Re: เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 03:08:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เลื่อมพรายปีก แมลงทับ ขลับมันขลับ  (อ่าน 17696 ครั้ง)
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2013, 09:58:AM »




งั้นขออนุญาตเริ่มเลยนะครับ

เคล็ดลับสัญที่สุดก็อยู่ที่กลอนบรรทัดแรกนี่แหละครับ

ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง (กรกฎ)

อธิบายตามกลอนที่ท่านกรกฏแต่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง  จะเห็นได้ว่า กลอนวรรคแรกนั้น
ประกอบไปด้วยคำแปดคำ  โดยมีสระเป็นคูๆอยู่สี่ดังนี้

ร้องนอง    คำทำ    หวานวาน   ลมชม

โดยกำหนดให้สระหนึ่งคู่ต้องมีเสียงต่างกัน  เพื่อใช้ท้ายวรรคที่ ๑  และรับสัมผัสในวรรคที่ ๒
และให้มีสระอีกหนึ่งคู่  ให้มีเสียงต่างกัน  ตัวหนึ่งต้องเป็นเสียง เอก  เสียงโท หรือเสียงจัตวา
เพื่อให้ใช้เป็นคำท้ายวรรคที่ ๒  และอีกตัวหนึ่งต้องเป็นเสียงสามัญเท่านั้น เพื่อจะมารับสัมผัส
ที่ท้ายวรรค ๓  ตามฉันทลักษณ์ของกลอนสุภาพ(แต่กลอนนี้มีข้อเสียอย่างหนึ่งคือมีการซ้ำคำในบท
ซึ่งนักกลอนส่วนมากไม่ยอมรับ  แต่ใครไม่ยอมรับก็ช่างเหอะ  ผมยอมรับเรื่องการซ้ำคำกันได้)
คำอื่นๆที่เหลืออีกสองคู่  จะใช้เสียงอะไรก็ได้โดยไม่บังคับ(ดูตัวอย่าง)

กลอนคุณกรกฏ

ร้องนอง    คำทำ    หวานวาน   ลมชม      เมื่อเขียนเป็นกลอนวรรคแรก

ร้องคำหวาน วานลม ชมทำนอง
(ท่านกรกฎพลาดตรงที่ เลือกใช้ว่า ทำนอง  ซึ่งเป็นคำผสมระหว่างคำว่าทำและนอง เกิดเป็นความหมายใหม่  และไม่อาจเขียนกลับเป็น  นองทำได้
เนื่องจากจะไม่สื่อความหมายใดๆ  ดังนั้นก็เลยทำให้สัมผัสสะดุดในวรรคที่ ๒)

กลอนมือขวา
หลายคนเห็น  เป็นงาม  ตามตนคล้าย     เมื่อแยกสระออกมาเป็นคู่ๆ

หลายคล้าย คนตน    เห็นป็น  งามตาม      เมื่อนำมาเรียงเป็นกลอน

หลายคนเห็น  เป็นงาม  ตามตนคล้าย

กลอนคุณอริญชย์
เสือช้างสิงห์   ลิงหมู   หนูค่างเหยื่อ   เมื่อแยกสระออกเป็นคู่ๆ

เสือเหยื่อ  ช้างค่าง  สิงห์ลิง  หมูหนู  (ตรงนี้ถ้าแทนที่จะเป็นหมูหนูคุณอริญชย์ใช้เป็น  หมูงู  หรือ หนูงู
โดยให้ตัวหนึ่งเสียงสามัญเสีย  การลงท้ายกลอนก็จะไม่มีปัญหา)คราวนี้มาเขียนเป็นกลอน

เสือช้างสิงห์   ลิงหมู   หนูค่างเหยื่อ

(คุณอริญชย์พลาดตรงที่ในคำคู่ทั้ง ๘ คำ  ไม่มีคู่เสียงสามัญเลยแม้แต่คู่เดีียว  ทำให้มีปัญหาในการลงท้ายบท)

จะเห็นได้ว่าเคล็ดลับจะอยู่ที่สระ ๑ คู่ ที่จะต้องใช้สัมผัสระหว่างคำท้ายวรรแรกกับการรับสัมผัสในวรรคที่ ๒
ซึ่งจะต้องใช้คำที่เสียงต่างกัน     กับอีกคู่หนึ่งที่จะใช้สำหรับส่งสัมผัสระหว่างท้ายวรรค๒ กับท้ายวรรค ๓
โดยมีคำหนึ่งต้องเป็นเสียงจัตวา โท หรือเอก เพื่อใช้ลงท้ายวรรค ๒  และอีกคำต้องเป็นเสียงสามัญเพื่อใช้
เป็นคำลงท้ายในวรรค ๓
คำที่เหลือนอกจากนี้ไม่บังคับ  แต่ควรต้องมีเสียงสามัญอีก ๑ คู่  เพื่อใช้เป็นคำลงท้ายในวรรคส่ง
ไม่งั้นจะลงผิดเสียงอย่างที่ท่านอริญชย์ลง

หลายคล้าย  คนตน    เห็นป็น  งามตาม 
(คู่ที่เน้นสี คือคู่ที่จะถูกใช้ในการรับสัมผัสระหว่างวรรค)เมื่อได้คำมาแล้วก็มาเรียงให้เป็นกลอนให้ถูกต้องตามหลักสัมผัสของกลอนแปด

หลายคนเห็น  เป็นงาม  ตามตนคล้าย           ต่อไปคือเริ่มว่าที่ ๒
งามเป็น........ตามด้วย หลาย   เพราะคำว่าคล้ายเราใช้ไปแล้ว.....ดังนั้นคำรับผัสตรงนี้
เรานำมาใช้ไไม่ได้อีก(แต่นำไปใช้ได้ในคำถัดๆไปเพื่อให้ในหนึ่งวรรคมีคำครบทั้งแปดคำโดยไม่ขาด) กลายเป็น

หลายคนเห็น  เป็นงาม  ตามตนคล้าย
งามเป็น
หลาย คล้ายตน  ตามคนเห็น
และเรื่อยๆไปจนจบทั้งบท
..........................................
..........................................


จากนั้นก็เรียงยังไงก็ได้โดยให้แต่ละวรรคนั้นสัมผัสกัน   ต้องไม่ให้เกินและต้องไม้ให้ขาด
คือให้ใช้คำทั้งแปดที่กำหนดไว้แต่แรกให้พอดี  ทุกๆวรรค  ห้ามใช้คำอื่นนอกจากนี้  และห้ามวรรคใดวรรคหนึ่ง
ขาดคำใดคำหนึ่ง จากทั้งแปดคำในวรรคแรก

ผมอธิบายได้เพียงนี้  ที่เหลือหากต้องการทราบผู้อ่านต้องไปทดลองเอาเองครับ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ส่วนกลอนของคุณ ชลนา  ทิชากรนั้นจะต่างจากท่านกรกฎ  ผม และท่านอริญชย์ไปเล็กน้อยดังนี้

หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้     เมื่อแยกสระออกเป็นคู่ๆจะได้คำดังนี้

หมูรู้   ช้างกวาง   เองเก้ง        ส่วนที่แปลกออกไป  คือ   เสือ  กับ ก็    ซึ่งไม่ได้มาเป็นคู่ๆ
 
เมื่อนำมาเขียนเป็นกลอนก็จะได้ดังนี้

หมูเสือช้าง กวางเก้ง ก็เองรู้    

ซึ่งตามหลักการนี้ผมยังไม่ได้ลอง  และยังไม่เข้าใจนัก  ดังนั้นผมจึงได้บอกว่า คุณชลนา ทิชากร
ได้เข้าใจเคล็ดลับการแต่งมากกว่า ผมและคุณ อริญชย์

ผิดถูกยังไงก็ต้องขออภัยด้วยครับ เพราะผมอธิบายไม่เก่ง   และท่านอื่นๆไม่ต้องถามผมแล้วนะครับ
ว่าแล้ววรรคต่อๆไปต้องแต่งยังไง   เพราะผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง  คุณต้องลองแต่งถึงจะทราบเอง

ส่วนการหาคำต้องใช้คำพยางค์เดียว ที่นำมาเรียงกันแล้วอ่านกลับไปกลับมามีความหมายได้ทั้งสองด้านนะครับ
เช่น  วันคืน  คืนวัน  ไปกลับ  กลับไป  ทางเดิน  เดินทาง  โรงหนัง  หนังโรง  ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายในทางเดียว
โดยเขียนกลับกันไม่ได้  เช่น  ตำแหน่ง    สมัคร   สัมผัส  สงสัย  เอามาเขียนกลับเป็น  แหน่งตำ  หมักสะ  ผัสสัม  สัยสง
แบบนี้ใช้ไม่ได้ครับ  เพราะไม่สื่อความหมายใดๆ



                                                                         Orion264(มือขวา)
                                                                           ๑๒/๐๕/๒๕๕๖




 เคารพรัก









ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

กรกช, choy, อริญชย์, khuadkao, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, Moo Dum

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤษภาคม 2013, 10:26:AM โดย Orion264(มือขวา) » บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s