สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 07:11:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สมุดกลอน ตอนที่ ๓ : สมุดภาพตำราคชลักษณ์  (อ่าน 3839 ครั้ง)
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3
นักกลอนผู้มากผลงาน

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 145


คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ


« เมื่อ: 06 มีนาคม 2013, 11:01:PM »

จริงๆแล้ว กระผมขี้เกียจเปิดหนังสือค้นข้อมูลนะครับ
แต่ยังรับผิดชอบกระทู้อยู่บ้าง  มัคคุเทศก์ คนธรรพ์จึงกลับมาอีกครั้ง




ภาพพระพิฆเนศบนสมุดข่อย พระกรข้างขวาทรงดอกบวก ข้างซ้ายทรงตรี
พระพิฆเนศวรหรือพระพิฆเนศ ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ
ตามตำรับนารายณ์ประทมสินธุ์กล่าวว่า พระพิฆเนศอุบัติจากพระกรรณเบื้องขวาของพระอัคนี



พระโกญจนาเนศวรศิวบุตร อุบัติจากเปลวเพลิงที่พวยพุ่งออกทางพระกรรณเบื้องซ้ายของพระอัคนี
อ้อ ที่แท้เป็นพี่น้องต่างพระกรรณกับพระพิฆเนศนี่เอง

เทพเจ้าองค์นี้ ทรงประทานกำเนิดช้างเผือกตระกูลอัคนีพงศ์



สมุดภาพตำราคชลักษณ์ เป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยหมึกดำ ตัวอักษรภาษาไทย
เล่มที่นำมาแสดงนี้ เป็นฉบับหลวง เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่งด้วยกาพย์ฉบัง

อธิบายลักษณะของช้างประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นช้างศุภลักษณ์ และช้างทุรลักษณ์
ภาพตอนต้นเป็นเทพยดาสำคัญในการคชกรรม



มาตังคกรีเทพ คือเทพเจ้าทั้ง ๒๖ องค์ที่สถิตรักษา ส่วนต่างๆตามร่างกายของช้างสำคัญ



ช้างคิริเมขล์ มี ๓ เศียร ประกอบด้วยคชลักษณ์งดงาม เป็นช้างทรงของพญาวสวัตดีมาร
ภาพนี้ วาดได้สวยงามมากครับ จนผมต้องเพ่งดูซ้ำหลายครั้ง
ช้างสวมชฎาเสียด้วย เป็นถึงช้างทรงของพญามาร แต่ก็ดูเป็นช้างอารมณ์ดี

กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯ  ได้กล่าวถึงช้างคิริเมขล์ไว้ในลิลิตตะเลงพ่าย

หัสดินทร์ปิ่นธเรศไท้       โททรง
คือสมิทธิมาตงค์            หนึ่งช้าง
หนึ่งคือคิริเมขล์มง         คลอาสน์ มารเอย
เศียรส่ายหงายงาคว้าง    ไขว้แคว้งแทงโถม

โคลงบทนี้ ทำให้เรารู้ว่า ช้างทรงของพระเจ้าแผ่นดิน
๑ สมิทธิมาตงค์  (ยังค้นรูปไม่พบ)
๒ คิริเมขล์
บาทสุดท้ายบอกถึง อาการของช้างสาร ยามใช้งาเข้าจู่โจมประจัญกับข้าศึก

เข้าสู่เนื้อหาตำราคชลักษณ์เสียที



คันธหัตถี  มีสีกายดังไม้กฤษณา อุจาระ ปัสสาวะ และกายมีกลิ่นหอม (ใครเป็นควาญ เคยพบรึเปล่า)
มีบริวารเป็นอันมาก  ช้างคันธหัตถี ๑๐ ช้าง จึงจะมีกำลังเท่าช้างมงคลหัตถี ๑ ช้าง




ปิงคลหัตถี ผิวกายสีเหลืองอ่อน ดวงตาประหนึ่งตาแมว มีกำลังมากและห้าวหาญในการศึก
มีกำลังน้อยกว่าคันธหัตถี   ปิงคลหัตถี ๑๐ ช้าง จึงจะมีกำลังเท่าคันธหัตถี ๑ ช้าง

วันนี้ขอหยุดที่ ๒ ช้างก่อน
เรื่องช้างๆเป็นงานที่หนักและเหนื่อย
แต่จะพยายามเข็นช้างออกมาอาทิตย์ละสองสามเชือก

สำหรับท่านผู้สนใจวรรณคดีตำรับช้าง ขอแนะนำหนังสือดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง
ไว้อ่านประดับความรู้เรื่องช้างๆ



พิมพ์ครั้งที่๒ ปี ๒๕๒๗  ส่วนเล่มที่พิมพ์ครั้งหลังสุดไม่นานมานี้ หาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์

ขอบอกไว้อย่าง หากท่านมุ่งมั่นจะอ่านตำรับช้างอย่างจริงจัง
ถ้ายังไม่มีพจนานุกรมไทยที่บ้าน ก็ขอให้ซื้อติดมือมาด้วย
รึชอบสะดวกเคาะแป้นพิมพ์หาความหมายทางระบบออนไลน์ก็ตามใจ

โปรดติดตามตอนต่อไป อาทิตย์หน้า

มัคคุเทศก์ คนธรรพ์

๖/๓/๕๖

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

choy, รพีกาญจน์, Shumbala, คอนพูธน, ไม่รู้ใจ, พี.พูนสุข, เนิน จำราย, เพรางาย, พิมพ์วาส, ชลนา ทิชากร, ไร้นวล^^

ข้อความนี้ มี 11 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มีนาคม 2013, 06:29:AM โดย คนธรรพ์ » บันทึกการเข้า

คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ   คำ คำ

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s