เด็กคืออนาคตของชาติ แต่การศึกษาของไทย......?????
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 07:34:AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กคืออนาคตของชาติ แต่การศึกษาของไทย......?????  (อ่าน 7963 ครั้ง)
ไร้นวล^^
ผู้ดูแลบอร์ด
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 825
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,430

โปรดแนะนำเพื่อค้ำชูภาษาไทย


« เมื่อ: 01 กันยายน 2012, 12:25:AM »

(พอดีไปอ่านเจอเลยเอามาให้ทุกท่านได้รับรู้รับทราบครับผม) เคารพรัก

เด็กเล็กเด็กดัดดื้อ          เด็กดี
เด็กเด่นเป็นศักดิ์ศรี         ชาติเชื้อ
เด็กเด็ดเด็กเดือดตี         เตะต่อย
เด็กดิ่งด่ำดำเนื้อ           เพราะเอื้อเด็กเอง

เด็กนักเลงเล่นเด้ง         เดิมพัน
เด็กดูดติดการพนัน        แต่น้อย
เด็กเลียนแบบใครกัน      จึงแก่น
เด็กดั่งมะลิคล้อย         ค่อนคล้ายคนโต



..............…......................
บทที่ 3 ปัญหาการจัดการศึกษาของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น :รายงานสภาวะการศึกษาปี 52-53

3.1 สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

                 ไทยมีประชากรราว 63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ใกล้เคียงกับฝรั่งเศส อังกฤษ และมียอดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่คิดแบบถ่วงน้ำหนักด้วยค่าครองชีพ (PPP) อยู่ลำดับที่ 24 (สถิติของธนาคารโลก) แต่ GDP ต่อหัวของประชากรอยู่อันดับที่ 89 (ข้อมูลIMF)

     แรงงานมีแรงงานไทยอายุ 25-64 ปีกว่าร้อยละ 66.2 มีการศึกษาโดยเฉลี่ยเพียงแค่ประถมศึกษาและต่ำกว่า ขณะที่ประเทศ เช่นมาเลเซียและฟิลิปินส์ แรงงานส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทำให้ผลิตภาพแรงงานไทยค่อนข้างต่ำ

     ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ของUNDP ในปีค.ศ.2010(พ.ศ.2553)ไทยอยู่อันดับ 92ต่ำกว่ามาเลเซีย จีน และศรีลังกา ดัชนีการศึกษา EDUCATION INDEX (คำนวณจากสัดส่วนของผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือและผู้ได้เรียนการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ไทยอยู่อันดับที่ 72ต่ำกว่าเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

3.2 สภาวะด้านการศึกษา

โอกาส ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา
          ในระดับประถมศึกษา ไทยมีอัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรสุทธิร้อยละ 88 แต่ในระดับมัธยมศึกษาอัตราการเข้าเรียนสุทธิของไทยยังต่ำคือร้อยละ 64 ต่ำกว่ามาเลเซีย (ร้อยละ 76) และเวียดนาม (ร้อยละ 69) ขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD (กลุ่มประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม)อัตราการเข้าเรียนสุทธิส่วนใหญ่สูงกว่าร้อยละ 90

                 ถ้าคิดเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อัตราการเข้าเรียนของไทยยังมีแค่ร้อยละ 55 ต่ำกว่าเวียดนาม และมาเลเซีย และต่ำกว่าประเทศในกลุ่ม OECD ที่อัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 100

                อัตราการคงอยู่ของนักเรียน 2 ปีสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับของไทย (มัธยมศึกษาปีที่ 2-3)   มีร้อยละ 80 คล้ายกับเวียดนาม ซึ่งแสดงว่ามีเด็กไทยที่เรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับถึงร้อยละ 20

