Re: "อุ๊ย..คุณหมอ(แกล้ง)ดุ?"
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
23 พฤศจิกายน 2024, 10:16:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: "อุ๊ย..คุณหมอ(แกล้ง)ดุ?"  (อ่าน 18097 ครั้ง)
ไพร พนาวัลย์
กิตติมศักดิ์
*

คะแนนกลอนของผู้นี้ 2083
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,422


นักร้อง


« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2012, 09:05:PM »


ที่ผมไม่ได้เข้ามาตอบตั้งแต่เนิ่นๆ เรื่องสำนวน(วรรค)เจ้าปัญหาของผม
เพราะว่าผมติดเดินทางไปต่างจังหวัด
ทั้งเรื่องพาครอบครัวไปเที่ยวทั้งเรื่องงาน
ผมรู้สึกไม่น่าเชื่อนะครับว่า วรรคที่ผมเขียนเล่นคำธรรมดา(ไม่ใช่กลบทใดๆทั้งสิ้นนะครับ
และตอนขึ้นก็ไม่ได้คิดว่าจะให้ไปพ้องกับกลบทใดๆด้วย)
การเขียนกลอนแปดหรือว่ากลอนสุภาพนั้น จุดหลักที่ต้องถูกบังคับตามกฎกติกา ก็คือ
ฉันทลักษณ์(ตำแหน่งรับ - ส่ง สัมผัส) และเสียงท้ายวรรค..
นอกนั้นคือเกร็ดปลีกย่อยที่ไม่ควรใช้.. เช่น สัมผัสซ้ำ , สัมผัสเลือน , ชิงสัมผัส , สัมผัสเพี้ยน(เผลอ)
สัมผัสเกิน , กร่อนสัมผัส  เกร็ดต่างๆที่ผมยกมานี้ทุกท่านอาจจะได้เคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว..
.
หากจะนำสำนวน(วรรค)ของผมไปจัดลงในเรื่องของ"สัมผัสเลือน"
ผมถือว่าเป็นการที่วิเคราะห์ผิดอย่างยิ่งครับ..

ผู้ติติง ควรจะตรวจสอบและค้นคว้ามาให้มากกว่านี้ และควรใช้เหตุผลของตนเองมากกว่า การยกข้อมูลใดๆและไม่ตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งอาจจะสร้างความสับสน ให้กับผู้ที่ไม่เข้าใจก็ได้ครับ ทั้งการยกสำนวนของผู้อื่นมาวิจารณ์ตรงหน้าบอร์ด และใช้ถ้อยคำและอีโมที่ดูเย้ย ซึ่งทางมารยาทในบ้านกลอนแห่งนี้ เขาจะไม่ทำกันครับ ที่ผ่านมาผมกับเพื่อนๆมักจะมีการฝากข้อความแนะนำกัน หากเกิดการผิดพลาดซึ่งอาจจะมีขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งหลายท่านก็จะเข้าใจอุปนิสัยผมดี เรื่องการให้เกียรติคน..
.
ความหมายของคำว่า"สัมผัสเลือน" ตามหลักมาตรฐานซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่าย ถ้าทุกท่านจะพึงตรวจสอบ ก็คือ การใช้คำรับสัมผัสที่ตามฉันทลักษณ์นั้น ท่านบังคับให้มีการรับสัมผัสเพียง ๑ ตำแหน่ง แต่ผู้เขียนกลับใช้รับพร้อมกันในจังหวะตกของเสียงถึง ๒ ตำแหน่ง..
ตามตัวอย่างดังนี้ครับ..

“เมื่อวานพ่อไม่อยู่ปู่มาหา
ทั้งคุณอาและตาก็มาด้วย
มากินเลี้ยงป้าอำแกร่ำรวย
ทุ่มซื้อหวยโชคช่วยรวยเงินทอง..”

หมายเหตุ.. ตำแหน่งคำที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ นั่นก็คือคำ"สัมผัสเลือน"ครับ คือมักจะเกิดขึ้นในวรรคที่ ๒ หรือ ๔ ของบท.. เพราะว่ามีการรับสัมผัสเกินกว่า ๑ ตำแหน่งนั่นเอง..
.
ส่วนตัวอย่างตามลิงก์ที่ยกมา ก็นำความหมายของคำว่า “ชิงสัมผัส” ไปปนเปกับคำว่า “สัมผัสเลือน”
ดังสำนวนตัวอย่างคำ"ชิงสัมผัส"ตามนี้นะครับ..(ตัวอย่างนี้ไม่ใช่"สัมผัสเลือน"ซึ่งเป็นคนละความหมายกันนะครับ)

“ลมเย็นเย็นสัมผัสพัดทิวไม้
เอนแกว่งไกวทั้งป่าน่าอิจฉา
สกุณาร่าเริงเหลิงนภา
ภาพชินตาตัวฉันนั้นแต่เยาว์..”

หมายเหตุ.. ตำแหน่งคำที่ผมขีดเส้นใต้ไว้ เป็นคำที่"ชิงสัมผัส"ครับ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็น พยางค์ที่ ๓ ของวรรคเสมอไป แต่ใช้บังคับกับทุกพยางค์ที่มาก่อนตำแหน่งรับสัมผัสจริง ในวรรคที่ ๒ และ ๓ ของบทครับ..
ส่วนนักกลอนบางท่าน ที่มีความละเอียดลออ อาจจะเหมารวมไปถึง การห้ามใช้คำ"ชิงสัมผัส"ตั้งแต่ในวรรคแรกของบทเลย แต่ในทางการตรวจสอบกับผู้ใหญ่ในหลายท่าน ท่านว่าคำ"ชิงสัมผัส"ยังไม่เคร่งครัดเหมารวมไปถึงวรรคแรกของบทครับ..

จากใจระนาดเอกครับ
 
อายแบบน่ารัก

นี่คือ "คุณระนาดเอก"ผู้อาวุโสแห่งบ้านกลอนไทย
ผู้ซึ่งคอยสะกิดเตือนเมื่อ "อาปรางค์ สามยอด"เขียนกลอนผิดๆ
เพราะคนที่รัก นับถือและหวังดีต่อกัน เท่านั้นที่จะสะกิดกัน
ผมจึงถือว่าคุณระนาดเอกคือ "Idol" หรือแบบอย่างที่ดีงามของผม
ผมจึงถือวิสาสะ "สะกิด"ผู้ที่ผมรัก นับถือ ในเมื่อเขาหรือเธออาจจะผิดเล็กๆน้อยๆที่ไม่เกินความรู้ของผม เสมอมา
และผมก็คิดว่า นี่คือความดีงามของบ้านกลอนไทย ที่รุ่นพี่ๆจะกรุณาแนะนำ ตักเตือนรุ่นน้องๆ
และที่แน่ๆคือ เราจสะกิดเตือนกันทางหลังไมค์มากกว่าที่จะบอกกันตรงๆในบอร์ด
ซึ่งมันจะสร้างความรัก ความผูกพันธ์ต่อกัน กลายเป็นเพื่อน เป็นพี่เป็นน้องเสมือนญาติสนิท
สำหรับคุณ Orion 64 ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากหรอกนะครับ
เพราะนี่คือการสังเสวนา อันเป็นคุณูปการ สำหรับชาวเราบ้านกลอนไทย ที่จะได้เพิ่มความรู้ปลีกย่อย เล็กๆน้อยๆขึ้นไปอีก
ผมขอขอบคุณท่านทั้งสองที่เข้ามาชี้แจงเพื่อประโยชน์ของบ้านกลอนไทย นะครับ

ลุงปรางค์ ไพร

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

Chinra, panthong.kh, กวีเขลา, รพีกาญจน์, บ้านริมโขง, blues, รัตนาวดี, ไร้นวล^^, Prapacarn ❀, ระนาดเอก, พี.พูนสุข, ทอฝัน

ข้อความนี้ มี 12 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า


Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s