อืมม....
เป็นเรื่องมุมมองของครูท่านนั้นแล้วล่ะครับ
ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเร็วมาก ๆ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา (หลังจากตั้งประเทศตามแนวคิดของชาติตะวันตก)
อย่างคำว่า "ข้าว" ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "เข้า" แล้วก็ออกเสียงเป็น "เข้า" จริง ๆ ด้วย
คำว่า "บรรเทา" เมื่อก่อนก็เขียนเป็น "บันเทา"
คำว่า "เป็น" เมื่อก่อนก็ไม่มีไม้ไต่คู้ "เปน"
คำว่า "อักโข" ที่แปลว่า "มาก" ก็ทอนรูปมาจาก "อักโขภิณี"
คำว่า "พิศดาร" เมื่อก่อนแปลว่า "ละเอียดลออ" เป็นความหมายในทางบวก เดี๋ยวนี้เราก็ใช้กันเกร่อในความหมายทางลบ คือ "แปลก,พิลึก"
(จำได้ว่าผมเคยอ่านหนังสือเก่าเล่มหนึ่งมีส่วนของเนื้อความว่า "ตำรานี้ได้อรรถาธิบายความโดยพิศดาร")
ฯลฯ
ส่วนคำว่า "น้ำ" จริง ๆ เราต้องอ่าน "น้ำ" ตามสระของมัน แต่ผมว่าคนส่วนใหญ่ก็อ่านเป็นเสียงที่ก้ำกึ่งกันระหว่าง "น้ำ" กับ "น้าม" จริง ๆ นั่นแหละ
ครูท่านนั้นคงกลัวว่าเวลาน้องเขาเอาไปขับทำนองเสนาะมันจะหย่อนไพเราะ เพราะมันเสียงสระมันไม่ตรงกันจริง ๆ (มั้ง)
(แฮ่ ๆ พยายามมองแง่บวก)