สังขลิก [สัง-ขะ-ลิก] (มค. สงฺขลิกา) น. เครื่องจองจำ, โซ่ตรวน.
กลอนสังขลิก จัดเป็นกลอนชาวบ้านประเภทเพลงเด็ก โดยส่วนใหญ่เป็นบทร้องเล่น
ลักษณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสไม่เหมือนกับกลอนสุภาพ [1]
ลักษณะบังคับ
๑ กลอนสังขลิกบังคับสัมผัส 2 แห่ง ได้แก่ สัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลังในบาทเดียวกันแห่งหนึ่ง
และสัมผัสท้ายบาทแรกกับท้ายวรรคแรกของบาทต่อไปอีกแห่งหนึ่ง เกี่ยวเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนตลอดบท
๒ จำนวนคำในวรรคมีตั้งแต่วรรคละ 2 คำ ถึงวรรคละ 9 คำ กำหนดบาทละ 2 วรรค บทหนึ่งจะมีกี่บาทก็ได้
หลวงธรรมาภิมณฑ์ [2] ได้ประดิษฐ์แบบของกลอนสังขลิกไว้ 8 ชนิด ตามจำนวนคำในวรรค
ตั้งแต่กลอน 2 ถึงกลอน 9 แต่ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก
อ้างอิง
[1] ^ สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2535.
[2] ^ ธรรมาภิมณฑ์, หลวง. ประชุมลำนำ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2514.
วิกิพีเดีย
ขอบคุณยิ่ง คุณกานต์ฑิตา ที่จุดประกายเรื่อง กลอนสาม
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
24 พฤศจิกายน 2024, 09:15:PM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: กลอนสังขลิก (อ่าน 4858 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: