กลอักษรงูกินหาง
นกกระจอก นอกกระจก นกกระจอก
ร้องเริงร่า มาเย้าหยอก ร้องเริงร่า
ในท้องนา ฟ้าสีทอง ในท้องนา
รวมฝูงกัน พันธุ์เผ่ามา รวมฝูงกัน
นกกระติ๊ด จิตผวา นกกระติ๊ด
สุดหวาดหวั่น พรั่นอมิตร สุดหวาดหวั่น
เคยผูกพัน กันทุ่งข้าว เคยผูกพัน
วันนี้ใคร ในทุ่งนั้น วันนี้ใคร
ชาวนาหม่น ปนระอา ชาวนาหม่น
รวงข้าวใหม่ ในนาตน รวงข้าวใหม่
สุดช้ำใจ ไล่กระจอก สุดช้ำใจ
ส่งเสียงดัง หวังนกไป ส่งเสียงดัง
นกกระติ๊ด คิดเองว่า นกกระติ๊ด
ชาวนาคลั่ง สั่งประชิด ชาวนาคลั่ง
รวมพลัง พังกระจอก รวมพลัง
บินเข้าไป ไล่ตามหลัง บินเข้าไป ฯ
อริญชย์
๑๘/๙/๒๕๕๕
ปล.หากแต่งผิดพลาดประการใด ใช้ถ้อยคำควรหรือไม่ควรอย่างไร
ขอท่านผู้รู้ให้ความเมตตาช่วยชี้แนะข้าน้อยผู้กำลังฝึกฝนด้วยจ้ะ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้
พอดีว่าลองทำจากตัวอย่างข้างล่างนี้
กลอักษรงูกินหาง
ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง
เหมือนน้ำตาลหวานเตือน
เสนาะจริงยิ่งคำหวาน
วาจาสัตย์ชื่นอุรา
คำของหญิงสิงมนัส
ชวนแอบอิงยิ่งยวน
ขอฝากกายไม่ประวิง
อ่านได้ว่า
ฟังเสียงหวาน ขานเสียงดัง ฟังเสียงหวาน
เหมือนน้ำตาล หวานเตือน เหมือนน้ำตาล
เสนาะจริง ยิ่งคำหวาน เสนาะจริง
วาจาสัตย์ ชื่นอุรา วาจาสัตย์
คำของหญิง สิงมนัส คำของหญิง
ชวนแอบอิง ยิ่งยวน ชวนแอบอิง
ขอฝากกาย ไม่ประวิง ขอฝากกาย
กฎ :
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ ต้องให้มีสัมผัสซ้ำคำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค
คือให้คำที่ ๑ กสัมผัสกับคำที่ ๗ , คำที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ และคำที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๙
๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรงูกินหาง ให้ตัดคำซ้ำ ๓ คำ ซึ่งอยู่สุดท้ายของวรรคออกเสีย
เหลือไว้เพียงวรรคละ๕ คำบ้าง ๖ คำบ้าง สุดแล้วแต่ในวรรคนั้น ๆ จะเป็นกลอนแปดหรือกลอนเก้า
๓. กลอนกลอักษรงูกินหาง ให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
จึงจะได้ความเต็มตามลักษณะของกลอนเพราะที่ตัดออก ๓ คำนั้นเป็นคำซ้ำกับ ๓ คำข้างต้นวรรคจึงต้องอ่านซ้ำแทนคำที่ตัดออก
ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index21.htm
ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง
เหมือนน้ำตาลหวานเตือน
เสนาะจริงยิ่งคำหวาน
วาจาสัตย์ชื่นอุรา
คำของหญิงสิงมนัส
ชวนแอบอิงยิ่งยวน
ขอฝากกายไม่ประวิง
อ่านได้ว่า
ฟังเสียงหวาน ขานเสียงดัง ฟังเสียงหวาน
เหมือนน้ำตาล หวานเตือน เหมือนน้ำตาล
เสนาะจริง ยิ่งคำหวาน เสนาะจริง
วาจาสัตย์ ชื่นอุรา วาจาสัตย์
คำของหญิง สิงมนัส คำของหญิง
ชวนแอบอิง ยิ่งยวน ชวนแอบอิง
ขอฝากกาย ไม่ประวิง ขอฝากกาย
กฎ :
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ ต้องให้มีสัมผัสซ้ำคำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค
คือให้คำที่ ๑ กสัมผัสกับคำที่ ๗ , คำที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ และคำที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๙
๒. เมื่อจะทำเป็นกลอักษรงูกินหาง ให้ตัดคำซ้ำ ๓ คำ ซึ่งอยู่สุดท้ายของวรรคออกเสีย
เหลือไว้เพียงวรรคละ๕ คำบ้าง ๖ คำบ้าง สุดแล้วแต่ในวรรคนั้น ๆ จะเป็นกลอนแปดหรือกลอนเก้า
๓. กลอนกลอักษรงูกินหาง ให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
จึงจะได้ความเต็มตามลักษณะของกลอนเพราะที่ตัดออก ๓ คำนั้นเป็นคำซ้ำกับ ๓ คำข้างต้นวรรคจึงต้องอ่านซ้ำแทนคำที่ตัดออก
ที่มา http://www.geocities.com/annenena/index21.htm