Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 06:57:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย  (อ่าน 15443 ครั้ง)
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,430

โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย


« เมื่อ: 06 กันยายน 2012, 12:47:PM »

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยดังนี้ครับผม

              ผมเองหัดโคลงก็จากบ้านกลอนไทยนี้เป็นที่แรก  ความรู้ภาษาไทยก็ไม่มากนัก เพราะเรียนด้านสายวิทยาศาสตร์มาตลอด จึงนับได้ว่าว่าละอ่อนด้านโคลงกลอนอยู่มาก ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการประพันธ์ใดๆเลย แต่มีหลายท่าน อาทิเช่น ท่านครูงาย ท่านพี่กามนิต ท่านบัณฑิตฯ ที่คอยแนะนำสั่งสอนตลอดมา  แต่บางอย่างเป็นความเข้าใจของผมเอง จึงถือโอกาสแลกเปลี่ยนมา ณ ที่นี้ครับผม และเพิ่มในส่วนที่ไม่เข้าใจถามต่อท่านผู้รู้โคลงทั้งหลายช่วยไขข้อข้องใจให้ฟัง จะเป็นพระคุณยิ่งครับผม เคารพรัก

๑.เรื่องคำลหุ สระเสียงสั้นนั้น ผมมีความเห็นดังนี้ครับ
   แบบนี้เหมือนจะมีเสียงเยอะไปหน่อยนะครับ ยกตัวอย่างดังนี้ครับ

ชราชนถลาล่มแล้ว           ใครพยุง
ขบวนลูกหลานหลีกผดุง     ทอดทิ้ง
ขณะเยาว์อยากเย้าจรุง       ชูชุบ  เองเฮย
ขณะแก่กลับเกลือกกลิ้ง      กรอบให้ใครเห็นฯ
(ยกตัวอย่างโคลงลูกเ-วครับ เอ้อ..จริงว่ะ)

เนื่องจากโคลงกลอน ท่านผู้รู้บอกว่าเน้นเสียงที่เวลาเห่ หรืออ่านทำนองเสนาะได้ไพเราะ ไม่สะดุด เป็นจังหวะเสียงที่ราบรื่น

โคลงข้างต้น ผิดฉันทลักษณ์คือคำเกินหรือไม่    ชรา-ชน-ถลา-ล่ม-แล้ว      ใคร-พยุง     นับได้เจ็ดคำครับ
แต่เสียงพยางค์นับได้ชะ-รา-ชน-ถะ-หลา-ล่ม-แล้ว      ใคร-พะ-ยุง       นับได้สิบคำ   เวลาอ่านทำนองเสนาะ คงต้องลงครึ่งเสียงในคำลุหเพื่อจังหวะจะได้พอดี  ซึ่งคำเหล่านี้ก็โดยหลักก็ต้องอ่านครึ่งเสียงอยู่แล้ว  ผมจึงคิดว่าแต่งแนวนี้ได้ ไม่ผิด แต่อาจจะเยอะไปหน่อย

ทีนี้ถ้าเป็นโคลงนี้

จราจรช่วงเช้า          อัมพาต
ใครเล่าอาจสามารถ    ผ่านพ้น
ถึงสายเฒ่าแก่อาจ     โดดตบ
อ่วมจิตคิดดั้นด้น      สู่เส้นทางไหนฯ


วรรคแรก บาทแรก นับพยางค์ได้๕ คือ จะ-รา-จร-ช่วง-เช้า ผมได้รับการสอนว่าก็ใช้ได้  ถ้าเปลี่ยนเป็น ผจญจราจรช่วงเช้า  ก็ได้เช่นเดียวกัน แปลว่าคำไม่เกินที่บัญญัติ(อันนี้เคยมีท่านผู้รู้สอนมาอีกทีครับ)

แต่ถ้าเป็นสระสั้นเต็มเสียง ความเห็นผมว่าควรนับเป็นสองครับ เพราะเราเน้นที่จังหวะการอ่านและเสียงเป็นหลัก แม้บางทีผมเองก็เผลอบ้างเช่นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าผมแต่งดังนี้ น่าจะผิดครับ เช่น

รักเราโรยกระอ่วนเปลี้ย       เพลียจัง
กระทบกระทั่งกระเทือนดัง    แข่งแข้ง
กระเกรี้ยวปากก็ยังพัง            เลือดกบ(แก้ไขตามท่านพี่กามนิตแนะนำครับผม) เคารพรัก
ประกบรักรึประชุมแร้ง         กัดกร้าวกินกัน(ขออภัยครับ โคลงโหดไปหน่อย โคลงพาไปครับ เอ้อ..จริงว่ะ)


เพราะแม้เป็นคำลหุ แต่เป็นการออกเสียงเต็มเสียง   จังหวะจึงน่าจะเกิน  พอดีเห็น่ทานพี่กามนิตแวะมาพอดี ท่านอาจให้ความกระจ่างได้ครับผม

๒.คำที่หก ของบาทที่๑ และ๓ ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์ได้หรือไม่ครับ(เน้นว่าคำที่มีรูปวรรณยุกต์นะครับ)

ผมยังมีข้อสงสัยอีกพอสมควรครับ แต่ตอนนี้เมื่อยมือครับ จิ้มดีดได้ยาวเท่านี้ จึงขอถามเมื่อภายหลังครับผม เคารพรัก

ด้วยความคารวะมิตรอักษรทุกท่านครับผม เคารพรัก


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

ไพร พนาวัลย์, อริญชย์, เมฆา..., อนุวาต, รพีกาญจน์, กามนิต, พี.พูนสุข

ข้อความนี้ มี 7 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2012, 01:17:PM โดย ไร้นาม » บันทึกการเข้า

แดนดินใดให้เราเกิด  เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s