Re: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 02:45:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: โปรดช่วยทีเถิดค่ะ ขอร้องเถิดได้โปรด เข้ามาช่วยทีค่ะ (ขอร้องเถิดค่ะ)  (อ่าน 6252 ครั้ง)
choy
Special Class LV3.9
นักกลอนรอบรู้กวี

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 145
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 314



« เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2013, 09:53:PM »

                                             
                                                     **ประวัติปฏิทินไทย**

ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต) หรือ
ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์
ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามไสมย หน้าโฆษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น
ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3)
ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานได้จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870
(พ.ศ. 2413) หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ
ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า " 14 First Calendar print in B. 1842 " (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์
แต่คาดหมายว่า คือ หมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย (ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม
เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404 ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์
ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ” ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามไสมย
ของ หมอสมิท เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า
"ประนินทินนี้ แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ "
แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น) ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

ปฏิทินไดอารี่ เริ่มมีใช้ในเมืองไทยเมื่อใดยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ไดอารี่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างสูง คือ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า
"จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน"

ปฏิทินในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย
สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ ปฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึง
รัชกาลปัจจุบัน ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้

การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ
สภาพภูมิอากาศ เวลาน้ำขึ้น - น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย
ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับ
จดบันทึกหมายเหตุรายวัน รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า "ไดอารี่" (Diary)
หรือ "สมุดบันทึกประจำวัน" ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้


                                         

                                         

อ้างอิง
    มณฑา สุขบูรณ์ "เวลา … พันธนาการแห่งมนุษย์" THE EARTH 2000 2,22 ( 2539 ) หน้า 76 –88
   อเนก นาวิกมูล. สิ่งพิมพ์คลาสสิค วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์,กรุงเทพฯ2533









[size=18pt[color=black[b]]](อ้างถึง)

ต่อเลยนะครับ

(1)...จนกระทั่งในปี จุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียนแทนที่ โดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วันตามปฏิทินสากล ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือเดือนมีนาคม ซึ่งยังคงใช้รัตนโกสินทรศก เป็นชื่อปีอย่างเป็นทางการ โดยใช้ 1 เมษายน ร.ศ. 108 แทนที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 จนกระทั่งเลิกใช้ปีรัตนโกสินทรศกที่ 131 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ปีพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ...
(2)...ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปเป็น 1 มกราคม ให้เทียบเท่ากับสากล โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป จึงทำให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียงแค่ 9 เดือน (เมษายน - ธันวาคม)
(3)...พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ลำดับที่ 7 แห่งราชอาณาจักรสยาม พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 นาฬิกา หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2436 (ค.ศ. 1893) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 76 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสยาม ลำดับที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์) เป็นปีที่ 9 ในสมเด็จพระพันปีหลวง (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ) ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) และทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (นับศักราชแบบเก่า) (ค.ศ. 1935) รวมดำรงสิริราชสมบัติ 9 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) รวมพระชนมพรรษา 47 พรรษา
(4)...พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

   หากดูจากข้อมูลวิกิพีเดีย อนุมานได้ว่า
(1)   ปี พ.ศ. 2431 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติแบบสากลตามปฏิทินเกรกอเรียน
(2)   ปฏิทินแบบที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเริ่มครั้งแรกปี พ.ศ. 2484 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(3)   รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชสมภพปี พ.ศ. 2436 ทรงครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2468 ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 (เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2484)
(4)   รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ปี พ.ศ. 2481 (ปฏิทินเริ่มใช้ 2484) เสด็จสวรรคตวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

****ดังนั้น สมัยรัชกาลที่ 7 ยังใช้ปฏิทินเก่าสมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ เพราะทรงสละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2477 (ปฏิทินแบบใหม่ใช้ 2484 ตรงกับปีเสด็จสวรรคตพอดี)

*****รัชกาลที่ 8 ครองราชย์ ปี พ.ศ. 2481 (ปฏิทินเริ่มใช้ 2484) แสดงว่า จากปี 2481-2483 ในสมัยรัชกาลที่ 8 ใช้ปฏิทินแบบเก่า และเริ่มใช้ปฏิทินแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484-2489 (เสด็จสวรรคตปี 2489)

****นี่เป็นข้อมูลจากอากู๋ เชื่อถือได้แค่ไหนไม่รู้ เพียงแต่อยากยกตัวอย่างวิธีคิดให้ดูว่าคิดกันอย่างเป็นลำดับอย่างไร ลองไปหาแหล่งข้อมูลปี พ.ศ. ที่อื่นดูแล้วเทียบเคียงแบบที่ทำให้ดูเป็นตัวอย่างก็จะได้รับคำตอบครับ

สนอง เสาทอง
(ถ้าผิดพลาดจะได้ด่าถูกตัวครับ อันนี้ไม่เกี่ยวกับ choy)
[/b][/color][/size]

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

พิมพ์วาส, กรกช, รัตนาวดี, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, สุวรรณ, Shumbala, ไพร พนาวัลย์, ชลนา ทิชากร, เนิน จำราย, อริญชย์, อัญชัน

ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s