Re: บทกวีของจ่าง แซ่ตั้ง
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 ธันวาคม 2024, 11:08:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: บทกวีของจ่าง แซ่ตั้ง  (อ่าน 15669 ครั้ง)
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3
นักกลอนผู้มากผลงาน

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 145


คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ


« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2013, 06:16:AM »

รูปแบบของบทกวีอันเรียบง่ายแต่โดดเด่นแหวกแนว
ด้วยการจัดวางตำแหน่งคำและกลวิธีที่ใช้คำซ้ำจำนวนมากมายเกินกว่าปรกติ     
ยังปรากฏในผลงานที่หลั่งไหลตามมาเป็นระลอก  จนบังเกิดบทกวีชุด “คำซ้ำ” ในแบบฉบับจ่าง แซ่ตั้ง   

“คน” ฉันไปที่วงเวียนใหญ่  มีคนเยอะแยะตามป้ายรถเมล์ 
ฉันเขียนอย่างนี้ คอ-นอ คน   คอ-นอ คน  คน-นอ คน   คอ-นอ คน   
คอ-นอ คน  คน-นอ คน   คอ-นอ คน   คอ-นอ คน  คน-นอ คน   คอ-นอ คน   
คอ-นอ คน  คน-นอ คน   ให้เต็มเลย




คน.

คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน  คน
คอยรถเมล์โดยสารประจำทาง................................................ที่กรุงเทพฯ




"คน" เป็นบทกวีรูปแบบ "นามธรรม" ที่ใช้คำซ้ำแทนแต่ละปัจเจกบุคคล 
กล่าวคือ
มีคำว่า "คน" ที่เขียนซ้ำกันแทนหมู่คนจริงจริงที่ต่างไม่รู้จักกัน เป็นอิสระต่อกัน
กำลังยืนรวมกลุ่มรอรถเมล์อยู่เนืองแน่นเต็มไปหมด
   
บทกวีนี้เปรียบเสมือนสถานที่แอดอัดอีกแห่งหนึ่งในเมืองกรุง
ฉายภาพพจน์ของคนธรรมดาสามัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางชั้นล่าง
เพราะไม่มีรถส่วนตัว ต้องยืนรอรถเมล์ ต่างมาอยู่รวมกันในเมืองด้วยจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ทำมากิน

ดังนั้น การจัดตำแหน่งของคำในบทกวี จึงเป็นเรื่องสำคัญ 

ผม คนธรรพ์เองครับ ไม่ใช่คนท่ามกลางคน คน คนที่กำลังคอยรถเมล์ในบทกวี   ผมขอเรียนเพื่อนนักกวีทุกท่านว่า 
บทกวีของจ่าง แซ่ตั้งที่นำมาโพสต์ให้อ่านกันนี้
มาจากหนังสือ “บทกวีของฉัน : จ่าง แซ่ตั้ง อารมณ์ ความคิด ความเป็นมาของบทกวี 1967 -1984”
ซึ่งผมจะทยอยโพสต์งานเพียงบางส่วนให้พอเห็นแนวคิด ทางกลอนเปล่า และกวีวรรณรูปของกวีท่านนี้       
เพื่อสืบสานผลงานกวีไทยร่วมสมัยให้เป็นที่รู้จักต่อไป   



ข้าวสาร.

ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร  ข้าวสาร
๕ กิโล   ราคาถุงละ   ๑๑    บาท


"ข้าวสาร" บทนี้พูดถึงข้าวสารที่มีมากมายแต่มีราคาแพง คนยากจนนั้นลำบากที่จะซื้อกิน

ขอกล่าวเพิ่มเติมว่า บทกวีทั้งหมดบังเกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศทางสังคมในช่วงหลังปีพ.ศ. 2500
ด้วยเหตุนี้เนื้อหาบางส่วนจึงต่างจากเรื่องราวในยุคปัจจุบัน
ที่จ่างบอกว่า เห็นคนเยอะแยะบริเวณป้ายรถเมล์วงเวียนใหญ่ ทั้งที่ตอนนี้กลับเงียบเหงา ผู้คนไม่แออัดคับคั่ง
ก็เพราะว่าในสมัยของจ่าง  วงเวียนใหญ่เปรียบได้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิในสมัยนี้นั่นเอง

บทกวีจึงมิใช่งานสร้างสรรค์ทางสุนทรียะเพียงประการเดียว ด้านหนึ่งยังเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์สังคมด้วย


 อายจัง

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

พี.พูนสุข, ไพร พนาวัลย์, รพีกาญจน์, Thammada, รัตนาวดี, ชลนา ทิชากร, Shumbala, choy

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กุมภาพันธ์ 2013, 01:26:PM โดย คนธรรพ์ » บันทึกการเข้า

คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ   คำ คำ

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s