(สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙)
๐นบเอกองค์อรหันตทรงอริยญาณ
เพริศธรรมพระนิพพาน กุศล
๐ทรงการุณยะเทศนารตนะมนตร์
ส่องแสงแสดงผล เกษม
๐มงคลมรรคะวิธีวิจิตรวิชญะเปรม
ทางธัญถวัลย์เอม อนันต์
๐บำเพ็ญเพียระวิปัสสนาหทยะขันธ์
ปัจจัยเจริญธรรม์ ทวี
๐สิ่งเลอเลิศะประเสริฐ ณ ที่พสุมดี
เกินกว่าพระศาส์นนี้ มิเห็น
๐เบิกใบบุญะดนูอดีตะศุภเย็น
พร้อมพฤฒิบำเพ็ญ เผดิม
๐ช่วยชูชงชระรินะปรัชยะเฉลิม
ฉันท์ฉายไสวเสริม สุคันธ์
๐เพื่อผลสมดนุหวังวิไลวจะประพันธ์
เทิดคุณพระอินทร์อัน อิสี
*
วิชญะ(น.) = ปราชญ์
ธัญ(ว.) =รุ่งเรือง, ดี
ถวัลย์(ก.)=ครอง
ทางธัญถวัลย์ ผมหมายถึง ทางดำเนินที่เจริญที่เรายึดถือครับ
พสุมดี(น.)= แผ่นดิน, โลก
สุคันธ์(น.)= กลิ่นหอม
อิสี(น.)= ผู้แสวงคุณความดี
(วสันตดิลกฉันท์๑๔)
(ธชัคคสูตร)
๐ครั้งพุทธกาลพระทศญา..................ณะประทานะกัณฑ์ธีร์
โปรดองค์กษัตริย์"ลิจฉวี" ธ พระนาม"มหาลี"
*กัณฑ์(น.)=ตอนหนึ่งๆของคำเทศน์, เรื่อง, หมวด, ตอน
ธีร์(ว.) ผมแปลงมาจากธีระ = มีปัญญา
๐ผ่านกาลนาน"อจลคาม" ระบุตาม"มคธ"มี
ปรากฏประสกจิตมณี นิมมานะสาธารณ์
๐หนึ่งนามกระ"มฆมา- นพ"พาสหายหาญ
กอปรบุญะยอดยศะประมาณ อดิเทพเถลิงธรรม
๐ชายชาญทวัตตึสะประสม เพราะนิยมและน้อมนำ
เนืองเวศม์เศวตระประจำ จตุทิศประดิษฐ์บุญ
๐คนจรจะนอนและจะแวะพัก ก็ประจักษ์คนึงคุณ
เดินทางถนนมฆก็หนุน นฤมิตวิจิตรเจิม
๐แม้นดีวิเศษวิบุละกิจ นฤพิษพิพาทเสริม
อิจฉาทกล้าธุระประเดิม ริกระเหิมกระโหมมนตร์
๐นายบ้านประจำอจลคาม์ ริษยารุจาผล
แกล้งชวนขบวนมฆพหล ยุสุราน่ะค่างาม
๐มวลมิตระมานพะสุธี มติดีมิเสื่อมทราม
มั่นคงคดีคติมิตาม ดละพาละโกรธา
*นิมมาน(น.)=การสร้าง
ทวัตตึสะ(ทฺวตฺตึส)=จำนวน๓๒(รวมมฆมานพเป็น๓๓คน)(ในทางหนึ่ง คำว่า ดาวดึงส์ก็หมายถึง๓๒ เช่นกัน)
เวศม์(น.)=บ้านเรือน
จตุทิศ=ทิศทั้ง๔
นฤมิต(ก.)=สร้าง
นฤ(น.)=คน
๐เฝ้าฟ้องกษัตริย์นมะประณต "ก็กบฏพระเจ้าข้า"
"อย่าช้าพสกนิกระพา อริราชะรับทัณฑ์"
๐ทรงสั่งทหารพยุหหนึ่ง ภระพึงประหารพลัน
ปวงเจ้าจริตอสิตะกรร....................มะจรีจรดเศียร!
