ช่วยแต่งกลอนฮีต 12 ให้หน่อยครับ เอา 2 บท (กลอนสุภาพ) ส่งวันจันทร์ ครับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 10:05:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยแต่งกลอนฮีต 12 ให้หน่อยครับ เอา 2 บท (กลอนสุภาพ) ส่งวันจันทร์ ครับ  (อ่าน 7947 ครั้ง)
Ahckarawin
LV2 วัยเร่ร่อนผจญภัย
**

คะแนนกลอนของผู้นี้ 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7



« เมื่อ: 02 มีนาคม 2013, 10:53:AM »

ช่วยแต่งกลอนฮีต 12 ให้หน่อยครับ เอา 2 บท (กลอนสุภาพ)

เดือนอ้าย : บุญเข้ากรรม
งานบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียง พระสงฆ์จะทำพิธีเข้ากรรมหรือที่เรียกว่า?เข้าปริวาส
กรรม? เพื่อทำการชำระมลทินที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยคือ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมนั้นจะใช้เวลา 6-9 วันในระหว่างนี้เองชาวบ้านจะเตรียมอาหาร หวานคาวนำไปถวายพระภิกษุทั้งเช้าและเพล เพราะการอยู่กรรมจะต้องอยู่ในบริเวณสงบ เช่น ชายป่าหรือที่ห่างไกลชุมชน(หรืออาจเป็นที่สงบในบริเวณวัดก็ได้) ชาวบ้านที่นำอาหารไปถวายพระภิกษุในระหว่างอยู่กรรมนี้เชื่อว่าจะทำให้ได้บุญ กุศลมาก

เดือนยี่ บุญคูนลานหรือบุญคูนข้าว
บุญ คูนลานหรือบุญคูนข้าวเป็นพิธีกรรมฉลองภายหลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ชาวบ้านรู้สึกยินดีที่ได้ผลผลิตมาก จึงต้องการทำบุญโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในลานข้าวและในบางแห่งจะมีการสู่ ขวัญข้าวเพื่อฉลองความอุดมสมบูรณ์ กล่าวขอบคุณแม่โพสพและขอโทษที่ได้เหยียบย่ำ พื้นแผ่นดินในระหว่างการทำนา เพื่อความเป็นสิริมงคลและให้ผลผลิตเป็นทวีคูณในปีต่อไป

เดือนสาม บุญข้าวจี่
บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทำบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรำเตรียมไว้ในตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการเทศน์นิทานชาดกเรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี


(ตรวจให้ด้วยครับว่าถูกไหม๊ เอามาจากเว็บอื่น ทำให้เหลือ 2 บทให้ด้วยนะครับ เอาเนื้อหาในนี้นะครับ)
บุญข้าวจี่
    หอมข้าวจี่สีเหลืองไข่โชยไอกรุ่น ในงานบุญเมื่อเดือน ๓ ยามข้าวใหม่
ข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนดีแล้วจี่ไฟ โรยเกลือใส่ชุบไข่พอกออกเหลืองนวล
      โชยกลิ่นฟุ้งจรุงไกลไปทั่วย่าน อวลกลิ่นซ่านเย้ายวนใจหอมให้หวล
คือข้าวทิพย์วิเศษคุณกรุ่นกลิ่นครวญ เร้ารัญจวนอวลตลบอบกำจาย
      ถวายทานแด่พระสงฆ์องคเจ้า แจกผองเผ่าญาติสนิทมิตรสหาย
อุทิศแด่บรรพชนถึงฅนตาย   เทพทั้งหลายทุกชั้นฟ้าสุราลัย


เดือนสี่ บุญผะเหวด
?บุญผะเหวด? เป็นสำเนียงชาวอีสานที่มาจากคำว่า ?บุญพระเวส?หรือพระเวสสันดร เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทำติดต่อกันสามวันวันแรกจัดเตรียมสถานที่ ตกแต่งศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร


(ตรวจให้ด้วยครับว่าถูกไหม๊ เอามาจากเว็บอื่น ทำให้เหลือ 2 บทให้ด้วยนะครับ เอาเนื้อหาในนี้นะครับ)
 บุญผะเหวด
      บุญผะเหวดเทศกาลงานเดือน ๔ ประเพณีอีสานแต่กาลก่อน
เขาฟังลำกัณฑ์เทศน์เวสสันดร  แห่กันหลอนไทยทานงานพิธี
     พระมาลัยเหินเหาะเลาะเลียบฟ้า ขึ้นบูชาพระสยมบรมศรี
จอมพระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี  ณ สุขาวดีแดนวิมาน
     ชนใดได้กระทำดังคำว่า  ปรารถนาตั้งจิตอธิษฐาน
เกิดใต้ร่มบารมีพระศรีอาริย์ฯ พบนิพพานหลุดพ้นทุกฅนไป


เดือนห้า บุญสรงน้ำ หรือ บุญฮดสรง
บุญฮดสรง หรือ บุญสงกรานต์ จัดให้มีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ไทยมาตั้งแต่โบราณ ในวันขึ้นปีใหม่ของ
ไทยมาแต่โบราณในวันนี้พระสงฆ์นำพระพุทธรูปออกจากโบสถ์มา ไว้ที่หอสรงตอนบ่าย ชาวบ้านจะนำน้ำอบ น้ำหอม มาร่วมกันสรง
น้ำพระพุทธรูปที่หอสรงนี้ จากนั้นก็ออกไปเก็บดอกไม้มาจัดประกวดประชันในการบูชาพระ ระหว่างนี้ชาวบ้านจะพากันเล่นแคน ฉิ่ง
ฉาบ เพื่อความสนุกสนานรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่และเล่นสาดน้ำกัน โดยชาวบ้านอาจเล่นสนุกสนานถึง 15 วัน

