Re: ...มาสนุกกับการแต่งกาพย์ฉบัง ๑๖ กันไหม...
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 09:13:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ...มาสนุกกับการแต่งกาพย์ฉบัง ๑๖ กันไหม...  (อ่าน 7587 ครั้ง)
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2013, 07:19:PM »


วงสุราแคร่ไผ่

ชาวดอกชาวดินหมู่เฮา
เหล้าขอกเหล้าขาว
ล้อมวงแคร่ไผ่สุขี

บ่ฝันบรั่นดอกบรั่นดี
บ่หวังวิสกี้
บ่เปลืองกับแกล้มโซดา

แดดร่มลมตกเลิกนา
สรวลเสเฮฮา
ประสาชาวดอกชาวดิน

หน้าแล้งร้างถอกร้างถิ่น
ขายแรงแลกสิน
หนี้ศอกหนี้สินรุงรัง

สิ้นหอกสิ้นหนสิ้นหวัง
ทุกข์ล้นประดัง
จ่อมนั่งล้อมวงแคร่ไผ่

เหล้าขอกเหล้าขาวรินหาย
ในจอกเป๊กใบ
หัวใจโลดลิ่วลำพอง

โก่งคอประสานเสียงพร้อง
ม่วนปากแถกฮ้อง
โฮแซวหมอหลอกหมอลำ

ทำนอกทำนาหน้าดำ
ทุกซอกทุกข์ซ้ำ
โดนหลอกชั่วนาตาปี

ผักกาดถั่วกะหล่ำปลี
ก่อนนั้นมากมี
เดี๋ยวนี้เขาสั่งจีนแดง

หอมเห็ดกระเทียมพริกแกง
ฟักทองแฟงแตง
นำเข้าเสรีอาเซียน

แรงงานแรงงอกแรงเบียน
พม่าลาวเขมรเวียน
แย่งงานคนถอกคนไทย

ชาวนาชาวหนี้มากมาย
ใกล้ตอกใกล้ตาย
ติดหนี้สหกง-สหกรณ์

อีแต๋นปุ๋ยยาต้องผ่อน
ลูกเรียนออดอ้อน
ไอแพดไอโฟนสามจี

อิหลักอิเหลื่ออีหลี
ทำนาทั้งปี
ชาวนาซื้อข้าวสารกิน

ดอกเบี้ยดอกบานหนี้สิน
ท่วมทั้งแผ่นดิน
ใช้หนอกใช้หนี้ชาติหน้า

อนาถชะตอกชะตา
อีแร้งอีกา
น้ำตอกน้ำตาท่วมขื่อ

ตู้เย็นพัดลมมือถือ
ส่ำปอบกระสือ
แย่งยื้อปล้นล้วงกระเป๋า

สิอยู่จั๋งใด๋หมูเฮา
เหล้าขอกเหล้าขาว
จ่อมเมาคาวงแคร่ไผ่ฯ


(เขียนเล่นๆ สนุกๆ)

สนอง เสาทอง

**งานเขียนประเภทร้อยกรอง หากเขียนเพื่อให้บรรณาธิการพิจารณาตีพิมพ์ตามสื่อมาตรฐาน ต้องเขียนให้หลุดไปจากกรอบของการเขียนในห้องเรียน ห้องสอน (ประเภทเขียนส่งอาจารย์ 10 คนเหมือนถอดพิมพ์มาจากบล็อกเดียวกัน) อย่าติดกรอบมายาคติภาษา และไม่ควรพะวงกับกรอบฉันทลักษณ์มากไปจนตึงเคร่ง (รวมทั้งสำนวนภาษา, โวหาร และจริตด้วย) เดี๋ยวจะถูกขังกรอบคิด (เหมือนงานศิลปะทุกอย่าง) เพราะหากเขียนเช่นนั้นใครๆ ก็ทำได้ (ป้อนโปรแกรมเข้าไปในคอมฯ มันทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ) ต้องหลุดจากตำราให้ได้ (ย่อยกลืนบดเข้าไปในหัวแล้วตอนเขียนก็กลั่นออกมา นึกถึงภาพเราดูตำราสูตรปรุงอาหาร อ่านจนเข้าใจทั้งหมด โยนตำราทิ้งไปแล้วลงมือจับตะหลิวบรรเลงปรุง) หากแหวกกับดักเหล่านี้ไม่ได้ ต้นฉบับก็จะถูกดอง หรือถูกทิ้งลงถังขยะครับ (เพราะจะมีคนเขียนในลักษณะเช่นนั้นเกร่อไปหมด ใครที่สามารถแหวกออกมาได้ก็จะสร้างความประทับใจ (สะเทือนใจ เข้าถึงอารมณ์ศิลปะของงานประเภทร้อยกรอง))



ผมเห็นด้วยกับข้อแนะนำของคุณสนองทุกประการครับ  เนื่องจากในการพิจารณาตีพิมพ์ผลงานใดๆออกสู่สาธาณะชนนั้น
บรรณาธิการหรือเจ้าของสิ่งพิมพ์ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นหลักซึ่งมีเรื่องเงินมาเป็นปัจจัยสำคัญคอยชี้ขาด
ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาจำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบว่างานนี้พิมพ์ออกไปแล้วขายได้หรือไม่ได้ สรูปแล้วมันมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องและถือเป็นหัวใจสำคัญ
อย่างไรก็ดีผมมีความเห็นว่าถ้าเป็นไปได้ศิลปะกับการตลาดควรต้องคู่ไปด้วยกัน  เมื่อมีสิ่งผิดก็ควรต้องมีสิ่งที่ถูกนำเสนอออกไปด้วย
เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบและเพื่อดำรงคงไว้ซึ่งสิ่งที่ถูกต้องดีงามของฉันทลักษณ์แห่งโลกวรรณกรรม  หากว่าว่านักเขียนมืออาชีพมัวแต่คิดว่า
ต้องทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงินมาเท่านั้นโดยไม่สนใจจะจรรโลงในสิ่งถูกต้องบ้างเลยมันก็จะทำให้ผู้อ่านที่อ่านและเสพงานของเขานั้น
ถือเอาเป็นแบบอย่างตัวอย่างที่ผิดๆแล้วนำมาอ้างต่อๆกันได้ว่าทีนักเขียนระดับมืออาชีพท่านั้นๆยังเขียนได้แสดงว่าสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
มันก็จะเป็นการทำลายวรรณศิลป์ไปในตัว  ทางออกที่ดีที่สุดก็คือต้องยึดหลักทางสายกลาง  คือตัวผู้เขียนก็จำเป็นต้องพัฒนาฝีมือ แนวคิด
และสำนวนการเขียนให้น่าสนใจ  ทั้งต้องดำรงคงไว้ซึ่งฉันทลักษณ์ที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย หรืออย่างน้อยต้องมีควบคู่กันไปทั้งสองแบบ
คือแบบที่คิดออกไปนอกกรอบ  และแบบที่คงรักษาไว้ซึ่งฉันทลักษณ์และวิธีเขียนที่ถูกต้อง เพื่อถ่วงดุลย์ซึ่งกันและกันไม่ให้แบบใดแบบหนึ่ง
มีน้ำหนักมากเกินไป






***นักเขียนอาชีพเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โตมากับงาน "ฉันทลักษณ์" ก่อนทั้งสิ้น

***บทที่คุณยกมา ไม่ใช่การทำลาย เป็นโวหารแบบบ้านๆ ใครอ่านก็เข้าใจและเข้าถึงทันที

***งานร้อยกรองมีสองกระแสธาร ในวัง และ บ้านวัด สุนทรภู่ซึ่งเป็นนักเขียนอาชีพคนแรกของไทยใช้สำนวนโวหารบ้านๆ เพื่อขายให้แม่ค้าร้านตลาดอ่านรู้เรื่อง ส่วนสำนวนวังก็ใช้ระดับของภาษาอีกแบบหนึ่ง (ประมาณ ไร้หนาม-ไร้นวม คงเห็นภาพชัด)

***กลอน หากเอา original จริงๆ ต้องกลับไปใช้ของอยุธยา ตามความเห็นของมือขวา ใช่หรือไม่ เพราะกลอน original จริงๆ ไม่มีบังคับวรรค 1 และสอง ว่าลงสามัญไม่ได้ กวีสมัยรัตนโกสินทร์เป็นคนตั้งกฎเกณฑ์เอง ฉะนั้น กวีรัตนโกสินทร์ ทำลายวรรณศิลป์ทั้งหมด เพราะดันไม่ใช้แบบอย่างอยุธยา แต่กลับมาสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นเองในภายหลังอย่างที่เราเขียนกันทุกวันนี้

***ภาษาที่ใช้ กวีแต่ละยุคจะพยายามใช้ให้ร่วมสมัยกับคนอ่าน มีคำหลายๆ คำที่อยู่ยั้งยืนยงใช้มาเป็น 700-800 ปี เช่น กู มรึง ฯลฯ ลองจินตนาการ หากกวีสมัยอยุธยา ใช้ภาษาสำนวนโวหารแบบที่เราใช้ขณะนี้ คนอ่านไม่รู้เรื่อง หรือหากกวีสมัยนี้ไปใช้ของอยุธยาแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ก็อ่านไม่รู้เรื่องเช่นกัน แม้กระทั่งภาษาในแวดวงสงฆ์ ก็เปลี่ยนมากตอนนี้ พระรูปใดเทศน์บาลีสันสกฤตอยู่ชาวบ้านคนไหนจะฟังรู้เรื่อง ต้องเปลี่ยนผ่าน กวีก็เช่นกัน ปีนี้ 2556 เราคงไม่ใช้ภาษาเมื่อปี 2112 หรือ 2301 สมัยกรุงแตกพูดกันหรอกนะ

***กวีไม่เคยมีความคิดเรื่องการค้าอยู่ในหัว มีกวีคนไหนรวยบ้าง กวีไม่ใช่สื่อประเภทแค่ "เป็นกระจก" สะท้อนสังคม แต่ต้องเป็น "ตะเกียง" แห่งประทีปความรู้ส่องนำปัญญาให้กับผู้คนด้วย

***เวลามีงานสัมมนาทางวิชาการ ด้านวรรณกรรมซึ่งจัดบ่อยมาก มือขวาควรเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะที่นี่ไม่เหมาะสม เราพูดแบบปากเปล่าไม่มีเอกสารงานวิชาการใดใช้อ้างอิง มีแต่จะพากันเข้ารกเข้าพงไปเปล่าๆ สถานที่แห่งนี้ เขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนไปดีกว่า

***ในการไปบรรยายด้านร้อยกรองทุกครั้ง ผมหยิบงานเขียนเก่า อยุธยา, รัตนโกสินทร์ไปเปรียบเทียบให้เห็นเสมอ และชี้ให้เห็นว่าคลี่คลายมาเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ไม่เคยทิ้งของเก่า

ขอบคุณที่มีคำแนะนำมา

สนอง เสาทอง
2 กรกฎาคม 56


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, ชลนา ทิชากร

ข้อความนี้ มี 3 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กรกฎาคม 2013, 11:50:PM โดย choy » บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s