เรื่องของการสะกดจิตนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
-ข้อดีก็คือทำให้เราโปรแกรมความคิดของเราได้ตามต้องการ อยากคิด อยากฝัน อยากเชื่อมั่นไปให้ถึงสิ่งใดย่อมมีดอกาสเป็นไปได้
-ข้อเสีย ทั้งผู้ที่ถูกสะกดจิต และผู้ที่ฝึกหัดทางสะกดจิต มักขาดสติ ใจลอย ป้ำๆเป๋อๆ ขี้หลงขี้ลืม
เนื่องจากการสะกดจิตนั้นคือต้องการให้ผู้ถูกสะกด หมดความรู้สึก ขาดความเป็นตัวของตัวเอง
แม้ตัวผู้ทำการสะกดจิตก็เช่นกัน ต้องฝึกในทางสะกดตัวเองเสียก่อนจึงไปสะกดผู้อื่นได้ ซึ่งขัดกับหลักทางพุทธศาสนาที่ต้องการให้คนมีสติ
(อันนี้ผมจำจากหนังสือมาพูด)
แม้ในผู้ที่สวดมนตร์นั่งสมาธก็เช่นกัน ถ้าไม่ทำให้ถูกวิธี(คือฝึกให้เกิดสติ) บางคราวนั่นสมาธิก็กลายเป็นสะกดตัวเองให้หลับ
แล้วก็หมดความรู้สึกไปในที่สุด ระหว่าคนมีสมาธิ กับคนฝึกสมาธิจนสะกดตัวเองนั้นสังเกตง่าย
คนมีสมาธิ ต้องมีสติรู้ตัวตลอดเวลา จะไม่มีอาการหลงๆลืม ในขณะที่คนที่วดมนตร์นั่งสมาธิและเผลอสะกดตัวเองนั้นจะเป็นตรงข้าม
คือนั่งสมาธิแล้วจะง่วง กลายเป็นคนป้ำๆเป๋อๆ ขี้หลงขี้ลืมบ่อยๆ สาเหตุหลักคือสวดมนตร์และนั่งสมาธิพร้อมสะกดจิตตัวเองโดยไม่รู้ตัว
การปลูกฝังความเชื่อ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
-ข้อดีก็คือ ทำให้มีความมั่นใจในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก
-ข้อเสีย เชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป คิดว่าตัวเองทำได้ทุกสิ่งโดยไม่ดูเหตุผล และปัจจัยแวดล้อม
ทุกสิ่งล้วนมีสองด้านเสมอ ดังนั้นความกล้ากับสติปัญญาจึงต้องมาคู่กัน
การสะกดจิตตัวเอง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น แต่ความเชื่อมั่นก็ต้องอิืงเหตุผลความเป็นจริงและความเป็นไปได้
นั่นเป็นภาพลักษณ์ของการสะกดจิตในทางไม่ดีที่เราเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นครับ
ลองมองในแง่ อธิษฐานบารมีสิครับ พระพุทธเจ้าเองก็ต้องอธิษฐานมามากมายหลายชาติกว่าจะเป็นได้
มองในแง่กฎแห่งกรรมสิครับ ความคิด คำพูด การกระทำของเรามีผลเสมอ
แล้วก็ คนที่ทำสมาธิจะรู้ดีครับ ว่ามันคือธรรมชาติของจิตเรา ถ้าเราสงบมากจิตก็จะมีพลังมาก
อธิษฐานสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น และความคาดหวังแบบนี้เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดเวลา ความคิดของเรามีพลังเสมอครับ
มันไม่ใช่การขาดสติหรอกครับ แต่เป็นการโดดมาจับตัวความคิดเลยอย่างลัด ซึ่งคนเรามักไม่ค่อยและไม่เคยทำ
จึงรู้สึกว่ามันแตกต่างออกไป จากวิถีปฏิบัติแบบเดิมๆของเรา มันคือการทำความรู้จักกับตัวตนของเราครับ
ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นที่มากเกินไปนั้น อยู่ที่เราจะบอกว่าอะไร อยู่ที่ว่าเราจะคาดหวังอะไรกับตนเองด้วยครับ
แท้จริงเราใช้คำว่าสะกดก็ไม่ถูกนัก มันคือการภาวนา หรือการตั้งจิตอธิษฐาน คือธรรมชาติของจิต
แต่แน่นอนครับว่ามีบางคน ที่พอรู้วิธีแล้วนำไปใช้ในทางไม่ดี ทำให้ผู้รับ มึนเบลอ สับสน ทำร้ายตัวเอง
และก็แน่นอน เขาเองก็รับผลของการกระทำของเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ เขาเองสื่อสารกับจิตใต้สำนึกของเขา
ว่าตัวเขาไม่มีค่าพอที่จะถูกรัก ตัวเขาไม่เก่งพอที่จะเป็นคนดี ถึงเขามีความสุขอยู่บ้างแต่ลึกๆในใจเขาก็จะทำร้ายตัวเองเสมอๆ
ลองมองกฎแห่งกรรม มองอธิษฐานบารมี หรืออื่นๆให้ดีครับ มองตัวเองให้ดี ทำความรู้จักกับตัวเองให้มากครับ
ที่จริงมันก็ไม่ต่างกับการสวดมนต์มากนักหรอกครับ และการกล่อมเกลาจิตแบบนี้ พุทธก็มีเยอะแยะครับ
ต้องศึกษาดีๆทั้งสองอย่าง ทั้งจิตวิทยา ทั้งพุทธ ทั้งสองต่างอธิบายซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดีครับ
แล้วการทำสมาธิ ถ้าเราไม่ฝักใฝ่ทางคุณไสยฯล่ะก็ ไม่มีทางเป็นบ้า ป้ำๆป๋อๆแน่นอนครับ ทำอย่างเข้าใจ และไม่ยึดติด
ชีวิตเราคือความเชื่อ เชื่ออย่างไรเป็นอย่างนั้น และความเชื่อเป็นทางเลือก สิ่งที่ผมพูดมาคือการรู้จักตนเอง เท่านั้นเอง
ทุกสิ่งมีสองด้านเสมอ ในดีมีร้ายในร้ายมีดี ตอนนี้คุณเข้าใจและรับรู้ถึงพลังและตัวตนของคุณแล้ว
คุณจะเลือกทำสิ่งไหนนั้นเป็นเรื่องของคุณ และถึงอย่างไร ทุกการกระทำมีผลลัพธ์เสมอ
และเรื่องความเป็นเหตุผลที่ว่านั้น หลายครั้งไม่ได้เป็นตามนั้นเสมอไป ลองกลับไปมองที่กาลมาสูตรดูครับ
ความจริงและความเป็นไปได้ที่ว่านั้นก็มีมากมายกว่าที่เรารู้มากนัก ลองนึกภาพครับ ว่าถ้าไม่มีคนทำเครื่องบิน
เราก็คงคิดว่าการเดินทางในอากาศเป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องเพ้อฝัน หรืออีกหลายๆเรื่องครับ
เราเป็นในสิ่งที่เราบอก และฝึกตัวเองให้เป็นครับ และเราถูกปลูกฝังความเชื่ออยู่ตลอดเวลาครับ
สติปัญญาที่แท้ ไม่ได้อยู่แค่ที่ตรรกะนะครับ อยู่ที่ความรู้จัก เข้าใจตนเอง เข้าใจธรรมชาติด้วยใจนั่นด้วย
พุทธคือการรู้จักตัวเองครับ ก่อนอื่นรู้จักความคิด ความคาดหวังของตัวเราเองเสียก่อน มองสติในมุมกว้างด้วย
และสิ่งที่ผมนำมาพูด คือส่วนขยายของพุทธนะครับ ไม่ใช่ส่วนแย้ง
ส่วนเรื่องการรับการสะกดจิต คนสะกดจิตจะรู้ตัวนะครับ ว่าตัวเองกำลังรับข้อมูลอะไรเข้าไป
เว้นแต่เราจะไปเจอคนไม่ดี ซึ่งจะเจอได้ก็ด้วยใจที่ไม่ดีของเรานั่นเองแหละครับ
แล้วคนที่ทำการสะกดจิต หรือเข้าใจมัน ต้องเข้าใจในสิ่งที่ผมพูดกันทุกคนอยู่แล้วครับ ไม่ต้องกังวลไป
หรือถ้าจะทำ ก็ควรเลือกคนที่ใบรับรองจากหลายๆสถาบันนะครับ