Re: หากคิดรักจักคิดถึง(กลบทปาหินบนน้ำ)
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
21 พฤศจิกายน 2024, 10:40:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หากคิดรักจักคิดถึง(กลบทปาหินบนน้ำ)  (อ่าน 18088 ครั้ง)
พยัญเสมอ
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 674
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,044


ไม่มีเหตุจำเป็นห้ามรบกวน


« เมื่อ: 27 กันยายน 2012, 01:38:PM »



       ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร ในเมื่อคนเรามีสิทธิ์จะคิดตรงกันได้ แม้จะต่างกาล  ต่างสถานที่  ขึ้นชื่อว่า กวีแล้ว
ย่อมสื่อถึงกันได้โดยหลักการ  การคิดซ้ำกัน  หรือพร้องกันโดยบังเอิญจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
อย่างที่ผมบอกตั้งแต่ต้นว่า  ผมได้ดัดแปลงโดยนำเอาหลักการของกลบทเสือซ่อนเล็บ  ที่ซ้ำคำที่ ๒ กับ ๗
โดยเปลี่ยนมาแต่งเป็นกลอน ๙  แล้วใส่ซ้ำ คำที่ ๕  ตรงกลางเข้าไปอีก ๑  คำ รวมเป็นสามคำ
ผมจะยกตัวอย่างบทกลอนในอดีตมาสักสองตัวอย่าง

แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
    พระอภัยมณี สุนทรภู่

แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก
คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
 ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม โดย สุนทรภู่

ตรงที่เน้นสีแดงไว้นั้น  เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีการซ้ำคำกันระหว่าง คำที่ ๓  กับคำที่ ๔  ซึ่งปรากฏอยู่เพียงวรรเดียว
เพราะวรรคต่อไป สุนทรภู่ท่านไม่ได้ซ้ำแล้ว    ซึ่งหลักการซ้ำคำตรงนี้ ผมก็เห็นในปัจจุบันมีการนำมาแต่งกัน โดยเรียก
เป็น กลบทรักร้อย    เหตุใดจึงชื่อว่า รักร้อย ?  สุนทรภู่ไปเรียนกลบทนี้มาจึงนำมาแต่ง  หรือว่าคนเขียนกลบทนี้
ไปเห็นกลอนของสุนทรภู่ ที่ซ้ำคำตรงนี้ จึงจดจำนำมาบัญญัติเป็นกลบทขึ้น โดยให้ชื่อว่ารักร้อย  ตามคำที่ซ้ำกันว่า 
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก  หรือ  แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ  เพราะมีแต่เรื่องที่เกี่ยวกับคำว่ารัก  จึงเรียกรักร้อย
ใครเลียนใคร  หรือต่างคนต่างคิด  แต่มาพ้องกันโดยบังเอิญ ก็ไม่มีใครทราบได้ 
แต่ที่แน่ๆก็คือ ท่านสุนทรไมได้คิดเรื่องกลบทรักร้อยอะไรนั่นแน่  มันเป็นแต่เพียงสำนวนที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
โดยวิสัยแห่งอารมณ์กวีเท่านั้น   ความจริงเรื่องกลบทนั้น  หลายบท เป็นสิ่งที่กวีรุ่นเก่าสังเกตพบโดยบังเอิญ
จากการแต่งกลอนทั่วไป และพบสำนวนหรือคำพูดบางประโยคที่อาจจะพิเศษและแปลกกว่ากลอนทั่วไป จึงได้นำมารวบรวม
หรือบันทึกไว้ แล้วตั้งชื่อเป็นกลบท  เพื่อเป็นแนวทางในการแต่งของคนรุ่นหลังหลังสืบไป ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร
     ถึงในบทกลอนที่ชื่อ รุไบย่าห์ นั่นก็เหมือนกัน  นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญโดยความชำนาญของกวีผู้แต่ง
โดยที่ตัวผู้แต่งก็ไม่ได้คิดไปถึงว่าจะนำมาทำเป็นกลบทใดๆ  จึงเป็นเป็นเพียงบทกลอนที่มีสำนวนแปลก พิเศษสะดุดหู
แล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะไม่ได้นำมาแต่งเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด
        และผมเชื่อว่าคนที่เคยแต่งกลอนมาเป็นจำนวนมากนั้น  หากจะลองย้อนกลับไปอ่านกลอนที่ตนเองแต่ง
จะต้องแปลกใจที่จะมีสำนวนบางวรรค ที่แปลกและพิเศษกว่าข้อความตอนอื่นๆ จนสามารถที่จะนำหลักการนั้นๆ
มาสร้างเป็นกลบทได้  เพียงแต่ตัวผู้แต่งเองอาจจะไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่ได้สนใจที่จะรวบรวมไว้เท่านั้น
สำหรับ กลบท ปาหินบนน้ำอะไรนี่  ผมยืนยันว่า ผมดัดแปลง มาจาก กลบทเสือซ่อนเล็บที่มีมานานแล้วอย่างแน่นอน
โดยแค่เพิ่มคำซ้ำเข้าไปตรงกลางบทอีก ๑ คำเท่านั้น
แล้วก็ไอ้เรื่องการแต่งกลบทประเภทซ้ำคำกันนั้น มันมีมากมายหลากหลายนัก   ไม่ว่าจะเป็นซ้ำหัวท้าย  อย่างกลบทครอบจักรวาล
เขยิบเข้ามาหน่อยซ้ำคำที่ ๒ กับ๗  อย่างเสือซ่อนเล็บ   ซ้ำสองคำ อย่างมังกรคายแก้วคาบแก้ว  ซ้ำคำที่ ๓ กับคำที่๘  อย่าง
พยัคฆ์ข้ามห้วย   นี่ยังไม่รวมถึงการซ้ำคำตรงตำแหน่งอื่นๆ  อย่างกินนรเก็บฝักบัว  ตรีพิธพรรณ
จนแทบจะเรียกได้ว่า ฉันทลักษณ์ของกลอน ๘  กลอน ๙ นั้น แทบจะพรุนไปด้วย กฏเกณฑ์ของกลบทต่างๆอยู่แล้ว
นี่ยังไม่ต้องกล่าวถึง ที่ผมกำลังจะคิดและรวบรวมอีก   ฉะนั้นมันจะแปลกอะไรเหรอ ถ้าจะมีกลบทที่ชื่อ ปาหินบนน้ำ เธอนั่นแหละจ้ะ



                                                                       Orion264







ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รพีกาญจน์, อริญชย์, พี.พูนสุข, ดุลย์ ละมุน, กามนิต, เนิน จำราย

ข้อความนี้ มี 6 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

๐นามแฝงผู้เขียน Orion264(มือขวา),มือขวา,บูรพาทรนง-ตงฟางข้วงแขะ,สิงสู่,ต๊กโกม้อเกี่ยม-มารกระบี่เดียวดาย,
เทพเจ้าไก่

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s