มีผู้สนใจถกประเด็น เสียงวรรณยุกต์ ในโคลงสี่สุภาพ
ผมเห็นว่า น่าจะนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแต่งโคลงในคราต่อๆ ไป
...ขอบคุณยิ่งนัก ไร้-......นามา
ชี้แนะสำคัญหนา...........อย่าเว้น
เยาวชนอ่อนวิชา...........หวังช่วย
กิจชอบแม้ต้องเค้น........พละสิ้นควรกระทำ toshare 24 กรกฎาคม 2012
เสียงวรรณยุกต์นะท่านเอย...
นัก=เสียงตรี ค่ะ
แนะ=เสียงตรี ค่ะ
ชอบ=เสียงโท ค่ะ
พละ= พะ=เสียงตรีค่ะ ละ=เสียงตรี ค่ะ
พละ อ่านแบบควบ เสียงสามัญค่ะ
เท่าที่ทราบ ในโคลง เราใช้คำ ลหุ หรือ คำตาย แทน วรรณยุกต์ เอก ได้ครับ
ไม่ได้ยึดเสียงเป็นสำคัญ
แต่คำเอกที่ว่ามานี่จะจัดอยู่ในอักษรสามหมู่ในส่วนมากคืออักษรกลางทั้งหมดค่ะ
โคลงสี่สุภาพ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ให้ปลายบาทเอกนั้น มาฟัด
ห้าที่บทสองวัจน์ ชอบพร้อง
ที่พินทุ์โทนั้นอย่า พึงพินทุ์ เอกนา
บชอบอย่างควรถวิล ใส่ไว้
ชอบ -> เสียง โท
-----
จัตวานพวาที ในที่ นั้นนา
นพ -> เสียง ตรี
-----
เอกเจ็ดหายากแท้ สุดแสน เข็ญเอย
เอาอักษรตายแทน เทียบได้
โทสี่ประหยัดหน หวงเปลี่ยน
ห่อนจักหาอื่นใช้ ต่างนั้นไป่มี ๚ะ
ยาก, เทียบ -> เสียง โท
ทำไม?...การแต่งโคลงที่ผิดข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์ที่กำหนด
ถึงยังแต่งลงได้อยู่...
เท่าที่ผมอ่านเจอ ยังไม่เคยพบกฎเกณฑ์เรื่องเสียงวรรณยุกต์เลย ถ้ามีขอรู้บ้าง
โคลงนั้นผมว่าเขาคุมเข้ม รูปวรรณยุกต์เอกโท ย้ำ รูปวรรณยุกต์
ผู้รู้บางคนแนะผมว่า คุณลองอ่านเป็นทำนองเสนาะแบบโคลงดู ถ้ามันฟังได้ ก็ OK
ผมเคยถกกับหลายคน ผมว่า (โคลง)คนโบราณท่านเน้นจังหวะ การออกเสียงคล้องจองเป็นสำคัญ
(การเขียนเป็นเรื่องผู้เรียนหนังสือ ชาวบ้านด้นกลอนกันด้วยอารมณ์ความรู้สึก ฟังเพราะ ได้ประเด็นโต้ตอบกัน ก็ใช้ได้)
ขอความกรุณาได้แบ่งปันความรู้กัน
ขอบคุณครับ
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน |
23 พฤศจิกายน 2024, 02:42:AM | |||
|
ผู้เขียน | หัวข้อ: เสียงวรรณยุกต์ในโคลงสี่สุภาพ (อ่าน 3139 ครั้ง) |
| ||||||||||
Email: