ให้ช่วยแนะนำครับ
ครับ ระบุชัดแบบนี้ ค่อยสบายใจที่จะขยับ
(ต่อไป เป็นความเห็นของผมเท่านั้นครับ)
ไม่ทราบว่า ตอนแต่งเสร็จ ลองอ่านเป็น ทำนองเสนาะ ไหมครับ
ทำไมผมถามเช่นนี้ เพราะถ้าไปศึกษาลึกๆ จะพบว่า
ร้อยกรองนับแต่โบราณ ให้ความสำคัญ
การสื่อความกัน และเน้นให้ได้อารมณ์ไพเราะ โดยยึด จังหวะ และเสียงขับร้อง
ให้ความรู้สึกเหมือนมีคลื่นเสียงเป็นจังหวะๆ ที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต"
กฎเกณฑ์ต่างๆ ตามมาทีหลัง โดยพวกที่ "เขียนได้"
* คนแสนฉลาด กับ คนฉลาด แบบไหนอ่านง่ายกว่า
* พระโหรา ธิบดี ถ้าจะแบ่งวรรคเพื่อให้ผู้อ่านทราบความตั้งใจของเรา
ก็ควรเขียน พระโหรา- ธิบดี หรือ "พระโหรา ธิบดี"
เพื่อเน้นว่าเป็น คำเดียวกัน
* ด้านโคลงนี้ ไม่มี ใครเก่งกาจ
ลองอ่านแบบว่า เราเป็น คนอื่น จะรู้สึกว่า อาจหมายความได้ว่า
ในด้านโคลง ไม่มีใครเก่งเลย
ด้านโคลงนี้ ไม่มี ใครเก่งเกิน/เกินหน้า ทำนองนี้เป็นต้น
จะสื่อให้ว่า ท่านเก่งกว่าใคร ได้ชัดกว่าไหม
* แต่งโคลงตาม ท่านกวี ศรีปราชญ์เอย
ให้ความรู้สึกว่า
เราจะทำเพียง แค่ ตามๆ ท่าน ไม่คิดพัฒนา อย่างนั้นหรือ
ขอแค่นี้ก่อนนะครับ
ขอบคุณที่ให้โอกาส
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 01:12:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: ถึงน้องใหม่ๆทุกท่านครับ (อ่าน 12040 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: