เรียน คุณแซม ทราบค่ะ
กลบททั้ง 2 กลบท คือ ดอกไม้พวงคำน้อง และ ดอกไม้พวงพู่ร้อย เป็นกลบทที่มีข้อบังคับเหมือนกัน
ทุกประการค่ะ เพียงแต่ปรากฏอยู่ในตำรากลอนคนละเล่มกัน
กลบทดอกไม้พวงคำน้อง ปรากฏในหนังสือชื่อ ศิริวิบุลกิตติ์ แต่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย
ผู้แต่งคือ หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เนื้อเรื่องนำมาจาก ศิริวิบุลกิตติ์ชาดก แต่งด้วยคำประพันธ์
ประเภทกลอน โดยใช้กลบทชนิดต่างๆ สลับกันตลอดเรื่อง รวมกลบท ทั้งสิ้น ๘๕ ชนิด
มีทั้งที่ซ้ำ และต่างจากกลบทใน จินดามณี เนื่องจากแต่งโดยผูกเป็นเรื่องราว กลบทใน
ศิริวิบุลกิตติ์ จึงเป็นแบบกลอักษรทั้งหมด
ส่วน กลบทดอกไม้พวงพู่ร้อย ปรากฏในหนังสือชื่อ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ เกิดขึ้นในสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๗๕
ทรงปฏิสังขรณ์ วัดพระเชตุพน ฯ และทรงมีพระราชประสงค์ จะให้เป็นแหล่งเล่าเรียนวิชาความรู้
ของมหาชน ไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวบรวม เลือกสรร ตำรับตำราต่างๆ
โดยตรวจแก้จากของเดิมบ้าง และประชุมผู้รู้ให้แต่งขึ้นใหม่บ้าง ทั้งด้านวรรณคดี โบราณคดี
และวิชาอื่นๆ และโปรดฯ ให้จารึกแผ่นศิลาไว้ ในบริเวณวัดพระเชตุพน ฯ เมื่อผู้ใดสนใจวิชาใด
ก็สามารถ เล่าเรียนได้จากศิลาจารึกนั้น จารึกวัดพระเชตุพนฯ ได้รับการรวบรวมพิมพ์ เป็นหนังสือขึ้น
ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทร้อยแก้ว และประเภทร้อยกรอง
ในแต่ละประเภท ยังแบ่งออกเป็น ๕ หมวด มี หมวดประวัติวัด หมวดวรรณคดี หมวดสุภาษิต
หมวดทำเนียบ และหมวดอนามัย ตำรากลบท อยู่ในหมวดวรรณคดี มีทั้งหมด ๙๗ ชนิด มีทั้ง
กลอักษร และกลแบบ ส่วนใหญ่ซ้ำกับกลบทในศิริวิบุลกิตติ์
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 02:15:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ✿..ไม่ควรถามแค่ยามทุกข์..✿ (อ่าน 4270 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: