๐ขอแนะแปลนหลักแล้ เรียนโคลง งามเฮย
ผมประสบการณ์โพรง พร่องพร้า
แต่แอบลักจำโยง เลียนปราชญ์
และครุจารย์ทั่วหล้า ลักษณ์พร้อมผึ่งผาย
๐ขยายความเพื่อนผู้ พากเพียร
การต่อโคลงให้เนียน รื่นริ้ว
คำท้ายบทพึงเลียน แบบสระ
วางต่อเพื่อเพลงพลิ้ว เฉพาะหน้าสามคำ
๐คำค่ำค้ำดั่งนีิ้ เป็นตัว- อย่างนา
ท้ายวรรคแรกอย่าสลัว สระซ้อน
โคลงสุภาพอย่ามัว วรรณยุกต์
เอกรึโทอย่าป้อน ประจุไว้ผิดผังฯ
(คำที่๗ วรรคแรก ครูท่านว่าให้เป็นรูปสามัญครับผม)
(ส่วนการสัมผัสระหว่างบทไม่บังคับ แต่ถ้ามีท่านว่าเป็นการเค้าเรียกว่าstep upน่ะครับ ซึ่งส่วนตัวผมนิยมฝึกแบบนี้ครับ คือคำสุดท้ายของบทก่อนหน้ามาสัมผัสกับสามคำแรกของบทต่อไป คำไหนก็ได้ครับผม)
(อ้างถึง)
อันขยมชั้นต่ำใต้ ทรายดิน
ฤาหาญสู้เอกกวินทร์ เชี่ยวกล้า
งายงมซ่องเสพศิลป์ วิเศษทิพย์
ปองจิตโคลงค่าฟ้า แก่นซึ้งสมัยเสมอ
ฝืนเขียนโคลงมั่วฟุ้ง กำกวม
เทียบ (ไร้นาม ไร้นวม) แจ่มซึ้ง
เพียงสมัครใจร่วม ลองเล่น
โปรดเอ็นดูไป่ขึ้ง ฝ่าเท้าเหวี่ยงสนอง
ข้าน้อยเขียวหนึ่งแต้ม ปลางู
เพ่งพินิจก้มดู ต่ำต้อย
ใคร่เพียรฝึกร่วมครู ปราชญ์ท่าน
บ่ต้องการสักน้อย ส่วยแก้วหนึ่งคะแนน
สนอง เสาทอง
สุขสนาม
สุรินทร์
9 มีนาคม 56
*ประมาณนี้พอทนดูได้มั้งท่าน ปกติไม่ถนัดโคลงฉันท์กาพย์และกลอนแนวจารีตนิยม คือจะไม่เปะในทุกจุด แต่โดยรวมๆ รักษารูปแบบฉันทลักษณ์ไว้ จึงมักเขียนกลอนกับกาพย์มากกว่า โตมากับยุครอยต่อระหว่างกลุ่ม "สายลมแสงแดด" และ "เพื่อชีวิต" แต่สมาทาน "ศิลปะเพื่อศิลปะ" มากกว่า