Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 02:10:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)  (อ่าน 6245 ครั้ง)
สุวรรณ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 565
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 1,487


หวังทุกชีวิต สถิตไว้แต่สิ่งดี


« เมื่อ: 11 พฤษภาคม 2013, 04:59:PM »

พี่ค้นข้อมูลเกี่ยวกับวันหยุด สมัยรัชกาลที่ ๗ ถึง รัชกาลที่ ๘  เพิ่มเติมดังนี้นะคะ ( ตัวอักษรแถบสีน้ำเงิน คือ วันหยุดสมัยนั้นค่ะ )

                รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีการประกาศวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ โดยออกประกาศเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ ซึ่งมีการเลิกหยุดหลาย ๆ วันในช่วงต้นปี และเปลี่ยนแปลงวันหยุดบางวันให้เหมาะสม คือ 
๑. ตะรุษะสงกรานต์  (๓๑ มีนาคม – ๓ เมษายน)  ๔ วัน
๒. วันที่ระลึกมหาจักรี  (๖ เมษายน)  ๑ วัน
๓. วิศาขะบูชา  (ขึ้น ๑๔ ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖) ๓ วัน
๔. เข้าปุริมพรรษา (ขึ้น ๑๔ ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๓ วัน
๕. วันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  (๒๓ ตุลาคม) ๑
๖. วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (๗ – ๙ พฤศจิกายน)  ๓ วัน
๗. พระราชพิธีฉัตรมงคล  (๒๔ – ๒๖ กุมภาพันธ์) ๓ วัน

           หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ และการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และการขึ้นครองราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยพันเอกพระยาพหลพลหยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการ” ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๘๐ โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคมปีเดียวกัน ซึ่งประกาศวันหยุดราชการไว้ ดังนี้
๑.วันตรุษสงกรานต์ (New Year)(๓๑ มีนาคม – ๒ เมษายน) ๓ วัน
๒.วันจักรี (Chakri Day) (๖ เมษายน) ๑ วัน
๓.วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น ๑๕ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือน ๗ แล้วแต่กรณี) ๒ วัน
๔.วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Petition Day) (๒๔ มิถุนายน) ๑ วัน
๕.วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (Provisional Constitution Day)(๒๗ มิถุนายน)๑ วัน
๖.วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent)(ขึ้น ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๒ วัน
๗.วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (๒๐ กันยายน)๑ วัน
๘.วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day)(๙ – ๑๑ ธันวาคม)๓ วัน
๙.วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน ๓ หรือเดือน ๔ แล้วแต่กรณี) ๑ วัน

          จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปลายพุทธศักราช ๒๔๘๒ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ” ซึ่งเริ่มครอบคลุมถึงเรื่องเวลาทำงานของราชการตามปกติด้วย โดยกำหนดให้ข้าราชการทำงานตามเวลา คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๖:๐๐ น. โดยหยุดพักกลางวันเวลา ๑๒:๐๐ น. – ๑๓:๐๐ น. ส่วนวันเสาร์หยุดครึ่งวัน คือ ทำงานตั้งแต่เวลา ๐๙:๐๐ น. – ๑๒:๐๐ น. สำหรับวันอาทิตย์ให้ถือเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และได้เปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการดังนี้
๑.วันตรุษสงกรานต์และขึ้นปีใหม่ (New Year) (๓๑ มีนาคม – ๑ เมษายน) ๒ วัน
๒.วันจักรี (Chakri Day) (๖ เมษายน) ๑ วัน
๓.วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น ๑๕ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ หรือเดือน ๗ แล้วแต่กรณี) ๒ วัน
๔.วันชาติ (National Day) (๒๓ – ๒๕ มิถุนายน)  ๓ วัน
๕.วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น ๑๕ และ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) ๒ วัน
๖.วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday)  (๒๐ – ๒๑ กันยายน) ๒ วัน
๗.วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (๙ – ๑๑ ธันวาคม) ๓ วัน
๘.วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน ๓ หรือเดือน ๔ แล้วแต่กรณี) ๑ วัน

          อนึ่ง ทางราชการกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของราชการ และโรงเรียนทั่วไป แต่สำหรับโรงเรียนที่ใช้วัดเป็นสถานศึกษา ให้หยุดในวันพระ
          ในปีต่อมา คือ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการบังคับใช้ “พระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช ๒๔๘๓” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การให้ปีปฏิทินเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม (หรือพูดง่าย ๆ คือ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นแบบที่เราถือกันในปัจจุบันตามแบบสากลนั่นแหละครับ) ซึ่งหมายความว่าปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ มีเพียง ๙ เดือนเท่านั้น และจากการออกกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการในวันขึ้นปีใหม่ คือ หยุดวันขึ้นปีใหม่ ๓ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม วันที่ ๑ และ ๒
          และในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนอินโดจีนกับฝรั่งเศสขึ้น และได้ยุติลงโดยการลงนามในสัญญาพักรบ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๘๔ จนต่อมา เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๘๔ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้เพิ่มเติมวันหยุดราชการอีก ๑ วัน คือ วันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส โดยหยุดในวันที่ ๒๘ มกราคม ของทุกปี และได้ยกเลิกวันหยุดราชการดังกล่าวในปี ๒๔๘๗ ในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
          ต่อมาในปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้วันปิยมหาราช (Chulalongkon Day) เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมอีก ๑ วัน และลดการหยุดในวันขึ้นปีใหม่ให้เหลือเพียง ๒ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม และ ๑ มกราคม
           
            หากข้อมูลผิดพลาดประการใด ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ  (^_^)
            ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง :  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=843068  เคารพรัก

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

เนิน จำราย, พิมพ์วาส, choy, กรกช, อริญชย์, พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, ชลนา ทิชากร, อัญชัน

ข้อความนี้ มี 10 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s