เดือนหก ได้แล้ว

เดือนเจ็ด บุญซำฮะ
บุญ ซำฮะหรือชำระ เกิดตามความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือนเจ็ดต้องทำบุญชำระจิตใจให้สะอาดและ เพื่อปัดเป่ารังควาญสิ่งไม่เป็นมงคล
ออกจากหมู่บ้านบางท้องถิ่นเรียกประเพณี นี้ว่าบุญเบิกบ้านซึ่งมีพิธีกรรมทั้งทางศาสนาพุทธและไสยศาสตร์ ในวันงานชาวบ้านจะพา
กันนำภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์และร่วมกันฟังเทศน์ ฟังธรรม รวมทั้งมีการเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองให้
พ้นจากภัยพิบัติและช่วยขับไล่สิ่งไม่ดีไม่งามออกไป จากหมู่บ้าน ให้บ้านเกิดความเป็นสิริมงคล

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา
บุญ เข้าพรรษาของภาคอีสานเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาคล้ายคลึงกับทางภาคกลางคือจะมี การทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำ
ฝน สงบ จีวรและเทียนพรรษา หากแต่ในภาคอีสานจะจัดขบวนแห่เทียนอย่างยิ่งใหญ่ และมักมีการประกวดความสวยงามของเทียน
จากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัดชาวบ้านจะ
รับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
บุญ ข้าวประดับดิน จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนเก้าเป็นการทำบุญให้ญาติผู้ล่วงลับ โดยการนำข้าวปลาอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่
อย่างละเล็กละน้อย ห่อด้วยใบตองเป็นสองห่อกลัดติดกันเตรียมไว้ตั้งแต่หัวค่ำ ครั้นถึงเวลาตีสาม ตีสี่ของวันรุ่งขึ้นจะนำห่ออาหาร
และหมากพลูไปวางไว้ตามโคนต้นไม้รอบ ๆ วัด เพื่อให้ญาติพี่น้อยผู้ล่วงลับ รวมทั้งผีไร้ญาติอื่น ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะมาเยี่ยมญาติพี่น้องใน
เวลานี้มารับไปเพื่อจะได้ไม่อดอยากหิว โหย นอกจากจะเป็นการทำบุญและทำทานแล้วยังแสดงถึงความกตัญญูอีกส่วนด้วย


เดือนสิบ บุญข้าวสาก
บุญข้าวสากเป็นประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมสำรับอาหาร ซึ่งบรรจุข้าวเหนียว อาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง
แจ่วบองหรือน้ำพริกปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่งสำหรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและนำไปทำบุญที่วัด โดยจะเขียนชื่อเจ้าของ
สำรับอาหารและเครื่องไทยทานใส่ไว้ในบาตร เพื่อให้พระในวัดจับสลาก หากภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อผู้ใด ก็จะได้สำรับอาหาร
พร้อมเครื่องไทยทานของเจ้าภาพนั้น ๆ

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา
บุญ ออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ดนอกจากจะเป็นโอกาสที่พระภิกษุสงฆ์จะแสดงอาบัติและว่า กล่าวตักเตือนกันแล้ว ชาวบ้านในภาค
อีสานยังมีกิจกรรมกันอีกหลายอย่าง ทั้งประเพณีตักบาตรเทโว การจุดประทีปโคมไฟประดับประดาตามต้นไม้ บางแห่งนำต้นอ้อย
หรือไม้ไผ่มามัดเป็นเรือจุดโคมแล้วนำไปลอยในแม่น้ำที่เรียกว่า การไหลเรือไฟ เพื่อเป็นพุทธบูชาสำหรับหมู่บ้านที่อยู่ไกลแหล่งน้ำ
จะนิยมทำปราสาทผึ้งหรือ ผาสาดผึ้งทำจากกาบกล้วยประดับประดาด้วยขี้ผึ้ง ซึ่งทำเป็นดอกไม้ แต่ปัจจุบันมักใช้ขี้ผึ้งมาตกแต่ง
ปราสาททั้งหลัง แล้วจัดขบวนแห่มาถวายที่วัดอย่างสนุกสนาน

เดือนสิบสอง บุญกฐิน
บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า ?กาลทาน? นี้มีกำหนดให้ทำได้เฉพาะในช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี จึงมีชื่อ
เรียกอีกอย่างว่า ?บุญเดือน 12? ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ทำบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทำในชาติ นี้ไว้เก็บกินในชาติ
หน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสำคัญ ในส่วนพิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะ
เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ ญาติพี่น้องหรือชาวบ้านใกล้เคียงนำสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ
มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืนอาจจัดให้มี มหรสพต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้
ในงานบุญกฐินก็คือ ต้องจุด ?บั้งไฟพลุ? อย่างน้อยจำนวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่ง
ลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐิน

[/font][/font][/size][/font][/font][/size]

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

พยัญเสมอ, สมนึก นพ, พี.พูนสุข, ไม่รู้ใจ

ข้อความนี้ มี 4 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s