....พินัยกรรม ชีวิต..............คือสิทธิ์ อันชอบธรรม
ชี้นำ ความประสงค์.............เจาะจง ยามเจ็บหนัก
ผู้อื่นจัก รักษา...................ดูแลข้าฯ อย่างไร !
ใช่ปล่อย รอวันดับ..............หลับไร้ จิตวิญญาณ
พันธนาการ รุงรัง................ยังชีพ ด้วยเครื่องมือ
เพียงเพื่อยื้อ เวลา..............เช่นฆ่า ความเป็น"คน"
จึ่งเตรียมตน พรักพร้อม.......กายจิตสงบ นอบน้อม
ตระหนักแจ้ง "ธรรมดา" (๘๕)
แนวคิดในเรื่องพินัยกรรมชีวิต หรือหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต (Living Will) มีผลในทางกฎหมายเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องมาจากกฎหมายการตายตามธรรมชาติ (Natural Death Act) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ปี ค.ศ. ๑๙๗๖ (พ.ศ. ๒๕๑๙) เพื่อรับรองสิทธิของผู้ป่วยในการยอมรับหรือปฏิเสธกระบวนการทางการแพทย์ที่เป็นไปเพื่อยืดชีวิต (หรืออีกความหมายหนึ่งคือยืดความตายออกไป) ก่อนจะแพร่หลายไปยังรัฐและประเทศอื่นๆ
สำหรับสังคมไทย หลังจากการสัมนาเพื่อพิจารณากฎหมายดูแลผู้สูงอายุดังได้กล่าวไว้แล้ว แม้พินัยกรรมชีวิตจะยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ แต่เรื่องดังกล่าวได้ถูกนำมาพิจารณาอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพ โดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา ได้เสนอประเด็น “สิทธิการตายอย่างมีศักดิ์ศรี” เข้าไปอยู่ในร่างกรอบความคิดระบบสุขภาพแห่งชาติ หมวดว่าด้วยสิทธิหน้าที่ ความเสมอภาค และหลักประกันความมั่นคงด้านสุขภาพ ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ๒๕๕๐ มาตรา ๑๒ “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วยได้” จนเกิดกระบวนการจัดทำ (ร่าง) กฎกระทรวงดังกล่าว และกำลังอยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย ญาติ นักกฎหมาย เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับสังคมไทย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
22 พฤศจิกายน 2024, 08:51:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ไหนๆ จะครบทุกประเภทแล้ว "ร่าย" สักหน่อยจะเป็นไรฤๅ (อ่าน 89858 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: