วันนี้ (6 ธ.ค.) สืบเนื่องจากมีผู้ตั้งคำถามต่อบทอาเศียรวาท
ที่ตีพิมพ์ในมติชน ฉบับวันที่ 5 ธันวาคม 2555 มีความกำกวมไม่เหมาะสมหรือไม่ มีเนื้อความดังนี้
“วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง ลมแล้งในใจไห้โหยหาย
ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา
วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน ลมร้อนลมเย็นเป็นปัญหา
พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำท่วมน้ำตา ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร”...แบบว่า....ใครแสดงความเห็น หักคะแนนด้วยกันคนล่ะสิบแต้มดีไหมครับ
...
ปล..เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะครับ
แต่เกี่ยวกับบทกวี จึงเรียนมาขอความเป็นกลางในการตีความ
(หากกระทู้นี้ สร้างความไม่สบายใจในอนาคต ขออนุญาตลบนะครับ)
สาเหตุ...
มีคำแปลแพร่กระจายในโลกออนไลน์ ในขณะนี้
ดังนี้...
(มีคนแปลมา ถูกผิดไม่รู้ แต่ถ้าถูก นสพ.ฉบับนี้ ....แย่มาก
ถ้าเขียนถวายพระพรแบบนี้....
วันหนึ่งฟ้าสว่างกระจ่างแจ้ง = เมื่อถึงคราวที่เรื่องราวทั้งหลายได้ยุติสงบลง
ลมแล้งในใจให้โหยหาย = ความคับแค้นขุ่นข้องหมองใจทั้งหลายได้หมดสิ้นไป
ข้าวกล้านาไร่ได้กลิ่นอาย = พวกรากหญ้าทั้งหลายต่างรับรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแล้ว
ยามฝนขวนขวายมุ่งหมายมา = เมื่อคนแดนไกลกำลังจะเดินทางเข้ามาอย่างผู้ชนะ
วันหนึ่งเมฆคลุ้มเป็นกลุ่มก้อน = เมื่อเบื้องบนเกิดมีปัญหาและมีแต่เรื่องราวไปในทางที่ไม่ดี(ตามความคิดของคนแต่ง)
ลมร้อนเย็นเป็นปัญหา = สิ่งที่มีผลกระทบต่อสิ่งที่คนไทยรักล้วนมีแต่ความยุ่งยากทั้งจากภายนอกและภายใน
พฤกษ์พุ่มชอุ่มช้ำทั้งน้ำตา = คนทั่วไปต่างก็เดือดร้อนที่มาจากสิ่งที่คนไทยรัก
ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร = ถ้าอย่างนั้นไม่มีสิ่งที่คนไทยรักเลยคงจะดีกว่านี้มั๊งดูเพิ่มเติม)