กลบทเบญจวรรณห้าสี
แสนสุดโศก สั่งสาร เห็นนานหาย
คนข้างเคียง เคยคอย พลอยกลับกลาย
อกเอ๋ยโอ้ เอออาย เพราะหมายเกิน
หลงละเลิง ลมลิ้น ไม่กินแหนง
สายสนสื่อ เสกแสร้ง ช่วยเดินเหิน
โน่นนี่นั่น แนะนำ แล้วทำเมิน
ชักชวนเชิญ เชือนไช ไม่เหลียวแล
กลบท " เบญจวรรณห้าสี" มีลักษณะสำคัญอยู่ที่ คำที่ ๑ ถึง ๕ ในแต่ละวรรคจะสัมผัสอักษรกันทุกวรรคไป
แต่ละวรรคก็จะสัมผัสอักษรอย่างหนึ่งอย่างใด(คำว่าสัมผัสอักษร หมายถึงใช้เสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน)เช่น
แสนสุดโศกสั่งสาร.................สัมผัสอักษรเสียงพยัญชนะ สอ
คนข้างเคียงเคยคอย................สัมผัสอักษรเสียงพยัญชนะ ขอ (ข ค ฆ.เป็นเสียงเดียวกัน) เป็นต้น
เพิ่มเติมจาก
http://www.baanjomyut.com/library/thai_literature/kollabot/index.htmlอย่าหยิ่งเย่อยกย่อง ลำพองพิษ
อาจโอ้อิทธิ์อวดอ้าง อย่างข่มเหง
ขอดข้อนแข้นขู่ข่ม ให้เขาเกรง
โฉดโฉงเฉงเฉาฉ่า ชะล่าใจ
ทำท่วงทีท่าทาง วางจังหวะ
โกงเกะกะก้าวก่อ ข้อคำไข
ล้วนเล่ห์ลิ้นลวงลอด สอดกลไก
เหน็บแนมในนึกน่า ระอาคำ
ถ้าถึงถ้อยถอยถด สลดหลบ
จับจริงจบเจิ่นเจน ก็เอนถลำ
เหมือนไม้เมามูลมอด ทอดทิ้งทำ
กลับกลอกกล้ำเกลื่อนกลาย คลายกำลัง