ที่มา
http://www.st.ac.th/thaidepart/kol_aksorn.phpพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของคำว่า "กลอักษร" ไว้ดังนี้
กลอักษร (กน-อัก-สอน,กน-ละ-อัก-สอน) น. กลบทที่ซ่อนเงื่อนไว้ให้อ่านฉงน เช่น
โอ้อกเอ๋ยแสนวิตก กระไรเลยระกำใจ จะจากไกลไม่เคย (กลอักษรงูกินหาง)
กลอักษรนั้น ผู้เขียนจะเขียนไว้เป็นกลซ่อนเอาไว้ ผู้อ่านต้องมีความรู้หรือความคิดที่สามารถจะถอดกลนั้น จึงจะสามารถอ่านกลนั้นได้ ดังตัวอย่างย่อหน้าข้างบน ในคำอธิบายของพจนานุกรมนั้น มีกลอักษรอยู่สามวรรค ซึ่งสามารถถอดความออกมาเป็นกลอนได้ดังนี้
กลอักษรงูกินหาง
โอ้อกเอ๋ย แสนวิตก โอ้อกเอ๋ย
กระไรเลย ระกำใจ กระไรเลย
จะจากไกล ไม่เคย จะจากไกลจะเห็นว่าผู้เขียนได้วางกลไว้คือให้อ่านจนสุดวรรคแล้วอ่านซ้ำตามด้วยคำที่ ๑-๓ (๓ คำหลังในแต่ละวรรคก็คือ ๓ คำแรกในวรรคนั้นๆ นั่นเอง) จะเห็นว่าถ้าถอดกลอักษรนี้ได้ก็จะอ่านออกมาเป็นกลอน
กลอักษรมีอยู่หลายชนิดเหมือนกัน อาทิเช่น
- กลอนกลอักษรคมในฝัก
- กลอนกลอักษรงูกินหาง
- กลอนกลอักษรนกกางปีก
- กลอนกลอักษรคุลาซ่อนลูก
- กลอนกลอักษรถอยหลังเข้าคลอง
- กลอนกลอักษรม้าลำพอง
- กลอนกลอักษรเมขลาโยนแก้ว