(ท่านสนองครับผมขอร่วมสนุกด้วยคนครับ )
(โคลง ๔ สุภาพ)
๐โคลงกลอนอันอ่อนช้อย เฉกสยาม
ค้นทุกทิศทั่วคาม บ่แจ้ง
มีเพียงหนึ่งศาสตร์งาม เพริศเผ่า เดียวเฮย
คือเขตขัณฑ์ไทยแกล้ง ก่อแก้วประดับนิมา
(วิชชุมมาลาฉันท์)
๐ลูกหลานพรรณผ่อง เรืองรองฤๅลา
น้อมนึกศึกษา หรือหลีกลี้วงศ์
เกริกกาญจน์จารไว้ ด้วยไทยไป่ปลง
เชิดชูชี้ชง เช่นเชื้อชาติไทย
(กาพย์ยานี๑๑)
๐ปลูกพฤกษ์ระลึกผล จ่อกมลมิไปไหน
รดเช้ารดเย็นไย จะมิปลั่งสะพรั่งงาม
๐กลอนโคลงก็โยงเยี่ยง บ่บ่ายเบี่ยงและเคียงความ
คือเคร่งเคารพตาม กวีปราชญ์พิลาศฉันท์
(กลอน๘)
๐ยิ่งเรียนร่ำดื่มด่ำกับคำหงษ์ ยิ่งลุ่มหลงลวดลายไอศวรรย์
ยิ่งจดจ่อต่อแต่งยิ่งแจ้งพรรณ ว่ากลอนนั้นคือเอกดิเรกรงค์
๐แหงนพักตราสู่ฟ้าฟากสวรรค์ พร่ำจำนรรจ์ตั้งสัจจะด้วยประสงค์
เกิดชาติหน้าฉันใดได้พบองค์ พระจอมไตรพร้อมพงศ์สยามเทอญฯ
(โคลง ๔ สุภาพ)
๐โคลงกลอนอันอ่อนช้อย เฉกสยาม
ค้นทุกทิศทั่วคาม บ่แจ้ง
มีเพียงหนึ่งศาสตร์งาม เพริศเผ่า เดียวเฮย
คือเขตขัณฑ์ไทยแกล้ง ก่อแก้วประดับนิมา
(วิชชุมมาลาฉันท์)
๐ลูกหลานพรรณผ่อง เรืองรองฤๅลา
น้อมนึกศึกษา หรือหลีกลี้วงศ์
เกริกกาญจน์จารไว้ ด้วยไทยไป่ปลง
เชิดชูชี้ชง เช่นเชื้อชาติไทย
(กาพย์ยานี๑๑)
๐ปลูกพฤกษ์ระลึกผล จ่อกมลมิไปไหน
รดเช้ารดเย็นไย จะมิปลั่งสะพรั่งงาม
๐กลอนโคลงก็โยงเยี่ยง บ่บ่ายเบี่ยงและเคียงความ
คือเคร่งเคารพตาม กวีปราชญ์พิลาศฉันท์
(กลอน๘)
๐ยิ่งเรียนร่ำดื่มด่ำกับคำหงษ์ ยิ่งลุ่มหลงลวดลายไอศวรรย์
ยิ่งจดจ่อต่อแต่งยิ่งแจ้งพรรณ ว่ากลอนนั้นคือเอกดิเรกรงค์
๐แหงนพักตราสู่ฟ้าฟากสวรรค์ พร่ำจำนรรจ์ตั้งสัจจะด้วยประสงค์
เกิดชาติหน้าฉันใดได้พบองค์ พระจอมไตรพร้อมพงศ์สยามเทอญฯ
(อ้างถึง)
(คารวะตอบท่าน (ไร้นาม ไร้นวม) ด้วยร้อยกรองจากกุลีคำผู้นี้)
(โคลง ๔ สุภาพ)
อันโคลงฉันท์ร่ายแก้ว กาพย์กลอน
วิลาศอนุสรณ์ ค่าแท้*
ฮินดูพุทธพราหมณ์สอน คติเชื่อ ท่านเฮย
ภารตชนนั่นแล้ เศิกสร้างสยามตามฯ
(วิชชุมมาลาฉันท์)
เผ่าเชื้อพันธุ์ชน ถ้วนหนทุกแห่ง
ผมดำผมแดง ต่างเภทแผกพงศ์
ต่างตนสืบศาสตร์ ศิลป์ชาติยรรยง
ทูนเทิดธำรง มอบแด่โลกหล้าฯ
(กาพย์ยานี๑๑)
ไม้ดอกอันงามค่า กลีบช่อผกาเรืองอร่าม
หากผสมสายพันธุ์ข้าม อาจสันสีผลิแปลกตา
ฉันใดก็เฉกนั้น โคลงกวีฉันท์บุราณมา
ฉันทลักษณ์และภาษา ผ่านวิวัฒน์หลายศกสมัยฯ*
(กลอน๘)
อาจละม้ายคล้ายคล้ายหากไม่เหมือน
อาจเหมือนเหมือนละม้ายแต่ไม่คล้าย
หรือละม้ายเหมือนเหมือนประพิมพาย
คมกานท์นั้น “คล้ายคล้าย” แต่ไม่เหมือน**
*อาจมีใคร “ไผ่นอกกอ” บ้าง ทำให้งานเขียนประเภทร้อยกรองมีการวิวัฒน์ มาตามลำดับ เช่น กลบทต่างๆ, หรือตระกูลฉันท์หลากสาขา และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ของเก่าก็ไม่ได้ทิ้ง
**จริงๆ เพราะภูมิหลังแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้ศึกษาโคลง, ฉันท์, กาพย์ และกลอนมาจากสำนักเดียวกัน หากแต่ละคนจะมีภูมิหลังต่างกัน จึงเกิด “พื้นที่” และ “ที่ทาง” เฉพาะของตนในการหยิบจับอะไรมาสื่อ ดังนั้น โคลง, กลอนฯ หัวข้อเดียวกัน 100 สำนวน การตีความ หยิบจับเอาเนื้อหามาสื่อ, ภาษาสำนวนที่ใช้อาจต่างกัน 100 แบบ แต่ความหมายเดียวกัน ดังนั้น การคิดแบบเหมารวม (เหมาเข่งชั่งกิโลขาย) ว่าสำนวนโคลงกลอนจะต้องมีแบบแผนมาตรฐานเดียวกัน เหมือนๆ กัน คงทำให้เรามีวิธีคิดที่คับแคบมาก ลองนึกภาพเราป้อนข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ แล้วมันก็แปลงค่ามาให้เรา ทั้ง 100 เครื่องเหมือนสำเนาเดียวกันหมด หากโคลง, ฉันท์, กาพย์ และกลอนของแต่ละท่านมีลักษณะเป็นเช่นนี้ ......เอวัง.....
ขอบคุณ (ไร้นาม ไร้นวม) มาก กับการได้เสพงานวรรณศิลป์ระดับ “ล้ำเลอค่าวรรณศิลป์” จากท่าน ทำให้ได้รู้ว่า ยอดฝีมือในยุคนี้ยังมีอีกเยอะแยะทั่วแดนดิน
โปรดรับการคารวะจากข้าพเจ้า
สนอง เสาทอง
10 มีนาคม 56
*แก้หน่อยเบลอมากเตรียมเดินทาง[/color]