*จริงๆแล้วกษัตริย์รับสั่งให้ช้างมาเหยียบเพื่อประหารครับ
แต่ผมแต่งว่าจรีจรดเศียร ซึ่งแปลว่ามีดจ่อศีรษะ ประมาณว่ากษัตริย์ทรงพิโรธ จึงตรัสว่า"เอามันไปตัดหัว" ประมาณนี้ครับ
๐แล้วสั่งคเชนทระจะเหยียบ เฉพาะเพียบผจัญเบียน
มวลหมู่มุนีมติมิเพี้ยน พิรแผ่ผจงพร
๐พวกเราอภัยและจะมิให้ นรใดประสบร้อน
เวรกรรมกระทำมละมิย้อน ยุติได้เพราะเมตตา
๐แล้วร่วมฤดีสติมิเผลอ ขณะเจอคชามา
ลั่นเลื่อนสะเทือนปุรธรา ก็สะดุดและหยุดผลาญ
๐ไท้ทอดพระเนตระฉะนั้น วิเคราะห์ครันสภาพการณ์
ช้างอาจจะกลัวมิริจะหาญ ตละคนก็จ้องตา
๐ทรงตรัสะอาภรณะบัง ตละพังจะเนตรพร่า
คงช่วยคชินทระทกล้า มุพิฆาตเขม็งตรง
๐เป็นปาฏิหาริยะสะกด ดละคชสารปลง
หยุดอยู่วิถีอริพระองค์ ดุจขันธ์มิเคลื่อนไหว
๐จอมเกล้ากษัตริย์ประจญะเห........ตุวิเศษะเลศนัย
โปรดถามขบวนทหระไย นรการมิผลาญแผลง?
๐กาลนั้นเปรียญะมฆกล่าว ยุติคราวเคราะห์คลายแรง
ด้วยเดชะบุญดนุแสดง กรุณาสง่าธรรม
๐"โอ้!เราสิสร้างวิลยะตน ภิทะชนม์เพราะฉลนำ
นี่เป็นประเภทะครุกรรม วิปลาสะมิจฉา
๐เรียบเรียงเผดียงกิจประกอบ ธรชอบปฏิญญา
นายบ้านบพิตระอิจฉา ชิวหากระหายหาญ
๐อ่อนไท้พินิจพิเคราะห์พิจา.......รณะกาละเหตุการณ์
รับสั่งทหาระมิละนาน ปุจฉาประชาพลัน
๐หลังองค์บรมนฤบดี มุติมีเพราะสัตย์อัน-
บัณฑิตวิศิษฐ์มฆถวัลย์ ก็ประกาศะสรรเสริญ
๐ทรงตั้งสุธีมฆประจำ กวะนำประชาเดิน
รังสรรคะบ้านอจลเถิน ทวิธรรม์จรัลเรือง
*คเชนทร์,คชา,พัง,คชินทร์, นรการ=ช้าง
ปุระ=เมือง
ธรา=แผ่นดิน
อาภรณะ มาจากอาภรณ์ ในที่นี้ให้หมายถึงผ้าเป็นผืน
วิลยะ=ย่อยยับ
ภิทะ =ทำลาย
เผดียง=บอกให้รู้
ธร=การยึด, การถือ
๐เปรมปรีดิถ้วนมฆสหาย และขยายขยันเนือง
สาธารณ์เจริญกิจะเมลือง ปุระล้วนเลบงบุญ
๐ทั้งยังประกอบประกฤติเด่น มฆเน้นนินาทหนุน
เจ็ดข้อขบวรคติวิรุฬห..............ะประพฤติเชวงชนม์
๐หนึ่งมุ่งจรุงปิดรมา- ตุชรามิขัดสน
สองน้อมตระกูละปิยะตน นมะเบื้องบุราณวงศ์
๐สามเสาวภาคย์พจนะสัตย์ ปฏิพัทธะซื่อตรง
สี่ศัพทะหยาบมฆมิหลง วจะล้ำละคำเขลา
๐ห้ามีวจีสิมธุรส คติพจน์เฉลาเชาวน์
หกไม่ตระหนี่สินก็เอา- บริจาคะอาจิณ
๐เจ็ดพึงมิโกรธะเอะอะพาล มิระรานกระหายหิน
บำเพ็ญประจำหทยะชิน ยุติชนม์กุศลสรวง
๐เสกศักดิ์สถิตยะระดม บุญบ่มบวรบวง
สู่ดาวดึงส์สุคติหลวง ระบุนามพระอินทร์องค์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 07:27:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: เทวสงคราม(ปฐมบทมฆมานพ, พระอินทร์ภาค๑) (อ่าน 2644 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: