โคลงดั้นบาทกุญชร มีลักษณะเด่นที่รับส่งสัมผัสแบบเท้าช้าง
การย่างก้าวของช้างนั้น ต่างจากสัตว์จตุบาทชนิดอื่นอย่างเสือ สิงโต กระทิง
โดยช้างจะยกเท้าหน้าหลังไปพร้อมกันที่ละซีกของลำตัวช้าง
หากเริ่มที่ซีกซ้าย ช้างจะยกเท้าหน้าและเท้าหลังของซีกซ้ายก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน เมื่อเท้าสัมผัสพื้น หยุดเท้าหน้าหลังซีกซ้ายไว้
จากนั้นจึงยกเท้าหน้าและเท้าหลังซีกขวาตามมาเพื่อก้าวไปข้างหน้าต่อ เป็นเช่นนี้ในทุกย่างก้าวของช้าง
ตามรูป เลขศูนย์สีดำบนขวา แทนรอยเท้าหน้าหลังซีกขวาของช้าง
ส่วนเลขศูนย์สีดำล่างซ้าย คือ รอยเท้าหน้าหลังซีกซ้ายนั่นเอง
เมื่อเราโยงเส้นรับส่งสัมผัสให้เท้าหน้าขวาสัมผัสกับเท้าหน้าซ้าย เท้าหลังขวาสัมผัสกับเท้าหลังซ้าย
ก็จะได้เป็นผังบังคับสัมผัสของโคลงดั้นบาทกุญชร นี่เองคือที่มาของชื่อบาทกุญชรหรือโคลงดั้นสัมผัสเท้าช้าง
มีโคลงดั้นบาทกุญชรของนักกลอนผู้หนึ่งที่ผมรู้สึกประทับ ขอนำมาเป็นตัวอย่าง
หอมกลีบพวงช่อแก้ว คำสกาว
ผจงถักเรียงเอกโท แน่แท้
คลอสนิทกล่อมคืนหนาว เพลงนุ่ม
พิศลักษณ์งามโอ้แล้ พร่างสลอนฯ
หวานหนอพาชุ่มนี้ ทรวงใน
เย็นชื่นยลอรชร อ่อนช้อย
ดังสวรรค์เด่นพราวไสว ครวญแว่ว
เทียนต่อเทียนล้วนถ้อย ประดับสถานฯ
สลักพจน์..ลมแผ่วพลิ้ว ชมเพลิน
หลงกลิ่นบทเพลงกานท์ เทิดก้อง
ฉลุคำจากโขดเขิน สดับขับ
รักษ์แค่ชวนร้องคล้อง จุ่งเขียนฯ
คอนพูทน