              ในระดับมัธยมศึกษาอัตราการเข้าเรียนค่อนข้างสูง แต่อัตราจบการศึกษาต่ำลงเพราะสภาพปัญหาของชีวิตและสังคมที่อัตคัด ขาดแคลนและปัญหาอื่นๆทำให้มีเยาวชนที่เรียนไม่จบชั้นมัธยมศึกษาอยู่มาก เมื่อจำแนกตามหลักสูตร ประเทศไทยจัดหลักสูตรมัธยศึกษามสายสามัญ ถึงร้อยละ 72.8 สายอาชีพร้อยละ 27.2 ทั้งๆที่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่และตลาดแรงงานต้องการสายอาชีพมากกว่าที่ผลิตได้ ประเทศที่จัดหลักสูตรมัธยมศึกษาสายอาชีพได้มากเกินร้อยละ 60 ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฟินแลนด์และออสเตรเลีย

               อัตราการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาของไทย แม้จะค่อนข้างสูง เพราะคนที่ผ่านการเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่เข้าสู่มหาวิทยาลัยมากกว่าออกไปทำงาน  แต่ส่วนใหญ่เป็นอุดมศึกษาที่เน้นทฤษฎีเป็นฐานถึงร้อยละ 83 เน้นการปฏิบัติ/วิชาชีพ เพียงร้อยละ 17 ตรงข้ามกับมาเลเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ที่เยาวชนเลือกเรียนโปรแกรมเน้นการปฏิบัติ/วิชาชีพมากกว่าร้อยละ 40

ตัวแปรด้านคุณภาพการศึกษา
              
               อัตราส่วนนักเรียนต่อครูของไทย ระดับประถมศึกษามีอัตราส่วน 19:1 เทียบกับจำนวนผู้เรียน   สูงกว่าสหรัฐฯ ฟินแลนด์ จีน และนิวซีแลนด์ อัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับมัธยมศึกษาของไทย 23:1   สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางซึ่งมีค่าเฉลี่ย 20:1 และ OECD ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 13.4สถิติอัตราส่วนนักเรียนต่อครูของไทยข้างต้นเป็นแค่ค่าเฉลี่ยทางสถิติในสภาพเป็นจริงมีปัญหาขาดครูในหลายพื้นที่เนื่องจากในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีการจ้างครูทดแทนอัตราเกษียณน้อยมากทั้งมีปัญหาการใช้อิทธิพลเส้นสายการเมืองดึงครูไปช่วยราชการอื่นอยู่มาก และปัญหาการที่ผู้บริหารไม่ได้สอนหรือสอนน้อยมากแต่นับรวมในสถิติครูด้วย

                ชั่วโมงการสอนของครูไทยมีค่าเฉลี่ย 800-1,100 ชั่วโมงต่อปี มากกว่าประเทศส่วนใหญ่และมากกว่ากลุ่ม OECD ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 803 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งสะท้อนว่าการสอนมากชั่วโมงไม่เกี่ยวกับการเรียน เก่งขึ้น ส่วนเงินเดือนครูไทยขั้นต้นเมื่อคิดปรับด้วยค่าครองชีพของแต่ละประเทศแล้วต่ำกว่าค่าเฉลี่ย    กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและต่ำกว่ากลุ่มประเทศ OECD 4-5 เท่า แต่เงินเดือนขั้นสูงสุดของครูไทย    เมื่อปรับค่าครองชีพแล้วสูงกว่าประเทศรายได้ปานกลาง เช่นมาเลเซีย อินเดีย และใกล้เคียงกับประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ ความแตกต่างที่น่าสังเกตคือ ประเทศอื่นให้เงินเดือนครูขั้นต้นสูงและเมื่อทำงานไปแล้วเงินเดือนจะค่อยๆ ขึ้นไม่มากนัก แต่ของไทยเงินเดือนครูอาวุโสกลับขึ้นไปสูงต่างจากครูขั้นต้นมาก     ความหมายคือ ทำให้คนจบใหม่ๆ ไม่ค่อยมีแรงจูงใจที่จะมาทำอาชีพครูหรือต้องดิ้นรนหารายได้เสริม




ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

อริญชย์, รพีกาญจน์, พี.พูนสุข, บ้านริมโขง, ค.คนธรรพ์, ชลนา ทิชากร, เมฆา..., Prapacarn ❀, หนามเตย

ข้อความนี้ มี 9 สมาชิก มาชื่นชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2012, 03:22:AM โดย ไร้นาม » บันทึกการเข้า

แดนดินใดให้เราเกิด  เราจะเทิดทูนไว้เหนือเศียร

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s