Re: ไม้อ่อนดัดง่าย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 พฤศจิกายน 2024, 11:31:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ไม้อ่อนดัดง่าย  (อ่าน 6663 ครั้ง)
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 04 มิถุนายน 2013, 06:23:PM »




                        ก่อนอื่นเลยคงต้องขอทำความเข้าใจกับคุณสนองก่อน(คือผมก็ยังงงๆว่านี่ตกลงผมคุยอยู่กับคุณสนองหรือคุณช๊อยกันแน่ ?)
เท้าความเรื่องที่คุณสายใยทักท้วงคุณสนอง(หรือคุณช๊อย แต่ต่อจากนี้เรียกว่าคุณสนองก็แล้วกัน)เรื่อง ฟ้าต้น  ซึ่งแกก็ไม่ยอมให้เหตุผลใดๆ
ผมเห็นคุณสนองไปยกเรื่องความหมายของคำต่างๆมาอธิบายแสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องที่คุณสายใยทักท้วง  ด้วยความปรารถนาดีจากใจโดย
ที่ไม่ได้มีเจตนาจับผิดแต่อย่างใดผมก็ได้ส่ง MP บอกให้คุณสนองได้ทราบว่าที่เขาทักท้วงนั้นคือเรื่องใด  แต่สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงก็คือ
คุณสนองได้ศึกษามาจากสำนักที่สอนว่าเรื่องตำแหน่งบังคับเอกเจ็ดโทสี่ของโคลงสี่สุภาพนั้นไม่ใช่ถือเป็นข้อเคร่งครัด  นี่เองที่ทำให้ผม
หมดข้อข้องใจว่าเหตุใดคุณสนองโดนทักแล้วจึงไม่ทราบ  สาเหตุก็คือตัวคุณสนองไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องผิดนั่นเอกที่วางรูปวรรณยุกต์โท
ไว้ในตำแหน่งที่บังคับวรรณยุกต์เอก
                       ทีนี้ก็มาเข้าประเด็นกัน  ประเด็นที่เป็นปัญหาในเรื่องนี้ก็คือความเห็นไม่ตรงกันว่าตำแหน่งคำที่ ๖ ในบาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพนั้น
ใช้รูปวรรณยุกต์โทหรือไม้โทได้หรือไม่ ?


๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐้
๐๐๐๐๐     ๐๐(๐๐)
๐๐๐๐๐     ๐๐๐๐



                          ซึ่งประเด็นมันก็อยู่ที่ตรงนี้ คือได้หรือไม่เท่านั้น  เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องใครเป็นกวีใครไม่เป็นกวี   เราไม่ได้ถกเถียงกันเรื่องโคลงดั้น
โคลงสองสุภาพ  โคลงสามสุภาพ  หรือบทประพันธ์ประเภทอื่นเช่นกลอนว่าใครเขียนดีไม่ดี  ใครเก่งไม่เก่ง  หรือผลงานใครได้รับการตีพิมพ์
ผลงานใครไม่ได้รับการตีพิมพ์  แต่เราถก-เถียงกันเรื่องข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพเท่านั้น  จึงป่วยการที่คุณสนองจะไปยกบทกวีประเภทอื่นๆ
มาเพื่อแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถเพื่อให้ผมยอมรับ  เพราะประเด็นที่พูดกันก็คือ คำที่ ๖ บาทที่ ๒ ของโคลงสี่สุภาพใช้รูปวรรณยุกต์โท
หรือไม้โทได้หรือไม่  เมื่อผมยืนยันว่าใช้ไม่ได้  คนอื่นๆบอกว่าใช้ไม่ได้  ตำราฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพบอกว่าใช้ไม่ได้  แต่คุณสนองบอกว่าใช้ได้
ก็เป็นอันว่าความเห็นไม่ตรงกัน  ซึ่งผมจะขอยกเอาคำพูดของคุณสนองที่เคยโพสต์ไว้เกี่ยวกับข้อตกลงของ แหลม มอริสัน  ที่มีต่อ น็อต นุติ เขมโยธิน
ว่า เขาทั้งสองตกลงจะพูดกันเฉพาะเรื่องดนตรี โดยไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องอื่น  ผมเองก็เช่นกัน  คือเรื่องที่ผมต้องพูดกับคุณสนองก็คือ
เรื่องฉันทลักษณ์บังคับของโคลงสีสุภาพ  ไม่เกี่ยวกับคำประพันธ์ประเภทอื่นๆ  ดังนั้นต่อให้คุณสนองจะไปยกตัวอย่างบทประพันธ์ใดๆขึ้นมาพูด
เพื่อสนับสนุนว่าตนเองถูกมันก็ไม่ได้มีความหมายใดๆ เพราะมันเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน  ส่วนบทประพันธ์ที่คุณสนองได้ยกมานั้น
ผมก็ยอมรับว่าดี  และยอมรับในคุณวุฒิและวัยวุฒิของคุณสนอง  แต่มันก็ไม่เกี่ยวอะไรกับโคลงสี่สุภาพที่เราถกเถียง  ประเด็นอยู่แค่ว่า
ใช้ได้หรือไม่ เท่านั้น
                         หวังว่าการที่ผมออกมาแสดงความคิดเห็นนั้นคงจะไม่สร้างความขุ่นเคืองอะไรให้คุณสนองนะครับ  ก็อย่างที่บอกแต่ต้นว่า
ที่ต้องบอกไปเพราะเห็นคุณสนองไม่เข้าใจว่าถูกทักท้วงเรื่องอะไร  จึงได้ยอมสละเวลาเฉลยให้ ไม่ได้มีเจตนาจะจับผิดอะไรเลยจริงๆ


                                                                                                      ด้วยความนับถือ

                                 
                                                                                                   
                                                                            Orion264(มือขวา)







ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, ไพร พนาวัลย์, Prapacarn ❀, Shumbala

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s