Re: โคลงห้าพัฒนา (จิตร ภูมิศักดิ์) : โคลง ๑๐๐๐ บท
ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน
22 พฤศจิกายน 2024, 02:59:PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

กด Link เพื่อร่วมกิจกรรม ผ่านFacebook (หรือกดปุ่มสมัครสมาชิกด้านบน)
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เชิญชวนแต่งโคลงพันบท  (อ่าน 202826 ครั้ง)
toshare
Special Class LV6
นักกลอนเอกแห่งวังหลวง

******

คะแนนกลอนของผู้นี้ 303
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,388



« เมื่อ: 04 สิงหาคม 2012, 10:03:AM »

http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538771044&Ntype=2
โคลงห้าพัฒนา ของ "จิตร ภูมิศักดิ์"
โดย: นายทิวา

รูปแบบโคลงห้าพัฒนา โดย ทีปกร (จิตร ภูมิศักดิ์)
คณะ - หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมี 5 คำ แบ่งเป็นวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 2 คำ เอกโท - หนึ่งบทมีเอก 4 โท 4 (ดูตำแหน่งตามแผนผัง) สัมผัส - เหมือนโคลงสี่สุภาพ สร้อย - เหมือนสร้อยโคลงดั้น

ตัวอย่างจากโคลง"คาวกลางคืน" ของ "ทีปกร"(จิตร ภูมิศักดิ์)
๐กรุงเทพคลุ้ง..................คาวหืน
ควันกามกลืน.................กลบไหม้
คาวกลางคืน..................คลุมทาบ
เมืองร้องไห้....................เหือดขวัญ
๐น้ำฟ้าฟาด....................ฟองหาว
คือกามฉาว.....................ชุ่มฟ้า
กลิ่นสาบสาว..................กำซาบ
กามย้อนหล้า..................แหล่งสยาม ฯ

หมายเหตุ(1) :
1.เอกและโทในบาทที่หนึ่งสับที่กันได้ เหมือนโคลงอื่นๆทั่วไป
2.โทคู่ในบาทสี่ อาจอยู่แยกกันได้ ดังนี้
..................ก้า กา ก้า.............ก่า กา
เช่น ............ฟ้าโรจน์ร้อง..........ร่ำหา

 3.สร้อยของบาทที่หนึ่งและที่สาม เหมือนสร้อยโคลงทั่วไป แต่เฉพาะสร้อยของบาทที่สี่ จะต้องเป็นสร้อยแบบโคลงดั้น กล่าวคือ เป็นคำสุภาพ(ไม่มีเอกโท , ไม่เป็นคำตาย) และต้องซ้ำพยัญชนะกับสองคำสุดท้ายของบาทที่สี่ โดยเฉพาะคำสุดท้าย ต้องเป็นคำเดียวกัน เช่น
..............ฟ้าโรจน์ร้อง.......ร่ำหา รนหา
หรือ.......กามร้อนไล้.........ลูบเมือง โลมเมือง

หมายเหตุ(2) :
โคลงห้าแบบเดิม ว่ากันว่า มีรากจากโคลงลาว (ท้าวฮุ่ง-ขุนเจือง) ของไทย ปรากฏในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ คือ "โองการแช่งน้ำพระพัทธฯ" (น้ำพระพัทธ คือ น้ำสาบาน จิตร ภูมิศักดิ์ ระบุว่า รับแนวคิดมาจากเขมร(ราชสำนักเขมร) โดยในศิลาจารึกที่ปราสาทหินเขาพระวิหาร มีคำว่า "พัทธ" ใช้ในความหมายว่า "คำสาบาน"

 นอกจากนี้ ยังปรากฏจารึกคำสาบานของพวกข้าราชการเขมร ที่ประตูปราสาทหินพิมายอากาศ บริเวณวังในเมืองนครธม เรียกพิธีสาบานว่า "พัทธประติชญา" แปลแบบไทยๆก็คือ พัทธปฏิญญาน หรือ ปฏิญญานสาบานตน ) หรือ "ประกาศโองการแช่งน้ำโคลงห้า" ซึ่งในชั้นหลังๆ เปลี่ยนมาเรียกว่า "โองการแช่งน้ำพระพิพัฒนสัตยา"
(จิตร ภูมิศักดิ์ สันนิษฐานว่า เป็นเพราะรังเกียจคำ"พัทธ" ที่แปลว่า ผูกมัดสาบาน จึงเปลี่ยนมาใช้"น้ำพัฒนสัตยา" เพื่อให้มีความหมายเป็น ความสัตย์อันเจริญ แทน)

ตัวอย่างโคลงห้าของลาว (ท้าวฮุ่ง)
๐ยั่งยืนฟ้า..................หัวปี
ฝนฮำดวง...................ดอกหญ้า
จักหนีหนี.....................บ่ได้
เจ้าฟ้าวั่ง......................เวใจ
๐ต้นไม้ใหญ่.................จอมผา
ปักษีเฮ.......................ฮ่อยเต้า
(บินไป)จับจอมผา.........ชมม่วน
เค้าเค้าอยู่....................ออระแอ

(โคลงห้าของลาว มีการเพิ่มคำข้างหน้าบาทได้)

 ตัวอย่างโคลงห้าของไทย(โองการแช่งน้ำ)
๐(กล่าวถึง)น้ำฟ้าฟาด........ฟองหาว
ดับเดโช..........................ฉ่ำหล้า
ปลากินดาว......................เดือนแอ่น
ลมกล้าป่วน......................ไปมา
๐แลเป็นแผ่น....................เมืองอินทร์
เมืองธาดา........................แรกตั้ง
(ขุนแผน)แรกเอาดิน...........ดูที่
ทุกยั้งฟ้า...........................ก่อคืนฯ
 (โคลงห้าแบบเดิม มีลักษณะเป็นโคลงดั้น ชนิดที่ใช้สัมผัสแบบโคลงดั้นบาทกุญชร คือ บาทคี่ส่งสัมผัสให้บาทคี่ บาทคู่ส่งสัมผัสให้บาทคู่
ส่วนเอกโท ไม่บังคับตายตัว พบว่า ทิ้งเอก-โทบ่อยๆ และบางแห่ง ใช้โทแทนเอก แบบเดียวกับโคลงห้าของลาว
อาจเป็นเพราะถือเสียงอ่านสำคัญมากกว่ารูปอักษร )

ขอบพระคุณ ที่กรุณาเยี่ยมชมนะจ๊ะ :

Prapacarn ❀, ♥ กานต์ฑิตา ♥, พี.พูนสุข, blues, เนิน จำราย, รพีกาญจน์, panthong.kh, ยามพระอาทิตย์อัสดง

ข้อความนี้ มี 8 สมาชิก มาชื่นชม
บันทึกการเข้า

Email:
Powered by SMF 1.1.2 | SMF © 2006-2007, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF
s s s s s