒนาฝีมือมาก
ผมก็หวังว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์บ้างนะครับกับเพื่อนๆทุกท่าน
งั้นถ้าเพื่อนๆท่านไหนเข้ามาอ่านและอยากมาร่วมวงเสวนาด้วย ก็จงยึดกติกาว่า เราจะแต่งกลอนด้วยคำง่ายๆ ผมจะลองดูครับ
๐กลอนอ่อนด้อยถ้อยความว่างามหลัก (อิอิอิผมเกือบเผลอลงด้วยคำว่า ลักษณ์ตามที่ถนัดแล้ว)
เพราะขลุกขลักคำคมอันสมศรี (อันนี้ขออนุญาตลงคำว่าศรี เพราะคำนี้ชอบเป็นการส่วนตัว)
บางครั้งคิดคลับคล้ายแยบคายมี
บางครั้งที่คำถลอกปอกเปิกเกิน
๐พิเคราะห์ความตามอย่างครูวางไว้
จึงเข้าใจแจ่มชัดพร้อมหัดเหิน
จะค่อยร้อยเรียงเสียงสำเนียงเพลิน
จะดุ่มเดินโดยหลักจากอาจารย์ฯ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 07:35:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ผมเห็นว่าคำแนะนำของอาจารย์มีประโยชน์จึงมาโพสต์ให้ลองพิจารณาดูครับ (อ่าน 18435 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: