Re: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 08:05:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยชี้เเนะโคลงหน่อย  (อ่าน 15463 ครั้ง)
ค.คนธรรพ์
Special Class LV3
นักกลอนผู้มากผลงาน

***

คะแนนกลอนของผู้นี้ 73
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 145


คำ คำ คำ ค่ำ ค่ำ คำ คำ


« เมื่อ: 03 กันยายน 2012, 11:36:AM »

พจนานุกรมไทยมีข้อบกพร่องประการหนึ่งคือเก็บความหมายของคำปัจจุบันไม่ครบ

ขอแก้ตัวแทน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน นะครับ

ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครหรอกครับที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ให้ "ครบ"
โดยทั่วไปผมว่า ผู้จัดทำคงพยายาม "เต็มที่" แล้วในเวลานั้นๆ
เป็นเรื่องที่ผู้อื่นต้อง ร่วมด้วยช่วยกัน ที่จะเขียนจะใช้ภาษาให้ถูกต้อง
ในมาตรฐานที่กำหนด ที่ยอมรับกัน ในกาละขณะนั้นๆ

การพูด เขียน มีความประสงค์เพื่อ สื่อความ ต่อกัน
ผมยังขอยืนยันความคิดนี้

เราพูด เขียน มิใช่เพียงเพื่อให้เราเข้าใจ "คนเดียว" แต่เราหวัง สื่อความหมาย ส่งต่อไปยังผู้รับ
เราหวังว่า ผู้รับ จะมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกับเรา
ดังนั้น เราต้องลองทำตัวเราเป็น "คนอื่น" แล้วตรวจสอบดูความเข้าใจนั้นๆ ขอยกตัวอย่างที่เคยพบ



ประเด็นข้างต้นที่คุณทรูแชร์กล่าวมา   ผมเห็นพ้องด้วยในหลักการกว้างๆนะครับ
การจัดทำพจนานุกรมไทย  แม้นว่าเป็นไปได้ยากที่จะรวบรวมความหมายของคำไทยได้ครบ
แต่ถึงกระนั้น ผมก็เห็นว่า จำนวนความหมายที่บรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตก็ยังน้อยอยู่นั่นเอง 
เมื่อเทียบกับจำนวนความหมายของคำที่ผู้ใช้ภาษาไทยใช้สื่อสารกันอยู่ในสังคมปัจจุบัน

การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้น ก็สามารถอภิปรายได้อย่างกว้างขวางว่าภาษาไทยมาตรฐานนั้นเป็นอย่างไร
มีอยู่จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว ผู้ใช้ภาษาไทยต่างคนต่างใช้ตามความสะดวกตน
 
ส่วนจุดมุ่งหมายของการพูดเขียนเพื่อสื่อความให้เข้าใจกันนั้น ถูกเพียงครึ่งเดียว     
สำหรับบทสนทนาในชีวิตประจำวันและข้อเขียนรายวัน เช่น อีเมล์ โพสต์กระทู้   
ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรที่ผู้ใช้ภาษาไทยมาแต่กำเนิดจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว   
เพียงแค่พูดเขียนสื่อสารกันตรงไปตรงมา  ให้ถูกไวยากรณ์   ผู้ใช้ภาษาไทยเหมือนกันย่อมเข้าใจกันได้
           
แต่ทว่าหากมองไปที่การสื่อความหมายระดับตัวบทวรรณกรรม เช่น กวีนิพนธ์ ก็ไม่ง่ายดายขนาดนั้น     
นั่นก็เพราะว่า    ผู้อ่านวรรณกรรมอาจเข้าใจตัวบทไม่ตรงกับความหมายที่ผู้เขียนวรรณกรรมต้องการสื่อก็เป็นได้ 
สืบเนื่องจากคุณสมบัติของตัวบทวรรณกรรณนั้น สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านตีความได้หลายแง่มุมนั่นเอง   
ประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด คงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคุณทรูแชร์ในโอกาสต่อไป

ในกระทู้นี้ เราเพียงเห็นต่างกันใน เรื่องการใช้คำในบทกวีเท่านั้น

ใครตรวจดูผิดเเล้ว   เตือนที
นิดหน่อยหากจะมี   ผิดบ้าง
หากเผลอขออย่าตี   ใจโกรธ
วอนพี่ช่วยสรรสร้าง   บ่งชี้ น้องนา

โคลงบทนี้ ผมอ่านจบแล้วเข้าใจในทันที  จึงเห็นว่าในส่วนของเนื้อหาไม่ต้องแก้คำแต่ประการใด 
ผมขอวิเคราะห์โคลงบทนี้โดยจะยกฉันทลักษณ์ออกไปก่อน

เมื่อพิจารณาโคลงในแต่ละบาท จะพบว่า มีเพียงบาทสามที่ให้รสทางวรรณศิลป์อันเป็นผลจากที่ผู้แต่งใช้คำ “ตี” เป็นอุปลักษณ์       
อุปลักษณ์ คือ กลวิธีความเปรียบแบบหนึ่งในภาษาภาพพจน์(figurative language) ซึ่งประกอบด้วยกลวิธีความเปรียบอีกหลากหลายรูปแบบ       
อุปลักษณ์เป็นความเปรียบที่ไม่ใช้คำแสดงความเปรียบเทียบเหมือนอุปมา อาทิเช่น เหมือน ดั่ง เพี้ยง ประดุจ   
แต่จะกล่าวเปรียบเทียบตรงๆ  ยกตัวอย่างบทกวีกัปตันสำเภาเสี้ยวเดือนทองของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์
 
สำเภาแก้วแววเสี้ยวเดือนทอง     ล่องชะเลคลื่นฟ้าว้าเหว่ขวัญ     
กวียากไร้ได้เป็นกัปตัน             ท่องสวรรค์เวิ้งดาวอะคร้าวใจนัก 

อุปลักษณ์ ได้แก่ คำที่ทำไฮไลท์

สำเภาแก้ว  เป็นความเปรียบของพระจันทร์เสี้ยว
ล่องชะเล    เป็นความเปรียบของอาการที่ดวงจันทร์เคลื่อนคล้อย 
คำที่เหลือให้เพื่อนนักกลอนลองพิจารณาดู   

สำหรับความเปรียบที่เรียกว่าอุปลักษณ์นี้    ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
เหล่านักกลอนแห่งบ้านกลอนไทยต่างก็ใช้อุปลักษณ์กันทุกทั่วตัวคน   
ส่วนจะได้ความหมายลึกซึ้งเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับความลุ่มลึกของนักกลอนแต่ละท่าน
 
กลับมาที่การวิเคราะห์       
คำ “ตี” นี้เองทำหน้าที่เป็นอุปลักษณ์ส่งให้บาทสามของบทโคลงสามารถบ่งความหมายได้หลายนัย 
       
หากเผลอขออย่าตี   ใจโกรธ

ความหมายแรก

ผู้แต่งวอนผู้อ่านอย่าได้ไม่พอใจตน  หากแต่งโคลงผิดพลาด 

ตามที่ผมได้โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้ 
เมื่อเรานำวลี ได้แก่  ตีสีหน้า ตีหน้าเศร้า ตีหน้าขรึม เข้าเทียบกับตีใจโกรธ
ก็จะเข้าใจความหมายที่ผู้แต่งต้องการสื่อได้   
โดย ตี หมายถึงอาการที่แสดงความรู้สึกผ่านใบหน้า  เมื่อใช้เป็นอุปลักษณ์ จึงบ่งบอกอาการแสดงความรู้สึกที่ใจ

ตีใจโกรธ หมายถึง ไม่พอใจนั่นเอง

ความหมายที่สอง

วอนผู้อ่านอย่าได้ตำหนิติเตียนด้วยความไม่พอใจ

ตี สื่อถึงการลงโทษอย่างครูตีนักเรียน แม่ตีลูก
เมื่อเป็นความเปรียบหมายถึง ตำหนิติเตียน
ใจโกรธ หมายถึง ความไม่พอใจ

ความหมายที่สาม

ขอผู้อ่านอย่าได้ตำหนิรุนแรง  มิฉะนั้นผู้แต่งจะโกรธผู้อ่าน

ผู้อ่าน“ตี”      ผู้แต่ง“ใจโกรธ”

ตี ในที่นี้มีความหมายเข้มข้นขึ้น หมายถึง โจมตี เช่น สื่อมวลชนโจมตีรัฐบาล
เมื่อถูกโจมตี จึงทำให้โกรธ

ถามว่าความหมายไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับบาทสามของโคลงบทนี้   
ก็ต้องพิจารณาเนื้อหาโดยรวมของบทกวี  ซึ่งจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า
ตัวบทสื่อถึงความรู้สึกของผู้แต่งที่ไม่ต้องการถูกตำหนิติเตียนด้วยความไม่พอใจ คือ ความหมายที่สองนั่นเอง

ตามที่กล่าวแล้ว เป็นเพียงการตีความของผมเท่านั้น   
ผู้อ่านท่านอื่นสามารถตีความต่างออกไปได้อีก  อันเป็นไปตามคุณสมบัติของวรรณกรรม ณ เว็บไซต์แห่งนี้ ก็คือ กวีนิพนธ์ที่ส่องมองได้หลายเหลี่ยมมุม
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้อ่านแต่ละคน และนี่เองเป็นมนตร์เสน่ห์หนึ่งอันน่าหลงใหลของกวีนิพธ์

ส่วนคำ “กระทบทั่ง” จนคุณทรูแชร์เลือดสาดนั้น   
ผมเข้าใจว่า เป็นการตัดบางพยางค์ของคำออกไปเพื่อจะได้ไม่เกินจำนวนคำบังคับในวรรคร้อยกรอง 
ซึ่งเป็นข้อบกพร่องของการใช้คำแต่งบทกวีให้ถูกต้องตามแบบแผน 
ได้แก่ การสลับพยางค์ การฉีกคำ การสะกดคำผิด รวมถึงการตัดพยางค์ด้วย

ขอเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ผมเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตดู    พบคำว่า

       ตีหน้า ก. แกล้งทำสีหน้าให้ผิดจากใจจริง เช่น ตีหน้าเซ่อ 
       ตีหน้าตาย ก. ทำหน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก หรือไม่รู้เรื่อง
       ตีหน้ายักษ์ ก. ทำหน้าถมึงทึงแสดงอาการเกรี้ยวกราดดุดัน

แม้นว่าไม่มีความหมายคำ “ตี” ที่ผมเสนอไว้   
แต่ทุกคำล้วนอยู่ในขอบเขตความหมายเดียวกัน คือ อาการที่แสดงความรู้สึกผ่านใบหน้า   
ผมจึงเห็นว่า ตีใจโกรธ ใช้ได้  เป็นอุปลักษณ์บอกอาการความรู้สึกที่ใจ


ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

รัตนาวดี, ไร้นวล^^, เมฆา..., อริญชย์, สมนึก นพ, รพีกาญจน์, บูรพาท่าพระจันทร์, อนุวาต, สุนันยา

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

คำ คำ คำ ค่ำ ค้ำ   คำ คำ

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s