ในมุมมองผม ซึ่งไม่ได้เรียนด้าน ภาษา เป็นหลัก แต่ได้มีประสบการณ์ไปทั่วไทย
และว่าตามประวัติศาสตร์ที่ได้อ่านพบมาทั้งภาษาไทย และอังกฤษ
ขอยืนยันว่า ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชน เขายึดเสียงเป็นหลัก ยิ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนขีดเขียนหนังสือ
เสียงเป็นหลักสำคัญที่หล่อหลอมชุมชน
แต่คนเราทุกเผ่าพันธุ์มีดนตรีในหัวใจ จึงมีการเคาะจังหวะ แล้วจึงตามมาด้วยท่วงทำนอง
เกิดเป็นบทเพลง แล้วจึงมีการขีดเขียน มีร้อยกรองคำประพันธ์ที่มีรูปแบบซับซ้อนตามมา
(การจดจารเป็นวัฒนธรรมชนชั้นปกครอง ได้สร้างภาษาให้เข้าถึงยาก เทียบได้ระหว่าง บาลี กับ สันสกฤต
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์
คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตา วากฺ (संस्कृता वाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว"
ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์ จากวิกิพีเดีย)
การใช้เสียงนั้น ผู้ใช้ก็จะเน้นความเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่พวกเขาพบเจอ คุ้นเคย
การออกเสียง สั้นยาว หนักเบา จึงเกิดขึ้นตามอารมณ์ความรู้สึกขณะพูดเป็นสำคัญ
เมื่อผมได้พบครูเพลงตามภาคต่างๆ หรือแวดวงขับร้องในศาสนาคริสต์ พบว่ามีลักษณะเหมือน ๆ กัน คือ
ในคำ คำเดิมนั้น ๆ จะออกเสียง สั้นยาว หนักเบา ให้ไพเราะลื่นไหลเป็นสำคัญ ไม่มีเกณฑ์ตายตัว
เน้นให้ฟังเพราะ เข้าใจกันได้
(เกิดการเอื้อนเสียงขึ้นในการขับร้องเพลง คงไม่มีครูเพลงคนใดให้ศิษย์ร้อง "คนเรารักกันยาก" ตามโน้ต
ซึ่ง "ยาก" จะกลายเป็น "อยาก" 555)
สรุป น้ำ ใช้ได้แน่นอน (จะอ่านแบบใด ก็มุ่งให้สื่อสารเข้าใจกันได้ และฟังไพเราะ) ขอบคุณครับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 10:30:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: รบกวนช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพให้หนูหน่อยน่ะค่ะ (อ่าน 47528 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: